พระพุทธเจ้าได้เสด็จประกาศพระศาสนาตามแคว้นและเมืองต่างๆ เป็นเวลา ๔๕ พรรษา นับตั้งแต่ตรัสรู้
เป็นต้นมา พรรษาที่ ๔๕ จึงเป็นพรรษาสุดท้ายของพระพุทธเจ้า และเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนมายุ
ได้ ๘๐ ปี
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่เวฬุคามแขวงไพศาลี ทรงพระชวรมาก พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอภาสนิมิต
แก่พระอานนท์ว่า "อิทธิบาท 4 " ถ้าผู้ใดบำเพ็ญได้เต็มเปี่ยมแล้วสามารถจะต่ออายุยืนยาวไปได้อีกกำหนด
ระยะเวลาหนึ่ง
บัดนี้พระอานนท์ได้รู้สึกว่าพระพุทธองค์กำลังจะทรงละจากไป จึงมีความโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง จนไม่
สามารถจะอดกลั้นได้ พระพุทธองค์ทรงลืมพระเนตรขึ้นไม่เห็นพระอานนท์อยู่ ณ ที่นั้น ดังเช่นเคย ก็ตรัสถาม
ภิกษุอื่นๆ ซึ่งนั่งอยู่ใกล้พระองค์ว่า "พระอานนท์ไปไหน" ภิกษุทูลตอบว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระอา
นนท์ได้หลบไปร้องไห้อยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งรำพันอยู๋ว่า ท่านยังเป็นผู้ต้องศึกษายังไม่บรรลุธรรมอันสูงสุด และ
พระศาสดาผู้ทรงมีพระเมตตาอยู่ตลอดเวลานั้นกำลังล่วงลับไป พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุ ทานจงไป
บอกพระอานนท์ว่าพระศาสดารับสั่งให้หาดังนี้"
ภิกษุนั้นได้ไปบอกพระอานนท์ พระอานนท์ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์และนั่งอยู่ข้างๆ อย่างใกล้ชิด พระพุทธ
องค์ได้ตรัสแก่ท่านว่า " พอกันทีเถิดอานนท์ , อย่าเศร้าโศกเลย อย่าร้องไห้เลย เราได้บอกแก่พระอานนท์
หลายครั้งหลายหนแล้ว มิใช่หรือ ว่าวันหนึ่งเราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจของเรา ดูก่อนอานนท์ ,
สิ่งนี้จะต้องมีเป็นเที่ยงแท้ ไมมีทางป้องกันแก้ไขได้เลย มันจะเป็นไปได้อย่างไรกัน ในการที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิด
ขึ้นมาแล้วจะไม่ดับไป ความปรารถนาเช่นนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดูก่อนอานนท์ , เป็นเวานานมาแล้วที่อา
นนท์เฝ้าอุปัฏฐากเราด้วยความพากเพียตอย่างเต็มที่ ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางจิต ด้วยความรัก ด้วย
ความเต็มใจด้วยความซื่อสัตย์ อานนท์ได้ทำแล้วเป็นอย่างมาก และเพียงพอแล้ว ต่อไปนี้จงบากบั่นจงตั้ง
หน้าทำลายสิ่งกีดขวางต่อการบรรลุความเป็นพระอรหันต์ของตนเอง ในเวลาไม่นานเลยอานนท์จักลุถึงความ
สำเร็จอันนั้น"
คำว่า "โอภาสนิมิต" แปลเป็นภาษาชาวบ้านว่า "บอกใบ้" คือ พระพุทธเจ้ามีพระชนมายุจะสิ้นสุดในปีที่
กล่าวนี้ จึงทรงบอกใบ้ให้พระอานนท์กราบทูลอารธนาให้พระพุทธเจ้า ทรงมีพระชนมายุยืนยาวต่อไปอีกระยะ
หนึ่งแต่พระอานนท์นึกไม่ออกทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกใบ้ถึง ๓ หน
เมื่อพระอานนท์นึกไม่ออกเช่นนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสบอกพระอานนท์ให้ไปนั่งอยู่ที่ใต้ร่มไม้อีกแห่งหนึ่ง
แล้วมารก็เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า กราบทูลให้พระพุทธเจ้าให้เสด็จนิพพาน พระพุทธเจ้าทรงรับคำแล้วทรงปลง
อายุสังขาร
คำว่า " อายุสังขาร" แปลเป็นภาษาสามัญได้ว่า "กำหนดวันตายไว้ล่วงหน้า วันนั้นเป็นวันเพ็ญเดือน ๓
พระพุทธเจ้าตรัสว่า นับจากนี้ไปอีก ๓ เดือนข้างหน้า (กลางเดือนหก) พระองค์จะนิพพานที่เมืองกุสินารา
ในขณะนั้นมีปริพาชก เป็นนักบวชผู้จาริกคนหนึ่งนามว่า สุภัททะ พักอยู่ในเมืองกุสินารานั้น เมื่อเขาทราบ
ว่าพระพุทธองค์กำลังจะปรินิพพานในคืนนี้ ก็ตั้งใจจะไปเฝ้าพระพุทธองค์โดยทันที เพื่อถามปัญหาบางประการ
ซึ่งทำความยุ่งยากให้แก่เขาในขณะนั้น เขาเชื่อว่าพระพุทธองค์เท่านั้นที่จะสามารถแก้ปัญหานี้ให้กระจ่างได้
ดังนั้น นักบวชชื่อ สุภัททะได้ไปที่ป่าไม้สาละ และขออนุญาตกับพระอานนท์เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูล
ถามปัญหาของเขา ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพาน
พระอานนท์ได้ตอบแก่เขาว่า " อย่าเลย สุภัททะ พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงอิดโรยเป็นอย่างยิ่ง อย่า
รบกวนเลย" พระพุทธองค์ได้ทรงฟังเสียงของคนทั้งสองจนทราบความประสงค์ของนักบวชชื่อ สุภัททะ จึงรับ
สั่งให้พระอานนท์มาแล้วตรัสว่า "ดูก่อน อานนท์ เธออย่าห้ามท่านสุภัททะเพื่อไม่ให้เข้ามาหาเราเลย" พระอา
นนท์ได้ยินจึงยอมให้เข้าไป เมื่อสุภัททะได้กล่าวถ้อยคำแสดงความเคารพและทำความคุ้นเคยกับพระองค์พอ
สมควรแล้ว ได้กล่าวถามปัญหาต่อหน้าพระองค์ว่าจนเกิดความกระจ่างแจ้ง นักบวชชื่อ "สุภัททะ" ได้ทูล
ขอบวชเป็นภิกษุ พระพุทธองค์ได้ประทานโอกาสและตรัสสั่งให้พระอานนท์ประกอบการอุปสมบทให้แก่เขา
โดยเหตุนี้ "สุภัททะ" จึงเป็นภิกษุผู้บวชเป็นองค์สุดท้าย
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงปลงอายุสังขาร คือ ทรงประกาศกำหนดวันจะเสด็จนิพพานไว้ล่วงหน้าถึง ๓ เดือน
พลันก็ยังเกิดอัศจรรย์แผ่นดินไหว ผู้คนที่ได้ทราบข่าวต่างเกิดขนลุก ปฐมสมโพธิว่า กลองทิพย์ก็บันลือลั่นไป
ในอากาศ พระอานนท์ประสบเหตุอัศจรรย์นั้น จึงออกจากร่มพฤกษาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วทูลถามถึงเหตุ
เกิดอัศจรรย์ คือ แผ่นดินไหว พระพุทธเจ้าจึงตรัสกับพระอานนท์ว่า เหตุที่จะเกิดแผ่นดินไหวนั้นมี ๘ อยางคือ
๑. ลมกำเริบ
๒.ผู้มีฤทธิ์บันดาล
๓.พระโพธิสัตว์ (ผู้มีบุญจุติจากสวรรค์ลงมาเกิด)
๔.พระโพธิ์สัตว์ประสูติ
๕.พระพุทธเจ้าตรัสรู้
๖.พระพุทธเจ้าตรัสปฐมเทศนา
๗.พระพุทธเจ้าปลงอายุสังชาร
๘.พระพุทธเจ้านิพพาน
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า ที่เกิดแผ่นไหวในวันนี้ เกิดจากพระองค์ทรงปลงอายุสังขาร พอได้
ฟังดังนั้น พระอานนท์นึกได้คือ พระพุทธเจ้าเคยตรัสบอกตนว่า ธรรมะ ๔ ข้อที่เรียกว่า "อิทธิบาท ๔" คือ
๑. ความพอใจ
๒. ความเพียร
๓. ความฝักใฝ่
๔. ความไตร่ตรอง
ถ้าผู้ใดได้บำเพ็ญให้เต็มเปี่ยมแล้วปรารถนาจะให้ชีวิต ซึ่งถึงกำหนดดับหรือตายได้มีอายุยืนยาวต่อไป
อีกระยะหนึ่งก็ย่อมทำได้
พอพระอานนท์นึกได้ จึงกราบทูลอารธนาพระพุทธเจ้า ให้ทรงใช้อิทธิบาท ๔ นั้น เพื่อต่อพระชนมายุ
ยืนยาวต่อไปอีก พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธแล้วตรัสว่า พระองค์เคยทรงแสดงโอภาสนิมิต (บอกใบ้)ให้พระอา
นนท์ทูลอารธนาพระองค์ให้มีพระชนมายุสืบไปอีกก่อนหลายครั้ง และหลายแห่งแล้ว ซึ่งถ้าพระอานนท์นึกได้
แล้วทูลอารธนาพระองค์ก็จะทรงรับคำอารธนา เพื่อต่อพระชนมายุออกไปอีก ว่าอย่างสามัญก็ว่า พระพุทธเจ้า
บอกพระอานนท์ว่า "สายเสียแล้ว" เพราะพระองค์ได้ประกาศปลงอายุสังขารว่านะนิพพานเสียแล้ว
หลังจากพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคำทูลอารธนาของพระอานนท์ เรื่องให้ทรงต่อพระชนมายุออกไปอีก
ระยะหนึ่ง อย่าเพิ่งนิพพานเลย แล้วพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์เสด็จไปยังกุฏาคารศาลาในป่ามหาวัน
แขวงกรุงไพศาลี
มีชายผู้หนึ่งนามว่า "ปุกกุสะ" ผู้เป็นบุตรของมัลลกษัตริย์เดินทางมาจากเมืองกุสินาราจะไปยังเมืองปา
วามาถึงตรงที่พระพุทธเจ้าประทับหยุดพัก จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้เขาฟังเกี่ยวกับเรื่อง
ธรรมอันเป็นสันติ ปุกกุสะฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสจึงถวายผ้าสิงคิวรรณสองผืนแด่พระพุทธเจ้า ผ้าสิงคิวรรณ
คู่นี้ผืนหนึ่งสำหรับห่ม อีกผืนหนึ่งสำหรับนุ่ง เป็นพิเศษเนื้อเกลื้อง ตัวเขาเคยนุ่งห่มเป็นครั้งคราวเขาได้เก็บรัก
ษาไว้ แต่บัดนี้ จะขอถวายพระพุทธเจ้าทรงรับผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งทรงบอกให้ปุกกุสสะนำไปถวายพระอานนท์
ชายผู้นี้ได้ทำตามพุทธประสงค์ กราบถวายอภิวาทพระบาทพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงนุ่งผืนหนึ่งและห่มอีก
ผืนหนึ่ง พอพระพุทธเจ้าทรงนุ่งและห่มผ้าสิงคิวรรณแล้ว ปรากฏว่า พระวรกายของพระพุทธเจ้าฉายรัศมีเปล่ง
ปลั่งและผุดผ่องผิดปกติยิ่งกว่าครั้งใดๆที่พระอานนท์เคยเห็นมา พระอานนท์จึงกราบทูลกับพระพุทธเจ้าว่าเป็น
ที่น่าอัศจรรย์มาก
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพระอานนท์ว่า พระวรกายของพระองค์มีพระรัศมีเปล่งปลั่งผิดปกติ มีอยู่สองครั้ง
เท่านั้น ครั้งหนึ่งเมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ อีกครั้งคือ เมื่อก่อนวันที่จะนิพพาน คือวันนี้ แล้วตรัสว่า
" ดูก่อนอานนท์ สิ้นสุดคืนนี้ เราจักนิพพานแล้ว มาเดินทางต่อไปยังกุนารากันเถิด"
ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จนิพพานนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงตั้งพระสาวกองค์ใดให้รับตำแหน่งเป็นพระ
ศาสดาปกครองพระสงฆ์สืบต่อจากพระองค์เหมือนศาสดาในศาสนาอื่น พระพุทธเจ้าก็ตรัสสั่งพระสงฆ์ไว้ชัดเจน
ก่อนจะนิพพานว่าพระภิกษุรูปใดอย่าเข้าใจผิดว่าเมื่อพระองค์นิพพานแล้วศาสนาพุทธหรือคำสั่งสอนของพระองค์
จักไร้พระศาสดาตรัสบอกพระอานนท์ว่า " ดูก่อนอานนท์ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราได้แสดงไว้และบัญญัติไว้
ด้วยดีนั่นแหละจักเป็นพระศาสดาของพวกท่านสืบแทนเราตถาคตเมื่อเราล่วงไปแล้ว"
ครั้นแล้ว พระพุทธเจ้าเป็นปัจฉิมโอวาทครั้งสุดท้ายว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกท่านให้
รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความเสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่อันเป็นประโยชน์
แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด"
หลังจากนั้นไม่ได้ตรัสอะไรอีกเลย จนกระทั่งนิพพานในเวลาสุดท้ายของคืนวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖
หรือ วันเพ็ญวิสาขะ ณ. ภายใต้ต้นสาละทั้งคู่ที่ออกดอกบานสะพรั่งเป็นพุทธบูชานั่นเอง
เมื่อพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว ทางคณะสงฆ์และทางบ้านเมือง คือ เจ้ามัลลกษัตริย์ ผู้ครองเมืองกุสินา
ราได้ทำพิธีสักการะบูชาพระศพพระพุทธเจ้าอยู่เป็นเวลาถึง ๖ วัน ในวันที่ ๗ จึงเชิญพระศพเป็นขบวนไปทาง
ทิศเหนือของเมือง วันที่กำหนดจะถวายพระเพลิงนั้น ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ ซึ่งทุกวันนี้ทางเมืองไทย
เราถือเป็นวันสำค้ญวันหนึ่งเรียกว่า "วันอัฐมีบูชา"
ภายหลังจากนั้น เพลิงได้ไหม้พระสรีระของพระพุทธเจ้าจนหมดสิ้น เหลืออยู่แต่พระอัฐิ พระเกศา
พระทนต์และผ้าอีกคู่หนึ่ง พระพวกมัลลกษัตริย์ได้นำน้ำหอมหลั่งลงดับถ่านไฟที่จิตกาธาน แล้วเชิญพระบรม
สารีริกธาตุไปประดิษฐานไว้ที่สัณฐาคารศาลา
ข่าวพระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองกุสินารา ได้แพร่ไปถึงบรรดาเจ้านครแห่งแคว้นต่างๆ บรรดาเจ้านคร
เหล่านั้นจึงได้ส่งคณะทูตรีบรุดยังเมืองกุสินาราพร้อมด้วยพระราชสาส์น
คณะทูตทั้งหมดมี ๗ คณะมาจาก ๗ นคร ในพระราชสาส์นนั้นมีความว่า เจ้านครทั้ง ๗ มาขอส่วน
แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำไปบรรจุในสถูปให้เป็นที่สักการะบูชาไว้ที่นครของตน พวกเจ้ามัลลกษัตริย์
ตอบปฏิเสธแข็งขันไม่ยอมให้ โดยอ้างเหตุผลว่า พระพุทธเจ้านิพพานที่เมืองของตน พระบรมสารีริกธาตุจึงเป็น
สมบัติของเมืองนี้เท่านั้น การแย่งพระบรมสารีริกธาตุก็ทำท่าจะเกิดขึ้น แต่พอดีท่านผู้หนึ่งซึ่งชื่อ "โทณพรา
หมณ์" ได้ระงับสงครามไว้เสียก่อน ตามประวัติแจ้งว่าเป็นผู้เฉลียวฉลาดในการพูด ได้ปราศรัยให้ที่ประชุมฟัง
ว่า
"พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงสรรเสริญขันติธรรม และสามัคคีธรรม แล้วเราทั้งหลายจะมาทะเลาะวิวาท ทำ
สงครามกันเพราะพระบรมสารริกธาตุเป็นเหตุทำไม มาแบ่งกัน ให้ได้เท่าๆ กันดีกว่า พระบรมสารีริกธาตุจักได้
แพร่หลายและเป็นประโยชน์แก่มหาชนทั่วโลก"
ในที่ประชุมเลยตกลงกันได้ โทณพราหมณ์จึงทำหน้าที่ แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๘ ส่วนโดย
ใช้ "ตุมพะ" คือ ทะนานทองเป็นเครื่องตวง ให้เจ้านครทั้ง ๗ คนละส่วนเป็น ๗ ส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเจ้า
นครกุสินารา แล้วเจ้านครทั้งหมด ต่างอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุนั้น ใส่ผอบนำไปบรรจุสถูปยังเมืองของแต่
ละคน ฝ่ายโทณพราหมณ์ผู้ทำหน้าที่แบ่ง ได้ขอเอาทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุนั้นไปเป็นที่ระลึก แล้วนำ
ไปบรรจุไว้สถูปต่างหาก การแจกพระบรมสารีริกธาตุก็เสร็จสิ้นลง
หลังจากพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว สาวกของพระองค์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์และมิใช้อรหันต์
ได้ช่วยกันเผยแพร่กระแสพระพุทธวจนะ ไปจนทั่วประเทศอินเดีย จนกระทั่งถึงประเทศอียิปต์ ประเทศธิเบต
ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศชาวา และหมู่เกาะในทะเลใต้ จนกระทั่งถึงทุกวันนี้เป็นเวลา ๒,๕๐๐
กว่าปีมาแล้ว หนึ่งในสามของมนุษย์ที่อาศัยในโลก ได้เอ่ยพระนามของพระองค์ด้วยความเคารพอย่างสูงสุดว่า
พระองค์เป็นพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระศาสดาผู้สั่งสอนเทวดาและมนุษย์
ด้วยเรื่องแห่งนิพพานและหนทางปฏิบัติเพื่อลุถึงนิพพานนั้น