ฟ้าผ่า!!! ภัยทางธรรมชาติที่ผู้ใช้คอมพ์ควรระวัง
ฟ้าผ่า เกี่ยวอะไรกับ คอมพิวเตอร์?? ฟ้าผ่าทำความเสียหายกับคอมพิวเตอร์ได้มากแค่ไหน??
หลายๆท่านคงสงสัยกันใช่ไหม
กรณี ฟ้าผ่า ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ สถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น อยู่ไม่ไกลกับบริเวณที่ฟ้าผ่ามากนัก
แต่ก็ไม่อาจบอกได้ว่า ระยะทางนั้นต้องใกล้กันขนาดไหน ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของการผ่า รวมถึงสภาพแวดล้อมอีกด้วย
ฟ้าผ่า อาจเกี่ยวข้องกับ วิธีการทำความเสียหาย ให้คอมพิวเตอร์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม
[hide=1]ผมขอเล่าประสบการณ์ ฟ้าผ่าที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์โดยตรง ที่ผมประสบ มาให้ฟังกัน
ผมทำงานเป็นผู้บริหาร และดูแลควบคุมระบบของสถานีวิทยุชุมชนแห่งหนึ่ง มีคอมพิวเตอร์ในการดูแล 3 เครื่อง
คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง ตั้งอยู่ในห้อง Control รวมไปถึง เครื่องส่งสัญญาณระบบ Fm 1 เครื่อง Mixer 1 เครื่อง
ส่วนคอมพิวเตอร์อีก 1 เครื่อง ตั้งอยู่ใน Office ห่างจากห้อง Control ออกไปประมาณ 10 เมตร ซึ่งเป็นคนละอาคารกัน
ขอนอกเรื่องสักนิดน๊ะครับ ผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชนจะกลัวฟ้าผ่ากันมาก
สาเหตุที่กลัวเนื่องมาจากว่า เสาอากาศที่ใช้ในการส่งสัญญาณ จะอยู่ในที่สูงมาก และเป็นโลหะ ซึ่งเมื่อฟ้าผ่ามักจะผ่าในจุดที่สูงที่สุด
และผ่าในสิ่งที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าลงดินได้ง่ายที่สุด ถึงแม้จะมีสายล่อฟ้าก็ตาม มันก็ยังไม่ปลอดภัยอยู่ดี เนื่องจากสายล่อฟ้าและเสาอากาศอยู่ในความสูงที่ใกล้เคียงกัน
อาจพลาดจากสายล่อฟ้ามาผ่าที่เสาอากาศได้ ถึงแม้จะมีผู้รู้หลายๆคนบอกว่า เมื่อฟ้าผ่าจะผ่าที่สายล่อฟ้าก่อน เพราะสายล่อฟ้าสูงกว่า
และมีสายที่เป็นทองแดงต่อลงดิน ทำให้นำกระแสไฟฟ้าได้ดีมากกว่า แต่ไม่ใช่ว่าไม่มีโอกาสที่จะผ่าลงเสาอากาศ ในเมื่อเสาอากาศมีสายนำสัญญาณ ต่อลงมาที่เครื่องส่งสัญญาณ และเครื่องส่งสัญญาณก็ต่อสายดินไว้
ดังนั้นวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ เมื่อคาดเดาว่าจะมีฟ้าผ่า เราก็จะปิดเครื่องส่งสัญญาณ และถอดสายนำสัญญาณออก
และในวันนั้นก็เช่นกันกับทุกครั้งที่ฟ้ามืดครึ้ม ผมจะออกไปยืนดูฟ้าแล้วใช้ประสบการณ์ คาดคะเนว่า จะมีฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียงหรือไม่
ซึ่งผลการคาดคะเนของผมออกมาว่า จะมีฟ้าผ่าภายใน ครึ่งชั่วโมง เหมือนเคย ผมปิดเครื่องส่งสัญญาณ รวมถึงถอดสายนำสัญญาณออก
แล้วกลับเข้ามาในห้อง Control รอเวลาที่ฟ้าจะผ่า และรอให้ฟ้าหยุดผ่าเพื่อจะได้เปิดเครื่องส่งสัญญาณอีกครั้ง
ระหว่างรอก็นั่งเล่นเกมส์จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง เป็นการฆ่าเวลา
แล้วครึ่งชั่วโมงถัดมา เสียงฟ้าผ่าเปรี้ยง!! ก็เกิดขึ้น การคาดคะเนของผมแม่นยำเหมือนทุกครั้ง แต่ครั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นไม่เหมือนทุกครั้ง
นั่นคือ เกิดเสียปะทุของไฟฟ้าดัง ปัง!! พร้อมทั้งลูกไฟดวงเท่าลูกเทนนิส เกิดขึ้นตรงหน้าผมภายในห้อง Control
คอมพิวเตอร์ที่ผมกำลังเล่นเกมส์ดับวูบ สิ่งเดียวที่ผมทำได้ในตอนนั้นคือ ยกคัทเอาท์เพื่อดับไฟทั้งสถานี แล้ววิ่งออกจากห้องให้เร็วที่สุด
เพราะยังไม่รู้ว่าฟ้าผ่า จะซ้ำลงมาที่เดิมอีกหรือไม่
หลั้งจากที่ฟ้าผ่า กระหน่ำลงมาในบริเวณใกล้เคียงอีกสิบกว่าครั้ง มันก็ยุติลง ท้องฟ้าเริ่มสว่างอีกครั้ง ก็ได้เวลาสำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้น
ฟ้าผ่าทำความเสียหายกับคอมพิวเตอร์ได้มากแค่ไหน??
จากการสำรวจตรวจสอบผลของเหตุการณ์ในครั้งนั้น สิ่งที่เสียหายมีดังนี้
1.คอมพิวเตอร์เครื่องที่ผมเล่นกมส์ก่อนเกิดเหตุ ไม่สามารถเปิดขึ้นมาได้ เนื่องจากซัพพลายเสียหายอย่างหนัก ต้องเปลี่ยน และต้องส่งเมนบอร์ดไปซ่อม หลังจากซ่อมให้ใช้การได้ แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ 100%เหมือนเดิม เนื่องจาก Lan onboard ไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิม ต้องใช้เป็น PCI มาเสียบแทน
2.คอมพิวเตอร์อีกเครื่องที่ไม่ได้เปิดใช้งานในห้อง Control เปิดไม่ติด เนื่องจากซัพพลายเสียหายอย่างหนัก ต้องเปลี่ยนเช่นกัน
รวมไปถึง Lan onboard ไม่สามารถใช้การได้เหมือนเดิม ต้องใช้เป็น PCI มาเสียบแทน
3.คอมพิวเตอร์ใน Office ซึ่งขณะเกิดเหตุ ไม่ได้เปิดเครื่องและถอดปลั๊กไฟไว้ เมื่อทดลองเปิด ซัพพลายก็ระเบิดทันที (ระเบิดจาก Capasistor ทุกตัว) ทำให้ต้องเปลี่ยน
รวมไปถึง Lan PCI ที่ใช้อยู่ก็เสียต้องเปลี่ยนด้วย
4.Hub 8 port ไม่ได้เสียทั้งเครื่อง แต่ใช้งานไม่ได้ไป 3 port
นี่ยังไม่รวมอุปกรณ์ electronic ชิ้นอื่นๆอีก เช่น ที่ชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์ 1 เครื่อง เครื่องแปลงสัญญาณโทรศัพท์จากดาวเทียม และ อื่นๆอีกหลายชิ้น
5.อีก 1 สัปดาห์ถัดมา Capasistor ที่ภาคจ่ายไฟของเครื่องส่งสัญญาณระเบิด เนื่องจากยังมีสายนำสัญญาณเสียงที่ต่อจากคอมพิวเตอร์ผ่าน Mixer ต่อค้างอยู่ (อันนี้ไม่แน่ใจว่าเกิดจากฟ้าผ่าโดยตรง หรือ เกิดจากกระแสไฟฟ้า กระชาก ในครั้งถัดมา)
หลังจากนั้น ผมได้วิเคราะห์สาเหตุ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ electronic เสียหาย
ประการแรก ฟ้าผ่าลงมาที่สายล่อฟ้าแต่ไม่ได้โดนเต็มๆ ยังแฉลบไปถูกเสาอากาศส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดการปะทุขึ้นที่ปลายสาย ซึ่งเป็นต้นเหตุของเสียง ปัง!! และลูกไฟ ที่ทำให้หูอื้อ และตาพร่ามัวไปหลายวัน ตรงส่วนนี้ผมไม่แน่ใจว่าจะทำความเสียหายได้โดยตรง
แต่ส่วนที่แน่ใจคือ ฟ้าผ่าครั้งนั้นไม่ได้หยุดที่เสาอากาศ แต่ยังคงแฉลบลงมาที่จานดาวเทียม ซึ่งผมใช้ในการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน๊ต
(บอรดแบรน แซทเทิลไลท์) กระแสไฟต้องพยายามที่จะลงดิน มันจึงวิ่งผ่านไปยังเราท์เตอร์ ผ่านไปยัง Hub แล้ววิ่งเข้า สู่ Lan เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต่อสายดินไว้อย่างดี (แต่ไม่แน่ใจว่ากระแสไฟจากฟ้าผ่าจะลงดินได้หรือสลายไปกับการทำลาย Lan และอุปรณ์ทั้งหมดที่ต่อพ่วงออกจาก Hub)
ที่เล่าไปนั้นคือผลทางตรงจากการที่ถูกฟ้าผ่า
ส่วนทางอ้อมเกิดหลังจากนั้น1สัปดาห์ นั่นคือฟ้ากำลังจะผ่าอีกครั้งในบริเวณสถานี หลังจากที่เรียนรู้ไปแล้วว่าควรทำอย่างไรเมื่อจะเกิดฟ้าผ่า
จึงนำมาใช้ในครั้งนี้ นั่นคือ ปิดเครื่องส่ง ถอดสายนำสัญญาณออกทั้งหมด ปิด เราท์เตอร์ ถอดสาย สัญญาณจากจานดาวเทียม ถอดสายทุกเส้นที่ Hub ซึ่งน่าจะหมายความว่าอุปกรณืทุกชิ้นน่าจะปลอดภัยแล้ว แต่เปล่าเลย ครั้งนี้ฟ้าผ่าบริเวณใกล้เคียงหม้อแปลงไฟฟ้าใหญ่ของการไฟฟ้า เป็นผลให้เกิดไฟกระชาก ซัพพลายของคอมพิวเตอร์ทุกตัว เสียหมด ต้องเปลี่ยนตามเคย[/hide]
ทั้งหมดที่กล่าวมานั่นคือประสบการตรงจากตัวผมเอง หลายท่านอาจคิดว่าผมดวงไม่ดีเอง แต่อย่าได้ประมาทไปเลย สักวันหนึ่งมันอาจเกิดขึ้นกับท่านบ้างก็ได้
คำเตือน!เมื่อเกิดฝนฟ้าคะนองควรถอดปลั๊กไฟของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดออกรวมไปถึงสายโทรศัพท์ที่ต่อเข้ากับอุปกรณ์ Electronic ทุกครั้ง