1. สาเหตุที่เกิดมาอายุสั้น
๑. : เข่นฆ่าชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ไม่เว้น
๒. : เรียกให้ผู้อื่นฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า
๓. : ชื่นชมกับฝีมือการล่า/ฆ่าสัตว์ที่ตนไปเห็นมา
๔. : มีความสุขใจเมื่อเห็นคนกำลังล่า/ฆ่าสัตว์
๕. : หวังว่าคนที่เราเกลียดชังจะตายวันตายพรุ่ง
๖. : เห็นศัตรูคู่อริตายไป เกิดความสุขใจ
๗. : ทำลายรังของสัตว์เดรัจฉาน
๘. : เรียกให้ผู้อื่นทำลายหรือสั่งให้ทำลายรังของสัตว์
๙. : จัดงานบุญงานบวชแต่เอาชีวิตสัตว์น้อยใหญ่มาสังเวย
๑๐. : เห็นการทารุณสัตว์เป็นเรื่องสนุก (ชนไก่ ชนวัวฯ)
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุสั้น กล่าวคือมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน ต้องมี อันถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเยาว์ วัยรุ่น หรือไม่พ้นวัยกลางคน อย่างไรก็ดี หากได้ชดเชยด้วยการทำความดีสร้างบุญกุศลบ้าง อาจต่อชะตาได้แค่ ช่วงหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ไม่เสียเที่ยวได้เกิดมา ที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนที่ยัง มัวตะบอยเสเพลเถลไถล ผลกรรมของการปาณาติบาตนั้นแรงมากยาก ผ่อนผัน ชีวิตต้องเผชิยเคราะห็ร้ายเป็นกิจวัตร พึงสำนึกอยู่เสมอว่า ความสุขสบายไม่ได้ช่วยให้อายุยืน จำต้องชดใช้ชีวิตคืนเมื่อถึงเวลา.
2. สาเหตุที่เกิดมาอายุยืน
๑. : เว้นขาดจากการเข่นฆ่าทำร้ายชีวิตสัตว์น้อยใหญ่
๒. : ตักเตือนผู้อื่นให้ละเว้นการเข่นฆ่า
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
๕. : หาทางช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า ถูกทรมาน
๖. : ปลอบขวัญให้กำลังใจแก่คนที่กำลังหวาดกลัว
๗. : คิดหาอุบายช่วยคนขวัญอ่อน
๘. : เห็นคนประสบเหตุเภทภัยก็บังเกิดความสงสาร
๙. : เห็นคนกลุ้มอกกลุ้มใจก็คิดหาวิธีช่วยเหลือ
๑๐. : บริจาคข้าวปลาอาหารแก่ผู้อดอยากหิวโหย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุยืน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ไม่ได้เข่นฆ่าทำลาย ชีวิตสัตว์ แต่เอาสัตว์มาขังไว้ในกรงเลี้ยงดูอุดมสมบูรณ์ เช่นนี้อนาคต ชาติแม้ว่าได้อายุขัยที่ยืนยาวก็จริงอยู่ แต่ชะรอนชะตาชีวิตนั้นก็ถูกริดรอน ทอนบุญบางอย่างไปตามเหตุที่สร้างไว้ กล่าวคือเป็นคนที่มีอายุยืนแต่ขาด อิสรภาพต้องอยู่เฝ้าบ้านไปจนแก่ เพราะอำนาจแห่งกรรมจำกัดขอบเขต ไว้แล้ว การออกนอกบ้านแต่ละครั้งไม่วายมีเหตุให้ต้องรีบร้อนกลับบ้าน ด้วยความเป็นห่วง ชีวิตเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากนกในกรงทองนั่นเอง.
3. สาเหตุที่เกิดมามีโรคมาก
๑. : ชอบทุบตีทรมานสัตว์อย่างโหดร้ายทารุณ
๒. : เรียกใช้ไหว้วานให้ผู้อื่นทำแทน
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำทารุณกับสัตว์
๔. : มีความสุขเมื่อเห็นคนกำลังจับสัตว์มาทรมาน
๕. : สร้างความหนักใจให้พ่อแม่เป็นทุกข์
๖. : ใส่ร้ายป้ายสีนักบวชผู้ทรงศีล
๗. : ดีใจเมื่อรู้ว่าศัตรูคู่อริล้มป่วยอาการหนัก
๘. : เห็นศัตรูคู่อริอาการดีขึ้นเกิดความไม่พอใจ
๙. : ใช้ยาปลอม จ่ายยาไม่ตรงโรค ไม่รักษาจรรยาแพทย์
๑๐. : กินตามใจปาก ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงกลายเป็นคนขี้โรค กล่าวคือ มีโรคติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเป็นเมื่อโตขึ้น บาปกรรมที่ทำไว้คือโรคภัยที่เบียดเบียนความทุกข์ ทรมานเป็นผลมาจากแรงกรรม สามวันดีสี่วันไข้ไม่หยุดหย่อน โรคเรื้อรัง รักษากี่หมอผ่าตัดกี่ครั้งก็ยังไม่หาย วิทยาศาสตร์ตามไม่ทันเพราะโรคล้ำ หน้า เหตุจากจิตใจของมนุษย์ชั่วร้ายขึ้นทุกวัน ลองคิดดูสิว่าการแพทย์ เจริญแต่ทำไมผู้คนขยันเป็นโรคไม่หยุดหย่อน คนยุคใหม่ตายด้วยโรคมาก ที่สุด หากแก้ที่โรคไม่ได้ผลก็ลองหันมาแก้กรรมกันดูบ้าง.
4. สาเหตุที่เกิดมาห่างไกลจากโรคภัย
๑. : เว้นขาดจากการทุบตีหรือทรมานสัตว์
๒. : ตักเตือนผู้อื่นไม่ให้จับสัตว์มาทุบตีหรือทรมาน
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อผู้อื่นล้มเลิกการทารุณสัตว์
๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นสัตว์ปลอดภัยจากถูกทรมาน
๕. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่หรือผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ
๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ภัยฯ
๗. : เห็นศัตรูคู่อริหายจากโรคภัยก็เกิดความเจริญใจ
๘. : บริจาคยารักษาโรค
๙. : เกิดความสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ทรมาน
๑๐. : บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีสุขภาพดี กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราความ ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บไม่มีย่างกรายมารบกวนแม้แต่น้อย เพราะ เหตุที่เคยได้ช่วยเหลือดูแลผู้อื่นไว้ในปางก่อน ชาตินี้จึงได้ร่างกายที่แข็ง แรงเป็นของขวัญ อีกทั้งเงินทองยังมีเหลือเอาไปทำบุญ เพราะการบุญ นั่นแล คือหลักประกันสุขภาพที่ได้ซื้อไว้ตั้งแต่ชาตินี้ ชาติหน้าไม่ต้องเสีย ทรัพย์เป็นเงินหมื่นเงินแสนเป็นค่ายารักษา อย่างนี้ก็มีความสุขไปตลอด ชีวิตดั่งคำพังเพยที่ว่า "ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" นั่นเอง.
5. สาเหตุที่เกิดมาอัปลักษณ์
๑. : อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโหง่าย
๒. : ฝังใจอาฆาตพยาบาทเคียดแค้น
๓. : ฉีกหน้า ไม่ไว้หน้า ทำให้คนอื่นขายขี้หน้า
๔. : ไม่ให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หยามหน้า)
๕. : โกหกหลอกลวงต้มตุ๋น (ปั้นหน้า)
๖. : ใส่ร้ายป้ายสี (ทำผู้อื่นเสียหน้า)
๗. : ขัดขวางกีดกันไม่ให้คนทำดี
๘. : ทำลายสาธารณสมบัติ (หน้าตาของสังคม)
๙. : เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (ตำแหน่งบังหน้า)
๑๐. : เห็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ รังเกียจหัวเราเยาะ
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนอัปลักษณ์ กล่าวคือ รูปร่างหน้าตาผิดแผกไป จากคนทั่ว ๆ ไปคือ รูปชั่ว ตัวดำดึก หน้าตาเหยเก ตัวเตี้ย แขนขาสั้น ฯ เหล่านี้เกิดจากใจอัปลักษณ์ เป็นผลกรรมที่มาถึงกาลสุกงอมในชาตินี้ เตือนหญิงชายอย่างหลงไหลรูปลักษณ์แค่ภาพพจน์เพียงภายนอก หากไม่ รู้จักยับยั้งชั่งใจใฝ่ทางชั่วกลั้วทางผิด มีหวังชาติหน้าได้อภิสิทธิ์รูปชั่วตัว อัปลักษณ์ สวยทางตรงคือสั่งสมความดี สวยชาตินี้ไม่กี่ปีก็สร่าง อยาก สวยอนันตกาลพึงบ่มความงามไว้ในจิตใจ.
6. สาเหตุที่เกิดมาหน้าตาดี
๑. : อารมณ์เยือกเย็นสุขุม อดทนอดกลั้น
๒. : มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจ
๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นคนทำความดี
๔. : ยกคุณงามความดีให้ผู้อื่น
๕. : สุภาพอ่อนโยนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส
๖. : สมทบทุนหรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่ง
๗. : ดูแลทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติธรรม
๘. : ตกแต่งประดับประดาสถานที่ปฏิบัติธรรม
๙. : ให้เกียรติคนอัปลักษณ์โดยไม่คิดรังเกียจ
๑๐. : เชื่อว่ารูปร่างหน้าตา คือวาสนามาจากชาติก่อน
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีรูปร่างหน้าตาดี กล่าวคือเป็นที่ต้องตาต้องใจของ ผู้คนที่พบเห็น ใครต่อใครก็ชื่นชมในความสวยความงาม กล่าวได้ว่า ไม่เป็นสองรองใคร เข้าตากรรมการทุกเหลี่ยมทุกมุม หากเกิดเป็นชาย ก็หล่อเหลาเอาการ เป็นสตรีก็สวยปานนางฟ้านางงามเป็นดาวดารา เป็น บุญตากับคนได้พบเห็น อย่างไรก็ดีหากสวยแล้วโอหังอีกทั้งยังถือดี สวย อย่างนี้ชื่อว่าสวยแค่กระพี้ประชาชีจะครหา หากสวยทั้งทียังคงไว้ซึ้ง ความดีคือ คุณสมบัติของกุลสตรีศรีเรือนนั่นเอง.
7. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนรังเกียจ
๑. : มีใจอิจฉาริษยา
๒. : รู้สึกไม่พอใจไม่ว่าใครได้ดี
๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมแล้วสะใจ
๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังแล้วด่าว่าสาดเสียเทเสีย
๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับแล้วเกิดความสนุกสุขใจ
๖. : ทำลายสาธารณะสมบัติส่วนรวม
๗. : เป็นคนเนรคุณ หรือทรยศต่อผู้มีพระคุณ
๘. : ทำลายความสามัคคีให้แตกแยก
๙. : ขัดแย้งไม่ให้ผู้อื่นลงรอยกัน
๑๐. : ทำตัวเป็นอุปสรรค เป็นคนเจ้าปัญหา (ก่อกวน)
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่รังเกียจของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่สังคมไม่ ต้อนรับไม่ยินดีด้วย ถึงแม้เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่ง เป็นเจ้าใหญ่นายโต แต่สุดท้ายจะต้องถูกประท้วง ถูกขู่ ถูกทำร้ายจาก คนส่วนใหญ่คือประชาชนหรือลูกจ้างบริวาร สร้างความไม่พอใจจนถูก ขับไล่ไสส่ง บุคคลเมื่อมีบาปติดตัวมาเช่นนี้เข้าไปสู่สังคมใดก็จะนำความ ฉิบหายไปสู่สังคมนั้น กล่าวได้ว่าเป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคล พึงระวัง พฤติกรรมของบุคคลอันนำมาซึ่งความพินาศเช่นนี้แล.
8. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนนิยมชมชอบ
๑. : ไม่มีใจอิจฉาริษยา
๒. : รู้สึกเบิกบานใจไม่ว่าใครได้ดี
๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมก็แสงความเสียใจ
๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังก็พลอยยินดีไปด้วย
๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับก็คิดหาทางช่วยเหลือ
๖. : บริจาคสิ่งปลูกสร้างเป็นสาธารณะสมบัติมากมาย
๗. : ประกาศคุณงามของผู้มีพระคุณให้ฟุ้งขจร
๘. : ส่งเสริมความสามัคคีให้เกิดขึ้น
๙. : สมานความขัดแย้งที่แตกร้าวให้ลงรอยกัน
๑๐. : คลี่คลายปัญหา เป็นที่ปรึกษาไขข้อข้องใจ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่มหาชนให้ ความเคารพยกย่องอย่างท่วมท้นล้นหลาม พูดได้ว่าเป็นคนของประชาชน เป็นบุคคลแถวหน้าระดับผู้นำประเทศ ผู้นำกองทัพ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งบุคคลซึ่งเป็นขวัญใจของมหาชนที่ให้การต้อนรับอย่างคับคั่งไม่ว่า แฟนเพลง แฟนหนัง แฟนละคร แฟนฟุตบอล เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่อง จากอำนาจแห่งกรรมดีที่สั่งสมไว้เป็นบารมีแผ่นไพศาลดั่งสนามแม่เหล็กซึ่ง ดึงดูดความนิยมและครองใจมหาชนไว้ตราบนานเท่านาน.
9. สาเหตุที่เกิดมาต่ำต้อย
๑. : ทำตัวเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
๒. : ไม่เคารพบิดามารดา ซ้ำดูถูกเหยียดหยาม
๓. : ไม่เคารพผู้มีพระคุณ ฯ
๔. : ไม่เคารพนักบวช ผู้ทรงศีล ฯ
๕. : ไม่เคารพต่อครูบาอาจารย์ ฯ
๖. : ไม่ให้เกียรติผู้ประพฤติพรหมจรรย์
๗. : ไม่เต็มใจรับใช้ผู้อาวุโสกว่า
๘. : ไม่มีสัมมาคารวะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
๙. : ปฏิเสธความหวังดีที่พ่อแม่พร่ำเตือนอบรมสั่งสอน
๑๐. : กดขี่ข่มเหงลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนต่ำต้อย กล่าวคือเป็นบุคคลที่ผู้อื่นดูถูกเหยียด หยาม เป็นคนไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีในสายตาของใคร ๆ (ดูไม่ขึ้น) ต้อง ใช้ชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อยด้อยค่า ถึงความชั่วไม่มีแต่ความดีที่ปรากฏก็ไม่มี คนเห็น มักถูกมองข้ามเสมอแม้เป็นเจ้าของผลงานหรือถูกผู้อื่นฉวยเอา ประโยชน์ไป หากไม่ถูกกลั่นแกล้งก็ถูกโกงเงินค่าจ้างค่าแรง ถูกใช้แรง งานอย่างกดขี่ ชีวิตต้องเร่ร่อนหากินด้วยการแบมือขอและยกมือไหว้ซึ่ง เป็นกรรมแต่ปางก่อนที่ไม่เคยให้ความเคารพใคร ๆ นั่นเอง.
10. สาเหตุที่เกิดมาสูงศักดิ์
๑. : ไม่เป็นคนเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
๒. : เคารพบิดามารดา
๓. : เคารพผู้มีพระคุณ
๔. : เคารพผู้ออกบวช ผู้ทรงศีล นักบุญ
๕. : ให้เกียรติผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์
๖. : เคารพครูบาอาจารย์
๗. : เต็มใจรับใช้ผู้สูงอายุ
๘. : มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน
๙. : รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน
๑๐. : มีความกรุณาต่อลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงสูงศักดิ์ กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีบารมี มียศ ศักดิ์ เป็นที่นับหน้าถือตาและเคารพยำเกรงของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้มี ฐานะหรือชนชั้นธรรมดา กล่าวได้ว่ามหาชนให้ความเคารพยกย่องและ สรรเสริญ บุคคลเหล่านี้มักถูกเชิญไปเป็นเกียรติ เป็นประธาน เป็นผู้ มอบของรางวัลในพิธี รัฐพิธี หรือพระราชพิธีต่าง ๆ อย่างไรก็ดีบุคคล เช่นนี้เมื่อเข้าไปอยู่ร่วมในสังคมใดก็จะเป็นสิริมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรือง รุ่งโรจน์สู่สังคมนั้นนั่นเอง.
11. สาเหตุที่เกิดมายากจนขัดสน
๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว
๒. : ปล้นชิงวิ่งราว ลักเล็กขโมยน้อย
๓. : เสี้ยมสอนให้ผู้อื่นเป็นขโมย หรือชี้ช่องทาง
๔. : กล่าวชมเชยเทคนิคในการลักขโมย
๕. : รู้เห็นเป็นใจกับแก๊งมิจฉาชีพ ๑๘ มงกุฏ
๖. : รีดไถพ่อแม่จนอัตคัดฝืดเคือง
๗. : เบียดเบียนจตุปัจจัยของนักบวช ผู้ทรงศีล
๘. : เห็นเขามั่งคั่งร่ำรวยเกิดจิตคิดละโมบ
๙. : ขัดขวางผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับ
๑๐. : โขกสับคนจนอย่างไม่ปราณี
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงยากจน กล่าวคือมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างอัตคัด ขัดสนในปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพเป็นต้นว่าที่พักอาศัย ไม่มีเป็นของตน ต้องขออาศัยหรือเช่าทำมาหากิน บ้างขาดแคลนเสื้อผ้า สวมใส่ต้องทนเหน็บหนาวทุกข์ทรมาน บ้างข้างปลาอาหารไม่พอกินพอใช้ อด ๆ อยาก ๆ หาเช้ากินค่ำหรือต้องขอเขากิน บ้างยามเจ็บไข้ได้ป่วยเงิน ทองไม่เพียงพอค่าเยียวยารักษา ชีวิตมีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะมีเหตุให้เสีย ทรัพย์อยู่เสมอ กล่าวได้ว่าตกอยู่ในสภาพยากจนขัด
12. สาเหตุที่เกิดมามั่งคั่งร่ำรวย
๑. : ใจบุญสุนทาน ชอบเผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. : บริจาคทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมาก
๓. : ฝึกฝนผู้อื่นให้รู้จักการให้ การอุทิศเสียสละ
๔. : เห็นผู้อื่นทำบุญบริจาคก็บังเกิดจิตอนุโมทนา
๕. : กล่าวชมเชยผู้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์
๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
๗. : พบเห็นคนอดอยากยากจนเกิดความสงสาร
๘. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ไม่ขาดตกบกพร่อง
๙. : ถวายจตุปัจจัยแก่นักบวช ผู้ทรงศีล
๑๐. : เห็นเขาได้รับผลตอบแทนก็พลอยปลาบปลี้มยินดี
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมั่งคั่งร่ำรวย กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีฐานะความเป็นอยู่ ค่อนข้างสุขสบาย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นเจ้าของมรดกฯ ชีวิตอุดม ด้วยปัจจัย ๔ และเงินทองทรัพย์สมบัติโชคลาภวาสนา กล่าวได้ว่าเกิดมา บนกองเงินกองทอง ไม่ต้องตรากตรำลำบากก็มีกินมีใช้จนชั่วชีวิต แต่ อย่างไรก็ดีหากชาตินี้ไม่สร้างบุญตุนไว้เป็นทุนสำรอง เท่ากับกินบุญเก่า ให้หมดไป เกิดชาติใหม่ไร้คนอุปถัมภ์ต้องถอยหลังไปเริ่มต้นตั้งหลักกว่า จะกรุยทางสร้างตัวขึ้นมาได้ก็ต้องรอจนถึงบั้นปลายชีวิตนั่นเอง.
13. สาเหตุที่เกิดมาโง่เขลาเบาปัญญา
๑. : คบคนพาลเป็นมิตร (โง่เขลา, ชั่วร้าย)
๒. : เอาความรู้ความฉลาดไปใช้ในทางผิด
๓. : ไม่ได้ใช้ความรู้ความฉลากแยกแยะผิดชอบชั่วดี
๔. : เห็นเขามีความรู้การศึกษาเกิดความไม่สบายใจ
๕. : หวงแหนวิชาความรู้ อมภูมิไม่เปิดเผย
๖. : ปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ (เผาโรงเรียน)
๗. : ยกย่องชมเชยคนทำความผิด
๘. : รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
๙. : ความคิดมิจฉา ขัดแข้งกับเหตุผล เชื่อเรื่องงมงาย
๑๐. : ลบหลู่พระธรรมคำสอน ฯ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงโง่เขลาเบาปัญญา กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดอ่าน ที่ตื้นเขิน พัฒนาการด้านสมองค่อนข้างเชื่องช้าเป็นต้นว่า หัวทึบ หัว ขี้เลื่อย สมองฝ่อ ความจำเสื่อม ไอคิวเตี้ย ไอเดียต่ำ ปัญญานิ่มฯ บุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่เหมือนคนปกติ มักสับสนในตนเอง เข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ยากแม้ว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ของคนทั่วไป ชีวิตจึงหมด โอกาสทางด้านการศึกษา กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพเป็นรอง ผู้อื่นทางด้านความคิดไปตลอดชีวิตนั่นเอง.
14. สาเหตุที่เกิดมาฉลาดปราดเปรื่อง
๑. : คบหาสมาคมกับบัณฑิต (ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์)
๒. : แบ่งปันความรู้ให้คำปรึกษาเป็นวิทยาทาน
๓. : ส่งเสริมผู้คนให้เห็นความสำคัญของวิชาความรู้
๔. : ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความเต็มใจ
๕. : เปิดโลกการศึกษาให้ชนทุกชั้น
๖. : ยกย่องชมเชยความคิดสร้างสรรค์
๗. : รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี
๘. : ไม่รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
๙. : ความคิดเที่ยงตรง รับฟังเหตุผล ไม่หลงงมงาย
๑๐. : จรรโลงพระธรรมคำสอนฯ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงฉลาดปราดเปรื่อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดสติ ปัญญาเฉียบแหลม ไหวพริบปฏิภาณดีเยี่ยม พัฒนาการทางสมองโดด เด่น เรียนรู้ได้ไว มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รู้รอบและรอบรู้ สารพัด บุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มผู้บริหาร นักวิเคราะห์ นักวางแผน ครู อาจารย์ ด็อคเตอร์ ศาสตราจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีบทบาท ด้านวิจัย ด้านความรู้และการศึกษา กล่าวได้ว่าข้อได้เปรียบของบุคคล เหล่านี้คือมีความคิดและสติปัญญาที่เป็นเลิศนั่นเอง.สนชั่วชีวิตนั่นเอง.
15. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก
๑. : พอใจในการทำลายชีวิตคนหรือสัตว์ให้ตกล่วง
๒. : พอใจในการลักขโมย ทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก
๓. : พอใจในการประพฤติผิดหญิงชาย (ทั้งที่เต็มใจหรือข่มขืน)
๔. : พอใจในการพูดโกหกหลอกลวงปลิ้นปล้อน
๕. : พอใจในการพูดจาเหลวไหลไร้สาระ
๖. : พอใจในการวิจารณ์นินทา ส่อเสียด ให้ร้ายป้ายสี
๗. : พอใจในการพูดจาหยาบคาย ด่าประณาม สาปแช่ง
๘. : พอใจในความอยากได้เป็นเจ้าของ (โดยไม่ชอบธรรม)
๙. : พอใจในการปองร้ายหรือวางแผนลอบทำร้ายผู้อื่น
๑๐. : พอใจในความคิดตามแบบฉบับของตน (ไม่สนถูกผิด)
16. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเปรต
๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว เห็นแก่ตัว:โลภในทรัพย์สินเงินทอง
๒. : ไม่ยินดีในการบริจาคให้ทาน: เพราะคิดว่าไม่มีผลกำไร
๓. : ทุจริต หลอกลวง ฉ้อราษฎร์บังหลวง
๔. : หาประโยชน์ในทางมิชอบ: ใช้อำนาจบังคับกดขี่ข่มเหง
๕. : ตัดสินบน ใช้ตำแหน่งบังหน้าหากิน
๖. : รีดไถ เก็บส่วน รีดนาทาเร้น ข่มขู่
๗. : ฉกชิงวิ่งราว เลี้ยงปากท้องด้วยมิจฉาอาชีพ
๘. : ปล่อยเงินกู้เรียกเก็บดอกเบี้ยอย่างขูดเลือดขูดเนื้อ
๙. : ทุบตีพ่อแม่ ใช้วาจาหยาบคาย เป็นคนเนรคุณ
๑๐. : ทำลายเครื่องให้ทานที่มีผู้นำไปถวายพระสงฆ์องค์เจ้าฯ
17. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นอสุรกาย
๑. : มีใจอิจฉาริษยาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
๒. : หยิ่งยโส อวดดี ทะนงตน ใจมีอคติ
๓. : ดื้อรั้นเอาแต่ใจตนเอง
๔. : มารยาทต่ำทราม หยาบคาย
๕. : แก้ตัว มีแต่ข้ออ้าง ไม่รับผิดชอบ โยนความผิดให้ผู้อื่น
๖. : บันดาลโทสะ โกรธง่าย โมโหร้าน อารมณ์รุนแรง
๗. : ชอบกลั่นแกล้ง ทดสอบ ลองภูมิ เย้ยหยัน
๘. : มีจิตอาฆาตพยาบาลเคียดแค้น ไม่รู้จักให้อภัย รอทวงคืน
๙. : ใจคออำมหิตดุร้าย นิยมการทำลายใช้กำลัง เป็นอันธพาล
๑๐. : มีนิสัยชอบความฉิบหาย ชอบทำสงคราม ยกพวกตีกัน
18. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
๑. : เบียดเบียนชีวิตคนสัตว์ไม่เว้น (เกิดเป็นสัตว์หนีการตามล่า)
๒. : กู้หนี้ยืมสินไม่ชดใช้คืน (เป็นช้างม้าวัวควายใช้แรงงาน)
๓. : มักมายในกามราคะ ไม่รู้พอ (เป็นสัตว์ผสมพันธุ์ไม่เลือกหน้า)
๔. : ปากเป็นอาวุธสร้างวจีกรรมหนำใจ (เป็นสัตว์น้ำใช้ปากหายใจ)
๕. : มัวเมาในรสสุรายาเสพติดฯ (เป็นสัตว์ที่กินของสกปรก)
๖. : ทรยศต่อผู้มีคุณ ประเทศชาติบ้านเมือง
๗. : เชื่อว่าตายแล้วยังได้กลับมาเกิดเป็นคนอีกแม้ว่าทำชั่ว
๘. : เชื่อว่าชีวิตสัตว์ไม่ได้มาจากคน คนตายแล้วก็จบสิ้น
๙. : เช้าใจว่ากฎแห่งกรรมเป็นเรื่องงมงาย ชีวิตหลังความตายไม่มี
๑๐. : เชื่อว่าการเหนือเกิดพ้นตายเป็นเรื่องเกินความจริง
19. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นมนุษย์
๑. : เว้นขาดจากการเบียดเบียนทำลายชีวิตคนสัตว์
๒. : เว้นขาดจากการขโมยของผู้อื่นเป็นของตน
๓. : เว้นขาดจากการประพฤติผิดหญิงชาย
๔. : เว้นขาดจากการใช้วาจาคำพูดไปสร้างความเสียหาย
๕. : เว้นขาดจากการเสพสุรายาเสพติด
๖. : มีใจเมตตาโอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
๗. : ทำมาหากินในทางสุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว
๘. : รู้จักผิดชอบชั่วดี บาปบุญคุณโทษ
๙. : มีมารยาท วาจาสุภาพไม่หยาบคาย มีสัมมาคารวะ
๑๐. : ใช้ความคิดสติปัญญาในทางที่ชอบ
20. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเทพเทวา
๑. : มีใจเกรงกลัวและละอายต่อบาป
๒. : นิยมการทำบุญ บริจาคให้ทานอยู่เสมอ
๓. : มีจิตเมตตาสงสาร ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
๔. : ประพฤติตนอยู่ในศีล
๕. : ใจเย็น สุขุม รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักให้อภัย
๖. : มีวินัย เจ้าระเบียบ รักความสะอาดเรียบร้อย
๗. : พูดจาอ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
๘. : มีความจริงใจ อัธยาศัยที่ดี เป็นมิตรกับทุกคน
๙. : รักษาสัจจะ ไม่ผิดคำพูด รักความยุติธรรม
๑๐. : เป็นผู้เจริญธรรม ชอบศึกษาใฝ่หาธรรม ยึดมั่นในความดี
credit :: mthai