เหตุการณ์ต่อไปนี้เรียกว่า "มารผจญ" ซึ่งเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนการตรัสรู้ไม่กี่ชั่วโมง พระอาทิตย์
กำลังอัสดงลงลับทิวไม้ พระองค์ทรงกำหนดจิตเจริญสมาธิภาวนา เพื่อการบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ พระยา
วัสสวดีมารซึ่งคอยติดตามอยู่ จึงเข้ามาขัดขวางโดยขี่ช้างคิริเมขละและนำเหล่าเสนามารจำนวนมากเข้ามารบ
กวนหวังให้พระองค์เกรงกลัวจะได้ลุกขึ้นเสด็จหนีไป แต่พระองค์ก็ยังประทับนิ่งโดยมิได้หวั่นไหว พระยามาร
จึงโกรธสั่งให้เสนามารกลุ้มรุมกันประหารพระองค์ พระองค์จึงทรงนึกถึงบารมี ๓๐ ทัศ ที่ทรงบำเพ็ญสั่งสมมา
ทุกชาต
ิ โดยขอให้นางสุนทรีวนิดาปม่พระธรณีเป็นพยาน แม่พระธรณีจึงผุดขึ้นมาจากพื้นดินแล้วบิดมวยจนน้ำท่วม
กระแสน้ำก็พัดพาพวกเสนามารไปหมดสิ้น พระวัสสดีมารจึงยอมแพ้และกลับไปยังที่อยู่ของตน ท่ามกลางความ
เป็นสมาธิอันแน่วแน่สงบเงียบแห่งพระหฤทัยของพระองค์ที่นั้น ซึ่งได้ประทับนั่ง ณ โคนต้นโพธิ์นั้นเอง
บารมี ๓๐ ทัศ ได้แก่ ทานบารมี , ศีลบารมี , เนกขัมมบารมี , ปัญญาบารมี , วิริยบารมี ,
ขันติบารมี , สัจจบารมี , อธิษฐานบารมี , เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐
(๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐
(ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ

"ฌาณ" คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ คือ ให้จิตแน่วแน่ ไม่ฟุ่งซ่าน คิดโน่นคิดนี่อย่างปุถุชนธรรมดาส่วน
"ญาณ" คือ ปัญญา ความรู้แจ้ง ถ้าจะเปรียบให้เห็นง่ายก็ค์อ แสงเทียนที่นิ่งไม่มีลมพัด คือ ฌาณ แสงสว่าง
อันเกิดจากแสงเทียนเท่ากับปัญญาคือ "ญาณ" พระองค์ทรงบรรลุญาณที่หนึ่งในตอนปฐมยาม (ประมาณ ๓
ทุ่ม ) ญาณที่หนึ่งเรียกว่า " บุพเพนิวาสานุสติญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึงอดีตชาติหนหลังทั้งของตนและ
ของคนอื่น พอถึงมัชฌิชมายาม ( ประมาณเที่ยงคืน) ทรงบรรลุญาณที่สอง เรียกว่า "จตุปปาตญาณ" หมาย
ถึง ความรู้แจ้งถึงความจุติ คือ ดับและเกิดของสัตว์โลก ตลอดถึง ความแตกต่างกันที่เรียกว่า "กรรม" พอถึง
ปัจฉิมยาน (หลังเที่ยงคืนล่วงไปแล้ว) ทรงบรรลุญาณที่สาม คือ "อาสวักขยญาณ" หมายถึง ความรู้แจ้งถึง
ความสินไปของกิเลส และอริยสัจ ๔ ความทุกข์ เหตุเกิดของความทุกข์ ความดับทุกข์และวิธีดับทุกข์

การได้บรรลุญาณทั้งสาม ของพระมหาบุรุษนั้นเรียกว่า ตรัสรู้ ความเป็นพระพุทธเจ้าซึ่งเกิดขึ้นในคืนวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตั้งแต่นี้ต่อไปทรงมีพระนามใหม่ว่า "อรหันสัมมาสัมพุทธเจ้า" แปลว่า พระผู้ตรัสรู้ธรรม
เครื่องหลุดพ้นจากกิเลสโดยชอบด้วยพระองค์เอง จากนั้นพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นพระ
ศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗ วัน คำว่า " เสวยวิมุติสุข" เป็นภาษษที่ใช้สำหรับท่านผู้ทรงหลุดพ้นแล้ว หลังจากนั้น
จึงเสด็จไปยังต้นอัชปาลนิโครธ คือ ต้นไทร และทรงเปลียนสถานที่ประทับแห่งละ ๗ วัน กระทั่งประทับใต้
ต้นมุจลินทร์ หรือคนไทยเรียกว่า "ต้นจิก" เข้าใจว่าจะใช่เพราะลักษณะที่เกิดคล้ายกันคือ ชอบเกิดตามที่ชุ่ม
ชื้น เช่น ห้วยหนองคลองบึง เป็นไม้เนื้อเหนียว มีดอกร ะย้าทั้งสีขาวและสีแดง ใบประมาณเท่าใบชมพู่ ใบ
อ่อนมีรสฝาด ใช้เป็นผักจิ้มน้ำพริก

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับอยู่ที่นี่ ฝนเจือหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย พญานาคชือ
จุลินทร์ ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณแห่งนั้น เข้าไปวงขดหาง ๗ รอบแล้วแผ่พังพานปกพระพุทธเจ้าเพื่อป้อง
กันไม่ให้ลมและฝนต้องพระวรกาย ครั้งพอฟ้าสาง พญานาคจึงคลายขดออก จากนั้นก็ทรงเปลี่ยนที่ประทับ
พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้มานั้น เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุม ละเอียด ผู้ที่ปัญญา
จึงจะเข้าใจ จึงเกิดความท้อพระทัย พระดำรินั้นได้ทราบถึงท้าวสหัมบดีพรหมในเทวโลกก็ตกพระทัย จึงพร้อม
ด้วยเทวาคณานิกร ลงมากราบทูลอารธนาให้พระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรม

เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับคำอารธนาของท้าวสหัมบดีพรหมแล้วทรงเปรีบเทียบมนุษย์กับดอกบัว ๔ ประ
เภทคือ

๑.อุคฆติตัญญุ คือ พวกฉลาดมากเหมือนบังที่พ้นน้ำแล้ว เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นมา ก็จะเข้าใจ
ได้โดยง่าย

๒.วิปจิตัญญู คือ พวกฉลาดพอควรเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำเพียงฟังคำอธิบายก็เข้าใจได้

๓.เยยะ คือ พวกฉลาดปานกลาง เหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำมีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาในวันต่อๆ ไป เมื่อ
ได้รับการอบรมบ่มสติปัญญาพอควรก็จะเข้าใจธรรมได้

๔. ปทปรมะ คือ ผู้ที่โง่เขลาเหมือนบัวที่อยู่ในโคลนตม ยากที่จะสอนให้เข้าใจได้ ไม่มีโอกาสโผล่
เหนือน้ำ

พระพุทธองค์ทรงนึกถึงบัวพ้นน้ำเป็นกลุ่มแรกที่พระองค์จะแสดงธรรมเสด็จไปโปรด ปัจจวัคคีย์ที่ป่า
อิสิปตนมฤคทายวัน และได้แสดงธรรมเทศนากัณฑ์แรกคือ "ธรรมจักกัปปวัตตสูตร" ในวันเพ็ญเดือน ๘ คือ
วันอาสาฬหบูรณมี ท่านโกณฑัญญะก็ได้ "ธรรมจักษุ" คือ ดวงตาเห็นธรรม พระพุทธองค์ถึงกับเปล่งวาจา
"อัญญาสิวตโกณฑัญโญ" แปลว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้ว จึงได้สมญา "อัญญาโกฑัญญะ" และได้ทรงพระ
กรุณารับท่านมาบวชโดยกล่าวว่า "ท่านจงมาเป็นภิกษุเถิด" การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัม
ปทา" จนถึงวันขึ้น๑๔ ค่ำ เดือน ๘ ในสัปดาห์ที่ ๘ นับแต่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้เสด็จออกไปยังป่าอิสิปต
นมฤคทายวันระหว่างทางคือเมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยา ได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า "อุปกะ" เดินสวนทางมา
ได้เห็นพระรัศมีแผ่ออกจาพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบที่หน้าตนก่อน พระรัศมีในสมัยนั้นเรียกว่า
"ฉัพพรรณรังสี" คือ พระรัศมี ๖ ประการที่แผ่ออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่

๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน

๒.ปิยะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง

๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน

๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน

๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่

๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

เมือ่พระพุทธเจ้าเสด็จไปหากลุ่มปัญจวัญคีย์ทั้ง ๕ เพื่อเสด็จไปแสดงธรรม ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ก็เห็น
พระฉัพพรรณรังสีก็เห็นเช่นเดียวกัน เมื่อมองตามลำแสงก็เห็นพระพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา ทั้ง ๕ จึงนัดหมาย
กันว่าจะไม่รับเสด็จและไม่ถวายความเคารพคือ จะไม่ลุกขึ้นออกไปรับบาตรและจีวร แต่ครั้นพอพระพุทธเจ้า
เสด็จมาถึงจริง ปัญจวัคคีย์ทั้งหมดต่างลืมนัดหมายกันหมดต่างลุกขึ้นรับเสด็จถวายบังคม รับบาตร และจีวร
พระพุทธเจ้าตรัสเล่าเรื่องให้ฟังว่า วันที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรม "ปฐมเทศนา" คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ
เดือน ๘ เป็นวันรุ่งขึ้นหลังจากเสด็จมาถึงและพบปัญจวัคคีย์ คือ วันอาสาฬบูชา นั่นเอง ผู้ฟังธรรมมี ๕ คน
ที่เรียกว่า "ปัญจวัคคีย์" หรือ "เบญจวัคคีย์" เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทร
มานตนให้ลำบากและการปล่อยชีวิตไปตามความใคร่ ทั้งสองทางนั้น ทรงเคยผ่านและทดลองมาแล้วไม่ใช่
ทางตรัสรู้เลย และแนะนำทางสายกลางที่เรียกว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" คือ ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามด้วย
มรรค ๘ ที่กล่าวโดยย่อคือ ศ๊ล สมธิ และปัญญา พอแสดงธรรมนี้จบลง โกณทัญญะได้เกิดดวงตาเห็นธรรม
คือ ได้บรรลุเป็นโสดาบัน และทูลขอบวชเป็นพระ จึงเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา และมีชื่อว่าใหม่
ว่า"อัญญาโกณทัญญะ" ส่วนอีก ๔ ที่เหลือต่อมาได้สำเร็จและได้บวชเช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้าพร้อมด้วย
พระอริยสาวกทั้ง ๕ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เพราะใกล้หน้าฝนแล้ว

ขอกล่าวถึง กุลบุตรผู้หนึ่งนามว่า "ยส" เป็นลูกชายเศรษฐีในเมืองพาราณสี บิดา มารดาสร้าง
ปราสาทเปลี่ยนฤดูให้อยู่ ๓ หลังแต่ละหลังมีนางบำเรอเฝ้าปรนนิบัติจำนวนมาก กระทั่งเที่ยงคืนวันหนึ่งยส
กุลบุตรตื่นขึ้นมาเห็นนางบำเรอนอนสลบไสลด้วยอาการที่น่าเกลียด ก็เกิดความเบื่อหน่ายจึงแอบหนีจากบ้าน
คนเดียวยามดึกสงัดเดินมุ่งหน้าไปทางป่าอิสิปตนมฤทายวัน พลางบ่นไปตลอดทางว่า "เฮ่อ ! วุ่นวายจริง"
หมายถึง ความร้อนรุ่มกลุ้มใจ ขณะนั้นมีเสียงดังตอบออกมาจากชายป่าว่า "ที่นี่ไม่มีความวุ่นวาย ที่นี่ไม่มี
ความอึออัด" เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้านั่นเอง ตอนที่กล่าวนี้เป็นเวลาจวนย่ำรุ่งแล้ว พระพุทธเจ้ากำลังจง
กรมอยู่ ( จงกรม คือ การเดินกลับไปกลับมา ) พระพุทธเจ้าตรัสบอกยสกุลบุตรว่า "เชิญเข้ามาที่นี่ แล้วจง
นั่งลงเถิด เราจะแสดงธรรมให้ฟัง" ยสกุลบุตรจึงเข้าไปกราบพระพุทธเจ้าแล้วนั่งลง พระพุทธเจ้าตรัสพระธรรม
เทศนาให้ฟัง เมื่อจบยสกุลบุตรได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แล้วจึงทูลขอบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อยสกุลบุตร
บวชแล้วไม่นานได้มีสหายรุ่นราวคราวเดียวกับอีก ๔๕ คน รู้ข่าวก็ออกบวชตาม ได้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าและ
ฟังธรรมแล้วได้สำเร็จอรหันต์ ภายในพรรษาที่หนึ่งของพระพุทธเจ้าได้มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลกทั้งหมด ๖๑
องค์ด้วยกัน