สำหรับคำว่าธรรมกายที่เป็นชื่อวัด ดูที่ วัดพระธรรมกาย
ธรรมกาย (สันสกฤต: धर्म काय) หมายถึง ผู้มีธรรมเป็นกาย เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่าพระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วย พระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งพระธรรมอันปรากฏเปิดเผยอ อกมาแก่ชาวโลก หรืออีกความหมายหนึ่ง ธรรมกาย คือ กองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรม ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคาให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน
เนื้อหา
[ซ่อน]
* 1 ข้อความที่กล่าวถึง ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก
* 2 ความหมายโดยพระมงคลเทพมุนี
* 3 ธรรมกายในนิกายต่างๆ
* 4 อ้างอิง
[แก้] ข้อความที่กล่าวถึง ธรรมกาย ในพระไตรปิฎก
...พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกันพากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตรดังนี้เถิด ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระเกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต...
จากอัคคัญญสูตร พระไตรปิฏก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
...นักปราชญ์เหล่าใดเจริญสุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ และอัปปณิหิตวิโมกข์ ไม่บรรลุความเป็นพระสาวกในศาสนาพระชินเจ้า นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นพระสยัมภูปัจเจกพุทธเจ้า มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก มีจิตเป็นอิสระ ข้ามห้วงทุกข์ ทั้งมวลได้ มีจิตโสมนัส มีปกติเห็นประโยชน์อย่างยิ่ง...
จากปัจเจกพุทธาปทานที่ ๒ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
...ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว...
จากมหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทานที่ ๗ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
พระธรรมกาย โดย พระมงคลเทพมุนี
พระธรรมกาย โดย พระมงคลเทพมุนี
[แก้] ความหมายโดยพระมงคลเทพมุนี
พระมงคลเทพมุนี(สด จันทสโร) แห่งวัดปากน้ำภาษีเจริญ ผู้ซึ่งได้ค้นคว้าและปฏิบัติวิปัสสนาจนมีชื่อเสียงท่านหนึ่งของประเทศไทย ได้อธิบายความหมายว่า "ธรรมกาย คือ กายแห่งการตรัสรู้ธรรม" ซึ่งกายนี้มีอยู่แล้วในตัวมนุษย์ทุกคน ซึ่งธรรมกายจะมีมีลักษณะใสเป็นแก้วเป็นเพชร สะอาด บริสุทธิ์ ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษครบถ้วน ๓๒ ประการ
[แก้] ธรรมกายในนิกายต่างๆ
"ธรรมกาย"คำนี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของพระพุทธศาสนาทุกนิกายทั้งเถรวาท มหายาน และวัชระยาน โดยบางคนอธิบายว่า ธรรมกายนั้นถือเป็น"พุทธภาวะ" พระมหาเถระอิ้นสุ่นที่มีชื่อเสียงมากในวงวิชาการแห่งไต้หวันได้กล่าวไว้ใน หนังสือ佛法概論(พุทธธรรมวิภาค)ที่ท่านเรียบเรียงไว้ว่า การที่เจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เพราะท่านบรรลุ ธรรมกายซึ่งเป็นพุทธภาวะนั่นเอง
ในมหายานกล่าวว่าธรรมกายเป็น กายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เป็นแก่นแท้ เป็นสัจจธรรม ที่ดำรงอยู่ไม่มีวันสลาย ธรรมกายจัดเป็นนิจจัง สุขขัง ศูนยตา และบริสุทธิ์ อีกทั้งธรรมกายยังสัมพันธ์กับเรื่องราว ของ ตถาคตครรภ์ ,พุทธภาวะ และรัตนทั้งสาม คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ
บางคัมภีร์กล่าวถึงธรรมกายว่า มีลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ ( 法身有相-32相) บางตำรากล่าวว่า ธรรมกายไร้รูป (法身無相)
[แก้] อ้างอิง
* พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต))
* อัคคัญญสูตร (1,2)
* ปัจเจกพุทธาปทาน (1,2)
* มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน (1,2)
**Hidden Content: To see this hidden content your post count must be 1 or greater.**
:P :P