[SIZE=3]มารู้จักระบบปฏิบัติการ MS-DOS ให้ถึงกึ๋น</span>
[hide=2]
ดอสหรือDosย่อมาจากDiskOperatingSystemระบบปฏิบัติซึ่งคือว่าเป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำ หน้าที่ควบคุมดูแลการทำหน้าที่ควบคุมดูแลการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์คอย จัดการ ประสานงานและควบคุมการทำงานต่าง ๆ ซึ่งพอจะสรุปหน้าที่ของดอสได้ 3 อย่าง คือ
1.จัดการอุปกรณ์ต่างๆให้ทำหน้าที่ประสานการทำงานระหว่างหน่วยรับข้อมูล (Input)และหน่วยแสดงผล(Output)และแป้นพิมพ์(Keybord),เครื่องขับดิสค์ (DiskDrive),จอภาพ(Monitor)และ
เครื่องพิมพ์(Printer)คอยดุและบันทึกข้อมูลบนดิสค์การสร้างประสิทธิภาพในการ จัดการข้อมูลซึ่งรวมถึงความเร็วและความเชื่อถือได้ในการค้นหาและเรียกใช้ ข้อมูล เป็นต้น
2.การควบคุมการทำงานของโปรแกรมเช่นการอ่านโปรแกรมหรือคำสั่งขึ้นมาจากดิสค์ เตรียมสิ่งต่างๆสำหรับให้โปรแกรมการทำงานและจัดพื้นที่ในหน่วยความจำกับ ดิสค์คอย
ถ่ายข่าวสารระหว่างดิสค์กับหน่วยความจำ
3.ปฏิบัติตามคำสั่ง นำคำสั่งที่ผู้ใช้ดอสรับเข้ามาไปทำการประมวลและปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ๆดังนั้นการที่ผู้ใช้เครื่องจะใช้งานประเภทใดก็ตาม ทั้ง Application Software หรือLanguageจะใช้งานไม่ได้เลยถ้าไม่มีการบรรจุชุดคำสั่งของดอสเข้าไปใน หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์เสียก่อน เพราะจะไม่มีการประสานงานหรือ ดูแลรักษาแฟ้มข้อมูลเมื่อมีดอสอยู่ในหน่วยความจำ แล้วเราสามารถใช้คำสั่งดอสจัดการทำสำเนา(Copy)ข่าวสารแผนบันทึกข้อมูลลง หน่วยจำของคอมพิวเตอร์และพร้อมที่จะทำงานตามที่ซอฟท์แวร์นั้นจะกำหนด และสามารถแยกประเภทของแฟ้มข้อมูลทำสำเนาแฟ้มข้อมูลลบแฟ้มข้อมูลที่ไม่ต้อง การเป็นต้นและถ้าไม่มีดอส อยู่ในหน่วย ความจำของเครื่องแล้วเราจะใช้งานซอฟท์แวร์ไม่ได้เลยปัจจุบันมีดอสอยู่หลาย ชื่อ แต่ละชื่อที่ตั้งขึ้นใช้ชื่อของบริษัทผู้เขียนซอฟท์แวร์ตัวนี้นำหน้าเช่น PC - DOS นี้เป็นดอสที่ใช้ กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์IBMเพื่อใช้ควบคุมระบบการทำงานและอีกชื่อหนึ่ง MS - DOS นี้ เป็นดอสของบริษัท ไมโครซอฟท์โดยใช้หลักการเดียวกันเพียงแต่ใช้ชื่อบางคำสั่งต่างกันเท่านั้น ดังนั้นเพียงแตผู้ใช้รู้จักดอสตัวใดตัวหนึ่งก็สามารถใช้งานอีก หนึ่งได้วิธีการ BOOT DOS1. COLD BOOT หมายถึงการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สวิทช์ POWER ให้ ON ครั้งแรก
WARM BOOT หมายถึงเป็นการบูทขณะเครื่งกำลังใช้งานอยู่ให้เครื่องเริ่มทำงานใหม่ซึ่งจะ บูทต่อเมื่อต้องการREBOOTเครื่องมือใหม่ในกรณีที่เครื่องมีปัญหาหรือเครื่อง ไม่ได้รับ
คำสั่งจากแป้นพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นใดเลย เพื่อที่จะลบสิ่งที่อยู่ในหน่วยความจำออก ให้หมด โดยการกดปุ่ม RESET ที่ตัวระบบ(SYSTEMUNIT)หรือถ้าเครื่องใดไม่มีปุ่มRESETให้กดปุ่ม3ปุ่มนี้พร้อมๆ กันคือ
CTRL + ALT + DEL
ส่วนประกอบของ DOS การที่เรียกดอสขึ้นมาให้งานได้นั้นจะต้องมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้คือ
1.บูทเรคอร์ด (BOOT RECORK) หลักจากที่เปิดเครื่องหรือบูทเครื่องใหม่โปรแกมในรอมไบออส(ROMBIOS)ของ เครื่องจะมีส่วนหนึ่งที่เรียกว่าBOOTSTARPLOADERเป็นตัวทำการอ่านข้อมูลของ
บูทเรคอร์ดเข้ามาทำงานซึ่งตัวบูทเรคอร์นี้มีหน้าที่แค่เพียง อ่านโปรแกรม ระบบของดอสตัวอื่น ๆ เข้าทำงานต่อจากตัวมันอีกทีม
2. IO.SYS หรือ IBMBIO.COM จะเป็นโปรแกรมระบบดอสที่ถูกบูทเรคอร์ดเรียกเข้ามาทำงานต่อ มีหน้าที่ติดต่ออุปกรณ์ ต่างๆ และขยายการใช้านอขงรอมไบออส สำหรับติดต่อกับอุปกรณ์ที่ต่อเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
3. MSDOS.SYS (MS - DOS) หรือ IBMDOS.COM (PC - DOS) โปรแกรมนี้จะถูกเรียกขึ้นมาหลังจาก IO.SYS หรือ IBMBIO.COM อีกที หน้าที่หลักของโปรแกรมนี้นับว่าเป็นหัวใจของดอสทีเดียว คือ จัดการเกี่ยวกับระบบไฟล์และดิสค์
4. COMMAND.COM เป็นโปรแกรมของดอสมีหน้าที่สำคัญคือ ติดต่อกับผู้ใช้ทาง COMMAND PROMPT ทำการแปลคำสั่งที่ผู้ใช้พิมพ์เข้าไป แล้วนำไปทำงาน และเมื่อคำสั่งนั้นมีการติดต่อกับอุปกรณ์ก็ไปเรียกรูทีนใน MSDOS.SYS หรือ IBMDOS.COM ใช้เป็นที่เก็บคำสั่งภายในของ Dos เช่น Dir , Del เป็นต้น จัดลำดับความสำคัญของคำสั่ง คือ มีลำดับสูงสุดดังนี้ คำสั่งภายใน คำสั่งภายนอก ที่เป็นโปรแกรมที่มีนามสกุล .Com , .Exe และ .Bat ตามลำดับ ทำหน้าที่ในการอ่านคำสั่งภายนอกเข้ามาในหน่วยความจำ และส่งการควบคุมให้โปรแกรมนั้นทำงานเมื่อโปรแกรมนั้นทำงาน จบก็จะส่งการควบคุมคืนกลับมายังดอสอีกที
ประเภทคำสั่งของดอส จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. คำสั่งภายใน (Internal Command) เมื่อเปิดเครื่องไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม คำสั่งชนิดนี้จะถูกอ่านเข้าไปในหน่วยความจำในส่วนของ Ram เมื่อเวลาต้องการให้คำสั่งเหล่านี้สามารถเรียกใช้จากหน่วยความจำได้เลยโดย ไม่ต้องเรียกใช้จากแผ่นดอส เช่น Date , Time , Dir , Del
2. คำสั่งภายนอก (External Command) เป็นคำสั่งที่เป็นโปรแกรมเก็บไว้ในแฟ้ม (File) ซึ่งจะอยู่ในดอสเวลาจะเรียกใช้คำสั่งจะต้องเรียกใช้แผ่นดอส คำสั่งนี้จะถูกอ่านเข้าสู่หน่วยความจำส่วนของ Ram ในขณะที่ใช้งาน เมื่อได้ผลลัพธ์ แล้วคำสั่งนี้จะถูกลบออกจากหน่วยความจำทันที เมื่อต้องการจะใช้อีกต้องเรียกใช้จากแผ่นใหม่อีกครั้งเช่นคำสั่ง Format , Diskcopy , CHKDSK ฯลฯ สั้นๆ เท่านั้นสำหรับคำสั่งที่จะกล่าวถึงนี้จะขอจัดเรียงตามลำดับความสำคัญในการ ใช้งานดัวนี้คือคำสั่งใน DOS
คำสั่งภายใน (Internal Commands)
คำสั่ง หน้าที่
Date ขอดูวันที่ปัจจุบัน และตั้งวันที่ใหม่
Time ขอดูเวลาปัจจุบัน และตั้งเวลาใหม่
Dir ขอดูรายชื่อไฟล์และไดเร็กทอรี่
Copy ทำสำนาไฟล์
Ren เปลี่ยนชื่อไฟล์
Del หรือ ERASE ลบไฟล์
Type พิมพ์ข้อมูลหรือข้อความที่อยู่ในไฟล์ออกมาดู
VOL แสดงชื่อและหมายเลยประจำแผ่น
VER แสดงเวอร์ชั่นของ MS - DOS
CLS ลบข้อความบนจอภาพทั้งหมด
MD หรือ MKDIR สร้างไดเร็กทอรี่
CD หรือ CHDIR ย้ายไดเร็กทอรี่
RD หรือ RMDIR ลบไดเร็กทอรี่
PROMPT เปลี่ยนเครื่องหมายพร้อมของ MS - DOS
ส่วนประกอบของ Dosการเรียกใช้ Dos
การเรียกใช้ดอส (BOOT) นั้นสามารถเรียกได้จาก Drive A : หรือ Drive C: (ฮารด์ดิสค์) ก็ได้ ซึ่งดิสค์นั้นจะต้องมีส่วน ประกอบของดอสครบถ้วน มิฉะนั้นจะไม่สามารถใช้งานดอสขึ้นมาได้ กรณีที่บูทจาก A: ต้องนำแผ่นดอสมาใส่ที่ Drive A: การอ่านระบบจากแผ่นที่ Drive นี้ แต่ถ้าต้องการบูทจาก Drive C: ก็ไม่ต้องใช้แผ่นดอสอีกแล้วเพราะใน Drive C: จะมี System อยู่แล้วนั้นเอง เมื่อเครื่องทำการอ่านระบบเข้าสู่หน่วยความจำเรียบร้อยแล้วก็จะแสดงเครื่ง หมายอย่างหนึ่งซึ่งจอภาพเพื่อบอกให้ผู้ใช้ รู้ว่าพร้อมที่จะทำงานต่อไป เมื่อบูทเครื่องที่ Drive A: ส่วนประกอบต่าง ๆ ของดอสจะถูกอ่านเข้าไปเก็บไว้ในส่วนของแรมเสร็จแล้วก็จะ มีข้อความปรากฎบนหน้าจอดังนี้CURRENT DATE IS SAT 10.17.1999ENTER NEW DATE (MM.DD.YY):-คอมพิวเตอร์จะรอให้ป้อนวันที่เข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงวันที่ ปัจจุบัน ถ้าไม่ต้องการเปลี่ยนก็ให้กด ENTER ข้ามไปเลย เครื่องก็จะไปถาม เวลาต่อไป
ดังนี้
CURRENT DATE IS SAT 10-17-1999
ENTER NEW DATE (MM- DD- YY) :
CURRENT TIME IS 09 :18 :15.43 ENTER NEW TIME :-
Micorsoft