จนถึงวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๒ พระพุทธเจ้าได้ทรงดำรัสให้พระภิกษุซึ่งล้วนเป็นอรหันต์ทั้งสิ้น มีจำนวน
๖๐ รูป ให้ไปแสดงธรรมแก่ผู้คนโดยให้แยกกันไปในแต่ละแห่ง แห่งละรูป รุ่งขึ้นวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒
พระสาวก ๖๐ รูป ส่วนพระพุทธเจ้าเสด็จกลับมายังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ซึ่งเคยเป็นสถานที่ประทับตรัสรู้
แล้วเสด็จตามลำพังไปยังสำนักของนักบวชใหญ่แห่งหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ชฏิลสามพี่น้อง" โดยประกาศจนเป็นผู้
วิเศษเป็นพระอรหันต์บำเพ็ญพรตบูชาไฟ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงและตรัสขอพักอาศัยในโรงไฟ ซึ่งพวก
ชฏิลถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอันตรายเพราะภายในโรงไฟมีพญานาคซึ่งมีพิษร้าย อาศัยอยู่ในนั้นเมื่อ
เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้าไปประทับในโรงไฟครั้นพอรุ่งเข้าพญานาคนั้นขดกายลงในบาตร นาคนี้สิ้นฤทธิ์ด้วย
เดชแห่งตถาคต หรือเมื่อเกิดน้ำท่วมใหญ่พระพุทธเจ้าเดินจงกรมอยู่ภายใต้ท้องน้ำ พระองค์ทรงใช้เวลาสอง
เดือนในกลับใจพวกชฏิลด้วยพุทธานุภาพและประจักษ์เห็นกับตาของพวกชฏิล และยอมตนเป็นพระสาวกและ
สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ขณะนี้พระองค์มีนักบวชเป็นพระสาวกเพิ่มขึ้นใหม่อีก ๑,๐๐๐ รูป
จากนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธและแคว้นอังคะ มีผู้ปกครอง
พระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมเมื่อจบลงมีชาวเมืองจำนวนมากเป็นพุทธศาสนิก
ชน รวมทั้งพระเจ้าพิมพิสารด้วยนั้น ได้สำเร็จโสดาบันแล้ว ได้ทูลอารธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสาวก
จำนวน ๑,๐๐๐ รูปให้เสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระพุทธเจ้าและพระสาวกฉันท์อิ่มแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารจึงทูลว่า พระราชอุทยานสวนไม้ไผ่หรือเวฬุวันของพระองค์ตั้งอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมือง
ไปมาก็สะดวก เวลากลางวันไม่พลุกพล่าน (ผู้คน) กลางคืนก็สงบ สมควรเป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าและ
พระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้ารับด้วยอาการดุษฏี (ดุษฏี คือ นิ่ง แปลว่า รับได้ ) พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงหลั่งน้ำ
จากพระเต้าลงบนพระหัตถ์พระพุทธเจ้า และถวายเวฬุวันวนารามให้เป็นวัดพุทธศาสนาแห่งแรกในโลกปฐมสม
โพธิ พระเจ้าพิมพิสารไม่ได้ทรงอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระญาติที่ล่วงลับไปแล้ว ปฐมสมโพธิจึงว่า ในคืนวันนั้น
พวกเปรตซึ่งเคยเป็นพระญาติของพระเจ้าพิมพิสารได้ส่งเสียงดังอื้ออึงขึ้นในพระราชนิเวศน์และให้เห็นเป็นตัว
ตน ( ตามนิยยายธรรม )เล่าว่าเปรตเหล่านี้ เมื่อ ครั้งยังเป็นมนุษย์เคยลักลอบกินของที่ผู้คนได้นำมาถวายแด่
พระสงฆ์ เมื่อตายไปแล้วจึงตกนรกแล้วกลายเป็นเปรต
ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าพิมพิสารจึงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงถวายอาหารและจีวรแก่พระพุทธเจ้า และพระ
สงฆ์ จากนั้นจึงหลั่งน้ำอุททิโสทกว่า "อิทัง โน ญาตีนัง โหตุ " แปลว่า ขอกุศลผลบุญครั้งนี้จงไปถึงญาติ
พี่น้องของข้าพเจ้าด้วยเทอญ เปรตเหล่านั้นจึงได้รับผลบุญกุศลกันและพ้นจากความทุกข์ทรมาร การหลั่งน้ำ
ในที่นี่เรียกตามภาษาสามัญว่า "กรวดน้ำ"หรือ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า "อุททิโสทก" แปลว่า กรวดน้ำ ส่วนคำ
ว่ามอบถวาย ใช้ในกรณีถวายของใหญ่โตที่ไม่อาจยกประเคนใส่มือพระได้ เช่น ที่ดิน วัด เป็นต้น ส่วนการ
กรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสารนี้เรียกว่า "ทักษิโณทก" แปลว่า กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศล ผู้รับก็ไม่เห็นเพราะเป็นคน
ที่ตาย
กล่าวถึงสญชัยซึ่งเป็นศาสดาปริพาชกที่มีชื่อเสียงมากผู้หนึ่งในแคว้นมคธมีลูกศิษย์คือ โมคคัลลาน์ ,
สารีบุตร เป็นผู้ศึกษาหาความรู้ทางพ้นทุกข์ แต่ครั้นศึกษาจบแล้วเห็นว่ายังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์จึงลาอาจารย์
สญชัยออกแสวงหาความรู้ใหม่จึงได้มาพบพระอัสสชิ ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ พอรู้ว่าพระ
พุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์จึงได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อสารีบุตรเห็นกิริยาท่าทางพระอัสสชิ
น่าเลื่อมใสจึงเข้าไปสนทนา ถามถึงทางปฏิบัติและผู้เป็นศาสดา เมื่อได้ฟังก็ชอบใจ จากนั้นจึงกลับมาชวน
สหายคือ "โมคคัลลาน์" ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยปริชาพกบริวารที่ติดตามมาอีก ๒๕๐ รูป โมคคัลลาน์
และสารีบุตรได้ปฏิบัติธรรมจนสำเร็จเป็นอรหันต์ และเป็นกำลังสำคัญการประกาศพระศาสนา พระพุทธเจ้าจึง
ืีทรงให้ทั้งสองดำรงตำแหน่งพระอัครสาวก พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกฝ่ายขวา ส่วนพระโมคคลาน์เป็นฝ่าย
ซ้าย ทั้งสองนี้ปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้าไม่กี่เดือน
การประชุมสาวกของพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น มีพระสาวกจำนวน ๑,๒๕๐ รูป มีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน
คือ พระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ทรงแสดงธรรม ที่เรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" ในที่ประชุมครั้งนี้เรียกว่า
"จาตุรงค์สันนิบาต"
ตลอดระยะเวลา ๖ ปีกว่า นับตั้งแต่เสด็จออกบวช ตรัสรู้ และประกาศพระศาสนาในแคว้นมคธ พระพุทธ
เจ้ายังมิได้เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์เลย พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จกลับเพื่อโปรดพระประยูรญาติตามคำทูลอารธ
นาของพระเจ้าสุทโธทนะ พร้อมด้วยพระสาวกซึ่งใช้เวลาเดินทางเป็นเวลาสองเดือน พระเจ้าสุทโธทนะเสด็จ
ไปรับและเฝ้าพระพุทธเจ้าที่นิโครธาราม พร้อมพระประยูรญาติ แต่ไม่ได้ทูลอารธนาพระพุทธเจ้าเสด็จไปรับ
ภัตตาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ก็ด้วยเข้าพระทัยว่าพระพุทธเจ้าคงจะไม่เสด็จไปที่อื่น นอก
จากพระราชนิเวศน์ของพระองค์ แต่เมื่อทรงทราบจากพระนางพิมพาไปทูลว่า พระพุทธเจ้าพร้อมพระสงฆ์สาวก
จำนวนมาก มิได้เสด็จตรงไปยังพระราชนิเวศน์ แต่กลับเสด็จบิณฑบาตไปตามถนนหนทางในเมือง ก็ทรงเสีย
พระทัยเป็นอันมาก แล้วกราบทูลว่า
"เหตุไฉนพระลูกเจ้าจึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตให้เป็นที่อัปยศ ผิดธรรมเนียมของกษัตริย์ขัตติยวงศ์ของ
เรา ทำไมจึงไม่เสด็จไปเสวยที่พระราชนิเวศน์"พระเจ้าพิมพิสารกล่าว
พระพุทธเจ้าตรัสบอกพุทธบิดาว่า "ธรรมเนียมการเสด็จภิกขาจารเพื่อบิณฑบาตนี้ มิใช่ธรรมเนียมของ
ขัตติยวงศ์ก็จริง แต่เป็นธรรมเนียมของพุทธวงศ์ (วงศ์ของพระพุทธเจ้า) ธรรมเนียมของผู้สละบ้านเรือนออก
บวชเป็นพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกน้น ต้องเที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ การบิณฑบาตนั้นเป็นอาชีพอันสุจริต
ของนักบวชในพุทธวงศ์และพระองค์ทรงขาดจากการเป็นขัตติยวงศ์แล้ว ขาดเมื่อตอนเสด็จออกบวชก็หาไม่
ขาดเมื่อคราวบำเพ็ญเพียรใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ก็หาไม่ แต่ขาดเมื่อเคราวได้สำเร็จ คือ ภายหลังตรัสรู้เป็นพระ
พุทธเจ้าแล้ว ตั้งแต่นั้นมาพระองค์ได้ชื่อว่า ทางตั้งอยู่ในพุทธวงศ์ "
พระพุทธเจ้าประทับยืนตรัสพระธรรมเทศนาแก่พระเจ้สุทโธทนะ พอจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าสุทโธ
ทนะได้ทรงบรรลุโสดาบัน จากนั้นพระองค์เสด็จไปโปรดพระนางพิมพายโสธรา ผู้เคยเป็นพระชายาซึ่งมีความ
เศร้าโสกเสียพระทัย ตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชเป็นต้นมา ด้วยเข้าพระทัยว่า พระนางถูกทอดทิ้ง
พระเจ้าสุทโธทนะทูลต่อ พระพุทธเจ้าถึงความดีของพระนางพิมพาว่า เป็นสตรีที่จงรักภักดีต่อพระพุทธเจ้าไม่
เคยแปรพระทัยเป็นอื่นเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า " พระนางพิมพาจะได้ทรงซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระองค์แต่
เฉพาะในชาตินี้ก็หาไม่ แม้ในอดีตชาติหนหลังอีกหลายชาติ พระนางก็เป็นคู่ทุกข์ คู่ยาก ผู้ซื่อสัตย์ของพระ
องค์เสมอมา" แล้วทรงตรัสถึงชาดกอีกเป็นอันมาให้พุทธบิดาและนางพิมพาฟัง
พระนางฟังแล้ว ทรงคลายความเศร้าโศกและความเสียพระทัย ทรงเกิดปิติโสมนัสในพระธรรมเทศนา
ของ พระพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจบลง พระนางพิมพาก็ได้ทรงบรรลุเป็นพระโส
ดาบัน หรือ โสดาปัตติผล
ในวันที่ ๗ นับแต่วันที่ พระพุทธเจ้า ได้เสด็จกลับถึงกรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์พร้อมพระสงฆ์สาวกบริวาร
ได้เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนะอีก
เจ้าชายนันทะ เป็นรัชทายาทที่สองได้ออกบวช ดังนั้นรัชทายาทจึงตกอยู่กับราหุลราชกุมารผู้เป็นโอ
รสของเจ้าชายสิทธัตถะ ในเวลาต่อมาพระนางพิมพายโสธราทรงเห็นเป็นโอกาสดี เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จเข้า
มารับบิณฑบาตจึงแต่งองค์ให้ราหุลแล้วทรงชี้บอกราหุลว่า "พระสมณะผู้ทรงสง่านั่นคือ พระบิดาของเจ้า"
พระนางตรัสบอกโอรสให้ไปทูลขอรัชทายาทและทรัพย์สินที่เป็นสมบัติของพระบิดาทั้งหมด ซึ่งยังมิได้ทรง
โอนกรรมสิทธิ์ให้ใคร ซึงธรรมดาลูกย่อมมีสิทธิ์ที่จะครองกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของผู้เป็นบิดา
ขณะนั้น ราหุลกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ ปี นับตั้งแต่ประสูติมาไม่เคยเห็นองค์ผู้เป็นพระบิดา เพิ่งได้เห็น
เป็นครั้งแรก เมื่อได้เห็นและได้เข้าเฝ้าโดยใกล้ชิด ราหุลจึงเกิดความรักใน พระพุทธเจ้ายิ่งนัก เป็นความรัก
อย่างลูกพึงมีต่อพ่อ ราหุลกราบทูล พระพุทธเจ้าประโยคหนึ่งซึ่งถ้าจะถอดความให้เข้ากับสำนวนไทยก็ว่า
"อยู่ใกล้พ่อนี่มีความสุขเหลือเกิน" แล้วกราบทูลขอรัชทายาทตามที่พระมารดาทรงแนะนำ พระพุทธเจ้าไม่
ตรัสว่าอะไรทรงฉันท์อาหารเสร็จแล้ว ทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไปที่นิโครธรารามพร้อมด้วยพระสงฆ์ โดย
มีราหุลตามเสด็จไปด้วย พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าสิ่งที่ราหุลขอนั้นเป็นสมบัติทางโลก ไม่ยั่งยืน เต็ม
ไปด้วยด้วยความทุกข์ ไม่เหมือนอริยทรัพย์ คือ ธรรมะที่พระองค์ได้ตรัสรู้มา ทรงดำริว่า "จำเราจะให้ทายาท
แห่งโลกกุตระแก่ราหุล" พระพุทธเจ้าจึงตรัสเรียกพระสรีบุตรมาแล้วรับสั่งให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์ทำ
หน้าที่บวชสามเณรแก่ราหุล ราหุลจึงเป็นสามเณรองค์แรกในทางพระพุทธศาสนาเมื่ออายุครบบวชต่อมาได้
บวชเป็นพระภิกษุและได้สำเร็จอรหันต์
เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทรงทราบข่าว ก็เสียพระทัยมากยิ่งกว่าเมื่อคราวพระพุทธเจ้าเสด็จออกบวชและ
พระนันทะบวชพระองค์ก็ไม่อาจทรงระงับความทุกข์โทมนัสครั้งนี้ได้ จึงได้เสด็จไปเฝ้า พระพุทธเจ้าแล้วทูล
ขอร้องว่า ถ้าพระคุณเจ้ารูปใดจะบวชลูกหลานชาวบ้านก็ได้โปรดให้พ่อแม่เขาได้อนุญาตให้ก่อน เพราะถ้าไม่
่อย่างนั้น จะทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้เป็นพ่อแม่มากดุจที่พระองค์ได้รับ เมื่อพระราหุลบวชในคราวนี้ พระพุทธ
เจ้าทรงรับตามที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงขอร้องจึงทรงบัญญัติพระวินัยไว้เป็นธรรมเนียมสืบมาจนทุกวันนี้ ว่าถ้า
ใครจะบวชไม่ว่าจะบวชเป็นพระหรือบาชเป็นสามเณรต้องได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ผู้ปกครองก่อน ธรรมเนียม
กุลบุตรผู้จะบวชที่ถือพานดอกไม้เที่ยวกราบลาพ่อแม่ ผู้ปกครอง ตลอดจนญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือมาตราบ
เท่าทุกวันนี้
หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพุทธบิดา และพระประยูรญาติเป็นเวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์ แล้ว
ได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีแห่งแคว้นโกศลซึ่งเป็นเมืองและแคว้นใหญ่พอๆ กับกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ พระ
นันทะก็ได้ติดตามเสด็จไปด้วยแต่ตลอดเวลานับแต่บวชแล้วเป็นต้นมา พระนันทะไม่เป็นอันปฏิบัติกิจของ
สมถะ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรม พอนันทะฟังแล้วเกิดเบื่อหน่ายคลายความรักและความยินดีในความสวย
ตั้งใจปฏิบัติธรรม ไม่ช้าก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
การเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ของ พระพุทธเจ้า ในครั้งนั้นได้มีผู้ขอออกบวชในจำนวนนั้นผู้ที่มีชื่อเสียงและเป็น
ที่รู้จักกันก็คือ "เจ้าชายอานนท์" หรือ "พระอานนท์" และในเวลาต่อมาก็มีนายภูษามาลา ชื่อ อุบาลีหรือ
พระอุบาลีและเจ้าชายเทวทัต เจ้าชายเทวทัตเป็นพระเชษฐา(พี่ชายของพระนางพิมพายโสธรา) ได้ออกบวช
พร้อมกัน ต่างได้บรรลุมรรคผลในเวลาต่อมา มีเพียงแต่พระเทวทัตได้สำเร็จเพียงฌาณโลกีย์เท่านั้น (ฌาณ
ชั้นนี้ทำให้ผู้ได้สำเร็จแสดงอิทธิฤทธิ์ เหาะก็ได้ ) ครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์จำนวนมากรวมทั้งพระเทว
ทัตด้วยเสด็จไปถึงกรุงโกสัมพี ชาวเมืองได้พากันออกมารับเสด็จและนำของถวายเป็นอันมาก ถวายของแด่
พระพุทธเจ้าแล้วก็ถวายพระสงฆ์ แต่ละคนเที่ยวถามไถ่กันว่า "พระสารีบุตรของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน พระโมค
คัลลาน์ของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน ฯลฯ เมื่อทราบแล้วก็นำของไปถวายแต่ไม่มีใครสักคนที่จะเอ่ยชื่อของพระเทว
ทัตว่า "พระเทวทัตของข้าพเจ้าอยู่ที่ไหน" นั่นคือความไม่พอใจของพระเทวทัตที่เป็นสาเหตุให้พระเทวทัตก่อ
กรรมหรือกระทำการรุนแรงในเวลาต่อมา
พระเทวทัตเข้าฌาณโลกีย์ เนรมิตเป็นกุมารหนุ่มน้อย ใช้งูพิษร้าย ๗ ตัวพันเป็นสังวาลตามตัว ตัวหนึ่งพัน
หัวต่างผ้าโพก อีกสี่ตัวพันข้อมือข้อเท้า อีกตัวพันที่คอ และอีกตัวหนึ่งทำเป็นสังวาลเฉวียงบ่า เหาะเข้าไปใน
วังลงนั่งบนพระเพลาของอชาตศัตรูผู้เป็นมกุฏมาร และพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร ราชาแห่งแคว้นมคธ
พระเทวทัตได้แนะนำให้อชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชบิดา แล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เสียเอง ส่วนตนจะปลง
พระชนม์พระพุทธเจ้าแล้วจะตั้งตัวเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใหม่ประกาศศาสนาใหม่ เมื่อเวลาไปเฝ้าเจ้าชายอชาต
ศัตรูพระเทวทัตเหาะไป แต่ขากลับเหาะไม่ไหวต้องเดินกลับ เพราะใจอกุศลเกิดขึ้น ฌาณโลกีย์เลยเสื่อมตั้ง
แต่นั้นมา ส่วนมกุฏราชกุมารได้ทำการปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารได้ ในส่วนของพระเทวทัตได้เข้าเฝ้าพระ
พุทธเจ้าแล้วว่าพระองค์นั้นทรงชราแล้ว ขอให้ทรงมอบตำแหน่งกิจการบริหารคณะสงฆ์ให้แก่ตนเสีย เลยถูก
พระพุทธเจ้าว่า นักบวชนั้นเมื่อออกบวชได้ชื่อว่าเป็นผู้เสียสละแล้วซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เช่น ลูก เมีย ทรัพย์และ
ตำแหน่งฐานันดรต่างๆ พระเทวทัตฟังแล้วเสียใจจึงผูกอาฆาตยิ่งขึ้น จึงวางแผนเพื่อปลงพระชนม์พระพุทธเจ้า
ขั้นแรก ได้ว่าจ้างพวกแม่นธนูไปลอบยิงทีวัดเวฬุวนาราม แต่เมื่อพวกนายแม่นธนูไปถึงที่ประทับได้
เห็นพระองค์มีท่าทางสงบ มิได้มีความตกใจ ทั้งยังมีความสง่าผ่าเผย คนเหล่านั้นรู้สึกประทับใจ น่าเลื่อมใส
และเคารพ จึงพากันไปเฝ้า พระพุทธเจ้าแล้วพากันสารภาพผิด พระองค์ทรงยกโทษให้คนเหล่านั้น พากันปฏิ
ญาณเป็นสาวกของพระองค์ตลอดชีวิต เมื่อแผนที่ลอบปลงพระชนม์ไม่สำเร็จ พระเทวทัตจึงลงมือทำเองโดย
แอบขึ้นไปบนยอดเขาคิชฌกูฏ เพราะรู้ว่าพระพุทธเจ้าประทับอยู่เชิงเขาเบื้องล่าง จึงกลิ้งก้อนหินใหญ่ลงมา
หมายให้ทับพระพุทธเจ้า แต่ก้อนหินเกิดกระทบกันแล้วแตกเป็นก้อนเล็ก ก้อนน้อย ได้มีสะเก็ดหินก้อนหนึ่ง
กระเด็นปลิวมากระทบพระบาทพระพุทธเจ้าจนทำให้พระโลหิตห้อขึ้น แผนนี้ไม่สำเร็จพระเทวทัตจึงได้แนะนำ
ให้พระอชาติศัตรูสั่งให้คนเลี้ยงช้าง ให้ปล่อยฝูงช้างดุร้ายออกไปไล่เหยียบพระพุทธเจ้า ในขณะที่บิณฑบาต
แต่ก็ล้มเหลวอีก เพราะฝูงช้างไม่กล้าทำร้ายพระพุทธเจ้า ตอนนี้เองที่ความชั่วของพระเทวทัตได้ล่วงรู้กันไป
ทั่ว พระเจ้าอชาติศัตรูทางได้ยินเสียงชาวเมืองตำหนิเช่นนั้น จึงเกิดความละอายพระทัยยกเลิกไปหาพระเทว
ทัต ส่วนข้าวของที่เคยพระราชทานให้พระเทวทัตก็ทรงสั่งให้เลิกนำไปถวาย คนในเมืองนั้นไม่มีใครใส่บาตร
ให้พระเทวทัตเลย แต่พระเทวทัตก็ยังไม่สิ้นมานะทิฐิได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้ทรงปฏิเสธศาสนาพุทธเสีย
ใหม่ เช่น ให้ห้ามพระสงฆ์ฉันท์เนื้อและปลา เป็นต้น แต่ถูกพระพุทธเจ้าปฏิเสธ พระเทวทัตจึงตั้งคณะสงฆ์ใหม่
แล้วสถาปนาตนขึ้นเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง แต่ต่อมาสาวกของพระเทวทัตที่เข้าใจผิด ได้พากันหนีกลับมา
หาพระพุทธเจ้าและเหลืออยู่ไม่กี่รูป ก็โกรธจนกระทั่งกระอักเลือกออกมา พอรู้ว่าตนจะตายก็สำนึกผิด เลย
ใช้ให้สาวกที่เหลือหามตนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอขมาเป็นครั้งสุดท้าย แต่ไม่ทันเข้าเฝ้าพระเทวทัตได้ขอ
แวะสระน้ำท้ายวัด พอหย่อนเท้าลงเหยียบพื้นสระโบกขรณี เลยถูกแผ่นดินสูบเสียก่อน
พระพุทธเจ้าได้ทรงทราบข่าวว่า พระเจ้าสุทโธทนะทรงพระประชวรหนักด้วยโรคชรา ทางปรารถนาจะ
ได้เฝ้าพระพุทธเจ้า ตลอดถึงพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นศากยะและพระญาติ พระพุทธเจ้าจึงรับสั่งให้พระอานนท์แจ้ง
ข่าวต่อพระสงฆ์ถึงเรื่องที่พระองค์จะเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์เพื่อเยี่ยมพระบิดา เมื่อไปถึงได้ทรงแสดงธรรมโปรด
พุทธบิดาด้วยเรื่องความเป็นอนิจจังของสังขาร เมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาตั้งแต่ต้นจนจบก็ได้สำเร็จเป็นอร
หันต์ในบั้นปลายแห่งพระชนม์ชีพ หลังจากนั้นอีก ๗ วันก็สิ้นพระชนม์ พระพุทธเจ้าเสด็จสรงน้ำพระศพพุทธ
บิดาและควายพระเพลิง พร้อมด้วยพระสงฆ์ พระประยูรญาติ ชาวศากยะทั้งมวลจนเสร็จสิ้น
ภายหลังที่พระเจ้าสุทโธทนะสิ้นพระชนม์แล้วไม่นาน พระนางปชาบดีโคตมีได้ทูลขอบวช พระนางทูล
ถามพระพุทธเจ้าว่า ธรรมดาสตรีจะบวชในพระพุทธศาสนาได้ (อย่างบุรุษ)หรือไม่ ? พระพุทธเจ้าทรงตอบบ่าย
เบี่ยงว่า อยาได้มายินดีในการบวชเลย หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็กลับกรุงไพศาลี พระนางปชาบดีโคตมีพร้อม
ด้วยบริวารได้ตามเสด็จไปอีก คราวนี้ทุกคนตางปลงผม นุ่มห่มผ้าย้อมฝาดอย่างนักบวช เข้าไปทูลขอบวชอีก
พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธอีก พระนางจึงเข้าไปขอพึ่งพระบารมีพระอานนท์ เพื่อให้กราบทูล พระพุทธเจ้าให้ทรง
อนุญาต พระอานนท์จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลขอร้องให้พระองค์ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีโคต
มีและบริวารได้บวชเป็นนางภิกษุณี พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธถึง ๓ ครั้งในที่สุดจึงทรงอนุญาตอย่างมีเงื่อนไข
ว่า ถ้าพระนางยอมรับครุธรรม ๘ ข้อก็จะให้บวช ครุธรรมคือ หลักการเบื้องต้นสำหรับสตรีที่จะบวชเช่น สตรี
บวชเป็นนางภิกษุแล้ว แม้จะมีพรรษาตั้งหนึ่งร้อย ก็จะต้องกราบไหว้พระภิกษุซึ่งเพิ่งบวชใหม่ในวันนั้น ,จะต้อง
รักษาศีล ๖ ข้อ ไม่ให้ขาดอยู่ครบ ๒ ปีก่อนจึงจะบวชได้ เป็นต้น
พระนางปชาบดีโคตมี มีศรัทธาแรงกล้ามากจึงยอมรับ และได้บวชเป็นนางภิกษุณีแรกในศาสนา
พุทธ แต่คณะสงฆ์ภิกษุณก็อยู่ได้ไม่นาน เพราะมีหลักฐานเชื่อได้ว่าสูญสิ้นไปก่อนพระพุทธเจ้านิพพานด้วยซ้ำ
ไป เหตุผลก็เพราะบทบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติขึ้นเป็นดุจกำแพงล้อมนางภิกษุณีนั้นเข้มงวดกว่าฝ่าย
ภิกษุสงฆ์หลายเท่า จนคนที่ไมีมีความศรัทธาจริงๆ จะบวชอยู่ไม่ได้เลย