พอดีดูข่าว แล้วเจอซอฟต์แวร์ช่วยอ่านหนังสือ เป็นผลงานของวิศวกรรมคอมฯ เกษตรศาสตร์
เลยเอามาฝากครับ
-------------------------

ฝีมือเด็กไทยถูกใจไมโครซอฟท์ เป็นเวลากว่า 5 ปีที่ไมโคร ซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดแข่งขันโครงการ “Imagine Cup 2007” ซึ่งเป็นเวทีให้นิสิต นักศึกษาได้คิดค้นพัฒนาซอฟต์แวร์ฝีมือคนไทย ทีมชนะเลิศจะ ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับโลกที่ประเทศเกาหลีใต้ ในเดือนสิงหาคมนี้


ปี 2550 มีนักศึกษาจำนวน 476 คน จาก 25 มหาวิทยาลัย ส่งผลงานเข้าประกวด 84 แอพพลิเคชั่น การแข่งขันแบ่งเป็น 3 รอบ จนมาถึงรอบสุดท้ายคัดเหลือเพียง 6 ทีม จาก 5 มหาวิทยาลัย
Imagine Cup 2007 เป็นการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก เป็นเวทีเฉพาะนักศึกษาทั่วโลก แบ่งประเภทการแข่งขันเป็น 9 ประเภท ในประเทศไทยเน้นการแข่งขันออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Design) เป็นหลัก กติกากำหนดให้นักศึกษาออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์แอพ พลิเคชั่นบน .NET Framework และ Window platform โดยหัวข้อของการแข่งขันในปีนี้ คือ “Imagine a world where technology enables a better education for all” เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อสังคม สร้างสรรค์แอพพลิเคชั่นด้านการศึกษา และปรับปรุงชีวิตของคนนับล้านคนทั่วโลกให้ ดีขึ้น
ผลการแข่งขัน ปรากฏว่า ทีม 3 KC Return กับแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อ ว่า Life Book โดยสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปรัชญา ไพ ศาลวิภัชพงศ์, นายจตุพล สุขเกษม, นายปฐมพล แสงอุไรพร นักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์ และนายวสันต์ เจียรมณีทวีสิน นักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คว้ารางวัลชนะเลิศได้เงินรางวัล 100,000 บาท ประกาศนียบัตร โล่รางวัล และเมื่อเรียนจบยังได้ทำงานกับไมโครซอฟท์ด้วย
นายปรัชญา ไพศาลวิภัชพงศ์ นักศึกษาภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หัวหน้าทีม 3KC Return บอกว่า โจทย์การทำซอฟต์แวร์ในปีนี้คือ ผลักดันการศึกษาให้ทั่วถึง ทีมจึงได้ตกลงทำโปรแกรมเพื่อช่วยให้เด็กสามารถอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่อยากอ่าน เรียกว่า Life Book โดยสามารถเรียนการอ่าน การเขียน การฟัง และการพูดได้โดยตรงจากหนังสือที่มีอยู่ในท้องถิ่น แต่เมื่อมีการพัฒนาไปเรื่อย ๆ ในระยะเวลา 3 เดือน ก็พบว่าโปรแกรมนี้สามารถใช้ได้กับคนที่อ่านหนังสือไม่ออกด้วย และเป็นแรงผลักดันในการจัดทำแอพพลิเคชั่น Life Book ซึ่งเป็นโครงการที่มีเป้าหมายในการพัฒนาการรู้หนังสือของคนเหล่านั้นด้วย
วิธีเรียกใช้แอพพลิเคชั่น Life Book เพียงเปิดหนังสือที่อยากจะอ่าน วางหน้าที่ต้องการอ่านที่หน้าเว็บแคมซึ่งติดตั้งอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบจะจับภาพของย่อหน้าในแต่ละหน้า นำภาพถ่ายโอนเข้าเทคโนโลยี ORC เพื่อจดจำตัวอักษร และแปลงแต่ละตัวอักษรเฉพาะคำสำคัญ จากนั้นระบบจะประมวลหาในสารา นุกรม แล้วโปรแกรมจะนำภาพออกมาเสนอ ให้เป็นภาพที่น่าสนใจบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ โดยจะแสดงรายละเอียดและคำศัพท์บนย่อหน้าพร้อมความหมาย เพื่อสอนให้ผู้เรียนสามารถฝึกอ่านได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้ผู้เรียนจะสามารถเรียนหนังสือ ในท้องถิ่นได้แม้ว่าจะไม่รู้หนังสือ ทั้งนี้โปรแกรมดังกล่าวสามารถใช้ได้ 2 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน เนื่องจากเป็นภาษาที่ทั่วโลกมักใช้เป็นส่วนใหญ่ และในอนาคตมีแผนจะพัฒนาสำหรับประเทศอินเดีย เพราะมีอัตราคนที่ไม่รู้หนังสือจำนวนมาก
ส่วนทีมรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม NanoSoft จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับแอพ พลิเคชั่นที่มีชื่อว่า Pronunciation via animation (PVA) เทคโนโลยีคอม พิวเตอร์เพื่อช่วยคนหูหนวกในการเรียนรู้วิธีการพูด และการออกเสียงที่ถูกต้อง
รองชนะเลิศอันดับ 2 คือ ทีม Majin Buu จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับแอพพลิเคชั่นที่มีชื่อว่า ChemLive ที่สามารถช่วยให้เรียนวิชาเคมีดีขึ้น ด้วยการจำลองห้องปฏิบัติการทางเคมีแบบเรียลไทม์ ทำให้เราเห็นภาพบรรยากาศห้องแล็บที่เหมือนจริง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ห้องปฏิบัติการ และสสารทางเคมีตัวจริง ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกับ Laboratory Environment Packs (LEPs) ที่เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ และออกแบบตกแต่งโดยอาจารย์ผู้สอน ซึ่งนักศึกษาสามารถใช้งานคนเดียว หรือเป็นกลุ่มก็ได้ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา โดยมีอาจารย์ผู้สอนคอยให้คำแนะนำ
นับเป็นรางวัลชีวิต ที่ได้มาจากความรู้ ความสามารถ และมันสมองของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย อีกหน่อยหากมีการต่อยอดนำมาใช้ในประเทศไทย คงทำให้ประเทศชาติพัฒนาได้อีกไกล.


อ้างอิงจาก :: http://www.moc.moe.go.th/modules.php?name=...nt&sid=4737