ช่วงสองสามวันที่ผ่านมาอ่าน blog ของ Satoru Takabayashi คนที่เขียน Namazu เหลือบเห็น icon ทางขวามือ Bad Knowhow เลยคลิ้กไปอ่าน. อ่านแล้วทำให้คิด, คิดแล้วก็เห็นว่าดีน่าเอามาเล่าสู่กันฟัง.
นาย Satoru เขียนไว้ว่า พอใช้คอมพิวเตอร์ไปก็ รู้สึกว่าทำไมมันต้องจำโน่นจำนี่เยอะแยะกว่าที่จะใช้ซอฟต์แวร์ให้คล่อง พวก knowhow แบบนี้มันเยอะเหลือเกิน. พวก knowhow พวกนี้ตอนแรกไม่ได้อยากจะรู้เลยและเขาเรียก knowhow พวกนี้ว่า Bad Knowhow. พวก Bad Knowhow เกิดมาจากข้อกำหนด (specification) ของซอฟต์แวร์ที่โยงใยมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันแบบว่าแก้ไขลำบาก. ที่เห็นได้ชัดคือซอฟต์แวร์บน UNIX ต่างๆเช่น TeX, emacs, sendmail ฯลฯ. พวกนี้จะเป็นซอฟตแวร์ที่มีประโยชน์มากแต่ในขณะเดียวกันก็มีความซับซ้อนอยู่ ภายใน ใช้ลำบาก. นี่ก็เป็นสาเหตุที่ทำพวก Bad Knowhow ทั้งหลายมีเอกสารเกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้ หรือข้อมูลบนเว็บเยอะ. เขายังเขียนไว้อีกว่า สิ่งที่ทำให้ซอฟต์แวร์เหล่านี้ใช้ยากก็มีหลายสาเหตุ ตั้งแต่คนสร้างโปรแกรมนั้นไม่มี sense บ้าง, เพิ่มความสามารถโน้นนี้จนซับซ้อนเกินเหตุ, ทำให้ซอฟต์แวร์ใช้ยาก. แต่ก็จะมีคนอยู่อีกพวกที่ใช้ซอฟตแวร์เหล่านี้คล่องแคล่วจนรู้สึกว่า โปรแกรมพวกนี้ลึกซึ้ง (ภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 奥が深い) จะมีความรู้สึกดีใจ ภาคภูมิใจที่ใช้ซอฟต์แวร์เหล่านี้ได้คล่องแคล่ว. เหมือนเป็นโรคชนิดหนึ่ง. ก็จะมีพวก mania เท่านั้นที่คลั่งไคล้อะไรแบบนี้. อืม... คิดไปคิดมา ผมคนหนึ่งล่ะที่อาจจะจัดอยู่ในพวกคนที่เป็นโรคนี้. ก็ยอมรับนะว่าโปรแกรมบางตัวนี่ใช้ยากจริงๆแต่พอใช้แล้วมันดีอะก็เลยใช้ถึง แม้มันจะใช้ยากก็ตาม ใช้ไปเรื่อยๆก็กลายเป็นชินไป. เรื่อง Bad Knowhow นี้เป็นเรื่องที่คุยกันเยอะมากแต่คงเฉพาะในญี่ปุ่นมั้ง ถึงขนาดมีการจัด Bad Knowhow conference ปีที่แล้วประมาณเดือนพฤษภาคม. หัวข้อก็คือทำอย่างไรให้พัฒนาการใช้คอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้น
ขาพูดถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ไว้โดยใช้สามเหลี่ยมอธิบายการพัฒนาซอฟต์แวร์ว่า แบ่งสามเหลี่ยมออกเป็น 3 ส่วนตามลำดับจากบนลงล่างคือ
**Hidden Content: To see this hidden content your post count must be 1 or greater.**
เนื้อหาที่เกี่ยข้อง:
* Knowhow ของ command line กับ GUI