Results 1 to 2 of 2

Thread: การสร้างเว็บเพจด้วย HTML

  1. #1
    Junior Member
    Join Date
    Oct 2006
    Location
    -
    Posts
    10


    การสร้างเว็บเพจ
    เราสามารถสร้างเว็บเพจได้ 2 ทาง คือ
    1. TextEditor โดยเราต้องรู้คำสั่งของภาษา HTML แล้วพิมพ์โปรแกรมเข้าไปทางTextEditor เช่น Notepad เป็นต้น
    2. ตัวช่วยสร้าง โดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจโดยเราไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML เพราะโปรแกรมเหล่านี้จะทำการแปลงให้เราอัตโนมัติ

    ขั้นตอนในการสร้างเว็บเพจ
    1. เปิดโปรแกรม TextEditor แล้วทำการพิมพ์คำสั่ง HTML แล้วเซฟเป็นไฟล์นามสกุล .htm หรือ .html
    2. เปิดโปรแกรม WebBrowser เพื่อใช้ในการดูผลลัพธ์ที่ได้จากการเขียนภาษา HTML จากที่ได้เขียนจาก TextEditor

    โครงสร้างภาษา HTML
    การเขียนภาษา HTML นั้นมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นคำสั่ง ส่วนที่เป็นคำสั่งนั้นจะอยู่ในรูปของ Tag ซึ่งจะเขียนอยู่ในเครื่องหมาย มากกว่า และ น้อยกว่า < > แต่ละ Tag มีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป
    Tag แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
    1. แท็กเดี่ยว คือ คำสั่งที่มีคำสั่งเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถใช้และสิ้นสุดคำสั่งได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น
    ข้อความ....

    <hr>
    <! - ข้อความ - >
    2. แท็กคู่ คือ คำสั่งที่ต้องมีส่วนเริ่มต้นและส่วนจุดจบของคำสั่งนั้นๆ โดยแท็กที่เป็นส่วนจบนั้นจะมีเครื่องหมาย slash / ติดเอาไว้ เช่น
    <html> ส่วนของเนื้อหา ..... </html>
    <center> ข้อความ..... </center>


    ข้อความ.... </p>

    *** ถ้าหากมีการใช้แท็กคู่หลายๆ คำสั่ง เช่น คำสั่งตัวขีดเส้นใต้ .... และตามด้วย คำสั่ง ตัวเอียง .... จะต้องปิดคำสั่งตัวเอียงก่อน แล้วจึงจะมาปิดคำสั่งตัวหนา***
    U> ข้อความ.... </U>
    การกำหนดโครงสร้างหลัก
    การจัดวางที่เห็นเป็นการจัดวางแบบมาตรฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย 4 ส่วน ซึ่งเวลาเริ่มเขียนภาษาHTML ควรเริ่มจากตรงนี้ก่อนทุกครั้ง

    • คำสั่งหลัก <HTML> .... </HTML> เป็นคำสั่งที่ไว้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดจบของเอกสาร
    • คำสั่งหลัก <HEAD> .... </HEAD> เป็นคำสั่งที่ทำหน้าที่กำหนดส่วนหัวเรื่อง โดยภายในคำสั่งนี้จะประกอบไปด้วย
    o คำสั่งหลัก <TITLE> .... </TITLE> เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดข้อความที่ต้องการให้ขึ้นอยู่ในส่วนของ Title Bar โดยสามารถพิมพ์ได้ยาว 64 ตัวอักษร
    • คำสั่งหลัก <BODY> .... </BODY> เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดรูปแบบของเอกสารทั้งหมด ว่าจะให้มีลักษณะอย่างไร

    ตัวอย่าง



    การกำหนดหัวข้อ (Heading)
    คำอธิบาย
    ใช้ในการกำหนดขนาดให้กับข้อความที่เป็นหัวข้อเรื่อง ในเอกสารที่มีหัวข้อเป็นปลีกย่อย สามารถแยกเป็นลำดับของหัวเรื่องได้อย่างชัดเจน
    รูปแบบ
    <hx> ..... </hx>
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Education Technology </title>
    </head>
    <body>
    <h1>Test Heading if x=1</h1>
    <h2>Test Heading if x=2 </h2>
    <h3> Test Heading if x=3 </h3>
    <h4> Test heading if x=4 </h4>
    <h5> Test heading if x=5 </h5>
    <h6> Test heading if x=6 </h6>
    </body>
    </html>



    การกำหนดจุดสิ้นสุดบรรทัด (Break Rule)
    คำอธิบาย
    ใช้ในการกำหนดจุดสิ้นสุดบรรทัด และขึ้นบรรทัดใหม่ คำสั่งนี้เหมือนการกด Enter บน keyboard นั่นเอง
    รูปแบบ
    .....

    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Break Rule Tag </title>
    </head>
    <body>
    Test Normal Message
    Test Normal Message
    Test Break Rule Tag

    Test Break Rule Tag

    </body>
    </html>



    การขึ้นย่อหน้าใหม่ (Paragraph)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงข้อความในลักษณะพารากราฟ หรือย่อหน้าในเว็บเพจ และยังสามารถใช้ในการขึ้นบรรทัดใหม่ครั้งละ 2 บรรทัด
    รูปแบบ


    ... </p>
    <p align="left/center/right"> ... </p>
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Paragraph Tag </title>
    </head>
    <body>


    Test Normal Paragraph Tag
    <p align="right"> Test Righ Paragraph Tag
    <p align="center"> Test Center Paragraph Tag
    <p align="left"> Test Left Paragraph Tag
    </body>
    </html>



    แสดงข้อความแบบจัดกึ่งกลาง (Center)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงข้อความหรือรูปภาพใช้จัดกึ่งกลางเว็บเพจ
    รูปแบบ
    <center> ... </center>
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Paragraph Tag </title>
    </head>
    <body>
    Test Normal Message
    <center> Test Center Message </center>
    </body>
    </html>




    การกำหนดรูปแบบตัวอักษร (FONT)
    คำอธิบาย
    ใช้กำหนดรูปแบบตัวอักษร ในข้อความที่อยู่ภายใน เช่น ฟอนต์ สี และ ขนาดตัวอักษร
    รูปแบบ
    <font face="text"> ..... </font> กำหนดแบบอักษร
    <font size="number"> ..... </font> กำหนดขนาดอักษร
    <font color="color"> ..... </font> กำหนดสีอักษร
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Font Tag</title>
    </head>
    <body>
    <font size="3"> Font Tag</font>

    <font color="blue"> Font Tag</font>

    <font face="JasmineUPC"> Font Tag</font>

    <font size="5" color="#0000ff"> Font Tag</font>

    <font face="AngsanaUPC" color="green"> Font Tag</font>

    <font face="CordiaUPC" size="4" color="yellow"> Font Tag</font>

    </body>
    </html>



    การกำหนดข้อความแบบตัวหนา (Bold)
    คำอธิบาย
    ใช้กำหนดข้อความที่อยู่ภายใจคำสั่งให่แสดงผลด้วยตัวอักษร ตัวหนา โดยมีจุดประสงค์ก็เพื่อเน้นข้อความในประโยคนั้นๆ
    รูปแบบ
    ....
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Bold Tag</title>
    </head>
    <body>
    <font size="7">
    Normal Text

    Bold Text
    </font>
    </body>
    </html>



    การกำหนดข้อความแบบตัวเอียง (Italic)
    คำอธิบาย
    ใช้กำหนดข้อความให้ตัวอักษรเอน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเน้นข้อความนั้นๆ
    รูปแบบ
    ...
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Italic Tag</title>
    </head>
    <body>
    <font size="7">
    Normal Text

    ItalicText
    </font>
    </body>
    </html>



    การกำหนดข้อความขีดเส้นใต้ (Underline)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงความแบบขีดเส้นใต้ เพื้อเน้นข้อความในประโยคนั้นๆ
    รูปแบบ
    ...
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Underline Tag</title>
    </head>
    <body>
    <font size="7">
    Normal Text

    Underline Text
    </font>
    </body>
    </html>



    การกำหนดข้อความตัวขีดเส้นทับ (Strikeout)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงข้อความแบบมีเส้นขีดฆ่า โดยใช้เมื่อต้องการยกเลิกข้อความที่ไม่ใช้แล้ว โดยคำสั่งนี้สามารถใช้แทนคำสั่ง STRIKE ได้
    รูปแบบ
    <s> .... </s> or <strike> .... </strike>
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Strikeout Tag</title>
    </head>
    <body>
    <font size="7">
    Normal Text

    <s> Strikeout Text</s>
    </font>
    </body>
    </html>




    การแสดงรายการแบบไม่มีเลขลำดับ (Unorder List)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ โดยไม่มีเลขลำดับ จะมีสัญลักษณ์นำหน้าข้อมูลแต่ละหัวข้อแทน โดยใช้คำสั่ง <LI> ในการสร้างหัวข้อแต่ละหลายรายการ
    รูปแบบ
    • ข้อความส่วนหัว
    • ข้อความย่อย
    • ข้อความย่อย
    • ข้อความย่อย

    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Unnorder List Tag</title>
    </head>
    <body>
    • Unnorder List
    • First Item
    • Second Item
    • Third Item

    </body>
    </html>




    การแสดงรายการแบบไดเรคทอรี่ (DIRectory)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ ที่มีความยาวไม่เกิน 20 ตัวอักษรต่อ 1 รายการ และใช้กับคำสั่ง <LI> เพื่อใช้แสดงแถวรายการ
    รูปแบบ
    <dir> ข้อความส่วนหัว[*] ข้อความย่อย[*] ข้อความย่อย[*] ข้อความย่อย
    </dir>
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Directory Tag</title>
    </head>
    <body>
    HARDWARE
    <dir>[*]ROM[*]RAM[*]CD-ROM[*]HardDisk
    </dir>
    </body>
    </html>




    การแสดงรายการแบบเมนูลิสต์ (MENU)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงรายการข้อมูลแบบแจกแจงเป็นข้อๆ ที่ไม่ซับซ้อน มีลักษณะคล้ายกับคำสั่ง
    • แต่มีซับซ้อนน้อยกว่า ใช้คำสั่ง <LI> เช่นเดียวกับคำสั่งอื่นๆ
      รูปแบบ
      <menu> ข้อความส่วนหัว
    • ข้อความย่อย
    • ข้อความย่อย
    • ข้อความย่อย
      </menu>
      ตัวอย่าง
      <html>
      <head>
      <title>Menu Tag</title>
      </head>
      <body>
      Software
      <menu>
    • Word
    • Excel
    • PowerPoint
    • Access
      </menu>
      </body>
      </html>




      การแสดงรายการแบบใช้ตัวเลข (Order List)
      คำอธิบาย
      การแสดงรายการแบบแจกแจงเป็นข้อๆ โดยใช้หมายเลขกำกับในการเรียงลำดับ โดยสร้างรายการจากคำสั่ง <LI> และยังสามารถกำหนดรูปแบบของหมายเลขกำกับได้ด้วยให้เป็นเลขอารบิก, เลขโรมัน หรือตัวอักษร
      รูปแบบ
      1. ข้อความส่วนหัว
      2. ข้อความย่อย
      3. ข้อความย่อย
      4. ข้อความย่อย

      ตัวอย่าง
      <html>
      <head>
      <title>Order List Tag</title>
      </head>
      <body>
      <h1>Order List</h1>
      1. Item One
      2. Item Two
      3. Item Three

      1. Item Four
      2. Item Five
        1. Item Six
        2. Item Seven

      </body>
      </html>




      การแสดงรายการโดยกำหนดหัวข้อ (Definition List)
      คำอธิบาย
      ใช้แสดงรายการแบบให้คำนิยาม โดยแบ่งองค์ประกอบเป็น 2 ส่วน ส่วนที่อยู่บนคือหัวข้อ (Definition Term) โดยใช้คำสั่ง <DT> ส่วนที่อยู่ล่างคือ คำอธิบาย (Definition Description) ใช้คำสั่ง <DD> โดยหากจะให้ ส่วนหัวข้ออยู่ทางซ้าย แล้วคำอธิบายอยู่ทางขวาก็ให้ใช้ attribute COMPACT ในกรณีที่รายการเป็นข้อความสั้นๆ
      รูปแบบ
      <dl> ข้อความส่วนหัว
      <dt> หัวข้อ <dd> คำอธิบาย
      <dt> หัวข้อ <dd> คำอธิบาย
      <dt> หัวข้อ <dd> คำอธิบาย

    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title>Definition Tag</title>
    </head>
    <body>
    <h1> Definition List</h1>
    <dl>
    <dt>com<dd>องค์การเอกชน (Commercial Organization)
    <dt>edu<dd>สถาบันการศึกษา (Education Organization)
    <dt>net<dd>องค์กรให้บริการเคลือข่าย (Network Organization)
    </dl>



    <dl compact>
    <dt>org<dd>องค์กรไม่แสวงผลกำไร (Non-Commercial Organization)
    <dt>gov<dd>องค์การของรัฐ (Government Organization)
    <dt>mil<dd>องค์กรทางทหราร (Millitary Organization)
    </dl>
    </body>
    </html>




    การสร้างตาราง


    การสร้างตาราง (TABLE)
    คำอธิบาย
    ใช้ในการสร้างตารางข้อมูล โดยจะมีคำสั่งที่ใช้ร่วมกันคือ คำสั่ง <TR> ในการสร้างแถวเซลล์ข้อมูล, คำสั่ง <TD> ในการสร้างเซลล์ข้อมูล, คำสั่ง <TH> ในการสร้างหัวตาราง
    รูปแบบ
    <table> .... </table>
    <table bgcolor="color"> .... </table> กำหนดสีพื้นในตาราง
    <table border="pixels"> .... </table> กำหนดขนาดของขอบตาราง
    <table width="pixels/%"> .... </table> กำหนดความกว้างของตาราง
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Table Tags </title>
    </head>
    <body>
    <table>
    <tr>
    <th>หัวข้อ</th>
    <th>หัวข้อ</th>
    <th>หัวข้อ</th>
    </tr>
    <tr>
    <td>ข้อมูล</td>
    <td>ข้อมูล</td>
    <td>ข้อมูล</td>
    </tr>
    <tr>
    <td>ข้อมูล</td>
    <td>ข้อมูล</td>
    <td>ข้อมูล</td>
    </tr>
    </table>
    </body>
    </html>



    การกำหนดข้อความกำกับตาราง (table CAPTION)
    คำอธิบาย
    ใช้แสดงคำอธิบาย หรือ ข้อความประกอบตารางไว้บนส่วนบนหรือส่วนล่างของตารางข้อมูล
    รูปแบบ
    <caption align=" top | bottom | left | right "> กำหนดตำแหน่งของคำอธิบายตาราง
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Table Tags </title>
    </head>
    <body>
    <table border>
    <caption align="bottom">ตารางรายรับรายจ่ายประจำเดือน</caption>
    <tr>
    <th>เดือน</th>
    <th>มกราคม</th>
    <th>กุมภาพันธ์</th>
    <th>มีนาคม</th>
    </tr>
    <tr>
    <td>รายรับ</td>
    <td>25000</td>
    <td>23000</td>
    <td>24500</td>
    </tr>
    <tr>
    <td>รายจ่าย</td>
    <td>21000</td>
    <td>22500</td>
    <td>23100</td>
    </tr>
    </table>
    </body>
    </html>



    การสร้างแถวของตาราง (Table Row)
    คำอธิบาย
    เป็นการสร้าง แถวเซล์ข้อมูล เพื่อไว้สร้าง เซล์ข้อมูล และ การสร้างหัวเรื่องของตาราง
    รูปแบบ
    <tr align=" left | center | right "> .... </tr> กำหนดตำแหน่งของข้อความ
    <tr bgcolor="color"> .... </tr> กำหนดสีของพื้นหลังในตาราง
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Table Tags </title>
    </head>
    <body>
    <table border>
    <tr align="center" bgcolor="green">
    <th>สินค้า</th>
    <th>โทรทัศน์</th>
    <th>วิทยุ</th>
    <th>ตู้เย็น</th>
    </tr>
    <tr align="right" bgcolor="orange">
    <td>ราคา</td>
    <td>7000</td>
    <td>1750</td>
    <td>9500</td>
    </tr>
    </table>
    </body>
    </html>



    การสร้างหัวเรื่องของตาราง (Table Heading)
    คำอธิบาย
    เป็นการสร้างเซลล์ หัวตาราง ซึ่งทำหน้าที่กำกับเซล์ข้อมูลในแนวคอลัมน์ที่กำหนด
    รูปแบบ
    <th align="left | right | center | justify | char"> .... </th> กำหนดตำแหน่งของข้อความในตารางตามแนวนอน
    <th valign="top | middle | bottom | baseline"> .... </th> กำหนดตำแหน่งของข้อความในตารางตามแนวตั้ง
    <th bgcolor="color"> .... </th> กำหนดสีพื้นของตาราง
    <th height="pixels | %"> .... </th> กำหนดความสูงของตาราง
    <th width="pixels | %"> .... </th> กำหนดความกว้างของตาราง
    <th rowspan="number"> .... </th> กำหนดการรวมช่องเซลล์ในแนวตั้ง
    <th colspan="number"> .... </th> กำหนดการรวมช่องเซลล์ในแนวนอน
    การสร้างเซลล์ข้อมูล (Table Data)
    คำอธิบาย
    ใช้สร้างเซลล์ข้อมูลเพื่อใช้ในการแสดงข้อมูลรายละเอียดต่างๆของเอกสาร
    รูปแบบ
    <td align="left | right | center | justify | char"> .... </td> กำหนดตำแหน่งของข้อความในตารางตามแนวนอน
    <th valign="top | middle | bottom | baseline"> .... </td> กำหนดตำแหน่งของข้อความในตารางตามแนวตั้ง
    <td bgcolor="color"> .... </td> กำหนดสีพื้นของตาราง
    <td height="pixels | %"> .... </td> กำหนดความสูงของตาราง
    <td width="pixels | %"> .... </td> กำหนดความกว้างของตาราง
    <td rowspan="number"> .... </td> กำหนดการรวมช่องเซลล์ในแนวตั้ง
    <td colspan="number"> .... </td> กำหนดการรวมช่องเซลล์ในแนวนอน
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Table Tags </title>
    </head>
    <body>
    <table border>
    <tr>
    <th colspan="2" bgcolor="#ffffe0">CPU</th>
    <th colspan="2">RAM</th>
    </tr>
    <tr>
    <td rowspan="2">Mhz</td>
    <td>450</td>
    <td>500</td>
    <td>550</td>
    </tr>
    <tr>
    <td>600</td>
    <td>700</td>
    <td>750</td>
    </tr>
    </table>
    </body>
    </html>

    การใส่รูปภาพ


    การใส่รูปภาพลงไปในเอกสาร (IMaGe)
    คำอธิบาย
    ใช้ในการแสดงรูปภาพกราฟฟิก โดยจะต้องเป็นไฟล์กราฟฟิกที่เว็บบราวเซอร์รู้จัก เช่น GIF,JPEG,XPM,XBM เป็นต้น
    รูปแบบ
    [img]url[/img]
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Image Tags</title>
    </head>
    <body>
    [img]love.jpg[/img]
    </body>
    </html>


    รูปแบบ (ต่อ)
    <img align="top | middle | bottom | left | right"> การกำหนดตำแหน่งให้กับรูปภาพ
    <img width="pixels"> การกำหนดความกว้างรูปภาพ
    <img height="pixels"> การกำหนดความสูงรูปภาพ
    <img border="number"> การกำหนดความสูงรูปภาพ
    <img hspace="number"> การกำหนดช่องว่างแนวนอนระหว่างรูปภาพกับข้อความ
    <img vspace="number"> การกำหนดช่องว่างแนวตั้งระหว่างรูปภาพกับข้อความ
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Image Tags</title>
    </head>
    <body>
    [img]love.jpg[/img]





    [img]love.jpg[/img]TEST IMAGE TAG
    </body>
    </html>



    การทำพื้นฉากหลัง (body BACKGROUND)
    คำอธิบาย
    การนำรูปภาพนำมาทำเป็น วอลเปเปอร์
    รูปแบบ
    <body background="url">
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Image Tags</title>
    </head>
    <body background="love.jpg">
    <h1>TEST Wallpaper</h1>
    </body>
    </html>


    การเชื่อมโยงเว็บเพจ


    การสร้างจุดเชื่อมโยง (A)
    คำอธิบาย
    ทำหน้าที่กำหนดข้อความหรือภาพกราฟฟิกที่อยู่ภายในให้ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น หรือข้อมูลชนิดต่างๆ
    รูปแบบ
    ....
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Image Tags</title>
    </head>
    <body>
    Click Here

    [img]love.jpg[/img]
    </body>
    </html>



    การกำหนดสีให้จุดเชื่อมโยง
    คำอธิบาย
    เป็นการกำหนดสีอักษรที่จุดเชื่อมโยง โดย
    • link คือสีจุดเชื่อมโยงที่ยังไม่ได้ทำการคลิ๊กเป้าหมาย
    • vlink คือสีจุดเชื่อมโยงที่ไปยังเป้าหมายแล้ว
    • alink คือสีจุดเชื่อมโยงที่ไปอยู่ขณะนั้น
    นอกจากนี้ยังมี
    • text สีตัวหนังสือธรรมดา
    • bgcolor คือสีพื้นหลังของเอกสาร
    รูปแบบ
    <body tag="color">
    ตัวอย่าง
    <html>
    <head>
    <title> Image Tags</title>
    </head>
    <body bgcolor="black" text="write" link="yellow" vlink="lime" alink="aqua">
    Click Here
    Click Here
    </body>
    </html>




  2. #2
    Junior Member
    Join Date
    Oct 2006
    Posts
    0


    ปัญหาโดน แฮกเวป หลายคนที่เปิดเวป ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า โดยแฮก หรือวาง IRC Bot

    ปัญหาที่ผมพบ คงพอจะช่วยท่านอื่นได้บ้าง

    เวปเรา อย่าชะล่าใจว่าระบบความปลอดภัยดีเยี่ยมนะครับ เพราะ บรรดาขา แฮก เค้ามุ่งมั่น และศึกษาอย่างเอาเป็นเอาตาย เพื่อเกียรติประวัติว่าข้าเก่ง
    และมีประวัติการแฮกได้เวปต่างๆมากมาย ซึ่งเอาจะเอาเกียรติประวัติไปเสนอเข้าทำงานในหน่วยรักษาความปลอดภัยของบริษัทที่ต้องการบุคลากรด้านนี้
    เช่น เพนตากอน ไมโครซอทพ์ ฯลฯ ซึ่งแฮกเกอร์ มักจะเป็นชาวต่างๆชาติ และที่ผมพบก็มักจะมาจาก อเมริกา ยุโรป

    ขั้นเบา ก็แค่วางไข่ หรือ IRC Bot เพื่อติดตั้งระบบ แชท ไว้บนเวปของเรา ซึ่งกว่าเราจะรู้ก็ตอน โหลดไฟล์จาก FTP มาเก็บไว้ที่เครื่องคอมของเรา และ
    โปรแกรม แอนตี้ไวรัส จะฟ้องว่าพบไวรัส และเราจะเห็น โฟลเดอร์ ที่ไม่พบในโปรแกรม FTP พร้อมระบบโปรแกรม IRC BOT ที่ถูกวางไว้
    BOT จะมีระบบสำหรับสั่งการบนเซิฟเวอร์ ยูนิกซ์ เสร็จสรรพ ทำให้คุณไม่เห็นโฟลเดอร์เหล่านี้ ไม่สามารถ ลบไฟล์และโฟลเดอร์เหล่านี้ออกได้
    ซึ่ง ชื่อที่จะทำให้โปรแกรม FTP มองไม่เห็น จะตั้งชื่อโดยมีจุดนำหน้า เช่น .psy .dat ฯลฯ

    ขั้นหนัก จะโดน แฮกหน้าเวปไปเลย เปลี่ยนหน้าเวปเราเป็นเวปอื่น ถ้าโดนขั้นนี้ ให้ติดต่อผู้บริการ เพื่อขอให้ ดู log file ว่า ip ที่มาใช้เปลี่ยนหน้าเวปเรา มาจากไหน
    แล้วรวบรวมข้อมูล และเซฟไว้เป็นหลักฐาน เพื่อแจ้งความดำเนินคดี หาก แฮกเกอร์ที่มาทำการ ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย ให้ส่ง email ไปยัง IPNIC ARIN SPAMCOP เพื่อแจ้งให้ทราบว่า
    IP นั้นๆ กระทำการเป็น แฮกเกอร์ และสร้างความเสียหายให้เวปคุณ แล้วให้ลอง เซ็ทค่า บล๊อก ip ตามวิธีที่ผมโพสต์ไว้ในกระทู้ใกล้ๆนี้ดู เพื่อห้าม ip นั้นๆเข้าเวปเราอีก

Similar Threads

  1. Basic HTML
    By topza1982 in forum PHP,ASP,Javascript, Html
    Replies: 5
    Last Post: 25-08-2008, 08:07 AM
  2. HTML 5 มีไว้เพื่อใคร?
    By jaynarol in forum ทิปหรือเคล็ดลับการคอมพิวเตอร์ต่างๆ
    Replies: 0
    Last Post: 02-04-2008, 08:07 AM
  3. แนะนำก่อนเขียนภาษา HTML
    By vista_98 in forum ธรรมะ พุทธศาสนา
    Replies: 1
    Last Post: 15-03-2008, 03:14 PM
  4. แนะนำ Html
    By A_nagatives in forum PHP,ASP,Javascript, Html
    Replies: 0
    Last Post: 15-10-2007, 06:22 PM
  5. All In One HTML Editors
    By orange_soi9 in forum Window Application
    Replies: 0
    Last Post: 11-09-2007, 05:08 PM

Members who have read this thread : 0

Actions : (View-Readers)

There are no names to display.

Tags for this Thread

Posting Permissions

  • You may not post new threads
  • You may not post replies
  • You may not post attachments
  • You may not edit your posts
  •