Chapter 3 ระบบ flow
ในการเขียนโปรแกรมนั้นจำเป็นต้องมีการตัดสินใจว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์ a ขึ้นจะต้องทำอย่างไร และถ้าไม่เกิด a จะต้องทำอย่างไร รูปภาพต่อไปนี้แสดงฝังการเขียนโปรแกรม ซึ่งเรียกว่า flowchart ให้ลองพิจารณา รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนดูว่า มีลักษณะทางเดินของ flow อย่างไรซึ่งในขั้นตอนนี้เส้นทางของ flow ได้แยกออกเป็น 2 สายโดยขั้นตอนนี้ก็คือการตัดสินใจนั้นเอง
![]()
ex1: โปรแกรมจำลองการทำงานของ ไฟจราจร
[src]light=raw_input('Input color [red,green]: ')
if light=='red':
print 'You must stop'
else:
print 'You can go now'[/src]
จากโปรแกรมนี้จะได้ output ดังนี้
และถ้าใส่เป็นอีกค่าหนึ่งก็จะได้ผลลัพธ์อีกแบบ
ให้พิจารณาบรรทัดแรกที่ว่า light=raw_input('Input color [red,green]: ') จะมีคำสั้ง raw_input ที่เพิ่มขึ้นมาใหม่ซึ่งหน้าที่ของมันก็คือจะทำให้สามารถรับค่าเป็นตัวอักษรได้
ส่วนในบรรทัดที่ 2-3 เป็นการตรวจสอบเหตุการณ์หรือเช็คเงื่อนไข การเปรียบเทียบใน Python นั้นใช้เครื่องหมาย '==' ไม่เหมือนกับเครื่องหมาย '=' ซึ่งหมายถึงการกำหนดค่า (assign)
ex2: ตัวอย่างแสดงรูปแบบของ flow อีกแบบ
[src]
print "Welcome to the Area calculation program"
print "---------------------------------------"
# Print out the menu:
print "Please select a shape:"
print "1 Rectangle"
print "2 Circle"
# Get the user's choice:
shape = input("> ")
# Calculate the area:
if shape == 1:
height = input("Please enter the height: ")
width = input("Please enter the width: ")
area = height*width
print "The area is", area
else:
radius = input("Please enter the radius: ")
area = 3.14*(radius**2)
print "The area is", area[/src]
หมายเหตุ: ให้สังเกตการเยื่องของโค้ดของ if และ else ต้องทำการเยื่องลักษณะนี้เสมอ เพราะเป็นกฏหนึ่งของ Python