เจ้าชายสิทธัตถะพร้อมด้วยนายฉันนะ ทรงขี่ม้าตลอดคืนไปสว่างเอาที่แม่น้ำแห่งหนึ่งซึ่งเป็นเขตแดนกั้น
เมืองทั้ง ๓ คือ กบิลพัสดุ์ สาวัตถี และไพศาลี ทรงถามนามแม่น้ำนี้กับนายฉันนะ ฉันนะกราบทูลว่า "แม่น้ำนี้มี
ีชื่อว่า อโนมานที " พระเจ้าข้า พระองค์เสด็จลงจากหลังม้า ประทับบนหาดทรายพระหัตถ์ขวาจับพระขรรภ์แสง
ดาบ พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา คือ ยอดหรือปลายพระเกศา กับ พระโมฬี คือมุ่นพระเกศาหรือมุ่นเป็นมวยแล้วทรง
ืืตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ เหลือพระเกศาไว้ยาวประมาณ ๒ นิ้วเป็นวงกลมเวียนไปทางขวา เสร็จแล้วทรงเปลื้อง
พระภูษาทรงออก แล้วทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ ที่ ฆฏิการพรหม นำมาถวายพร้อมด้วยเครื่องบริขารอย่างอื่นของ
นักบวช แล้วทรงอธิษฐานเพศเป็นนักบวช ที่บนหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำอโนมานั่นเอง ทรงมอบพรภูษาะและม้าให้
นา ฉันนะนำกลับไปกราบทูลแจ้งข่าวแก่พระราชบิดาให้ทรงทราบ นายฉันนะมีความอาลัยรักองค์ผู้เป็นเจ้านาย
ถึงกับร้องไห้กลิ้งเกลือกแทบพระบาทไม่อยากกลับไปแต่ขัดรับสั่งไม่ด้ด้วยเกรงพระอาญา
เจ้าชายหรือตั้งแต่นี้เป็นต้นไป หนังสือพุทธประวัติเรียกว่า "พระมหาบุรุษ" ทรงลูบหลังม้า ม้าน้ำตาไหล
อาบหน้า แล้วแลบชิวหาออกเลียพื้นฝ่าพระบาทของพระองค์ ผู้ทรงเคยเป็นเจ้าของทั้งม้า ทั้งคน คือนายฉันนะ
น้ำตาอาบหน้า ข้ามน้ำกลับมาเมือง แต่พอลับพระเนตรพระมหาบุรุษ ม้ากัณฐะกะ ก็หัวใจแตกออก ๗ ภาคหรือ
หัวใจวายตาย นายฉันนะจึงปลดเครื่องม้าออกแล้วนำดอกไม้ป่ามาบูชาศพ แล้วฉันนะก็หอบพระภูษาและเครื่อง
ม้าเดินร้องไห้กลับเมืองคนเดียว
เจ้าชายสิทธัตถะ เสด็จจากหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำอโนมา ไปยังตำบลที่มีป่ามะม่วงมากแห่งหนึ่งที่เรียก
ว่า " อนุปิยอัมพวัน" ตำบลนี้อยู่ในเขตแขวงมัลลชนบท ประทับอยู่ที่นี่หนึ่งสัปดาห์ ในวันที่ ๘ จึงเสด็จจาริก
เข้าแคว้นมคธไปโดยลำดับ จนถึง กรุงราชคฤห์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นนี้
ในสมัยนั้น แคว้นมคธเป็นแคว้นใหญ่มีด้วยพลเมืองมาก กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ของกรุงราชคฤห์ แห่งแคว้น
มคธ ในสมัยที่กล่าวมานี้ ทรงพระนามว่า "พระเจ้าพิมพิสาร" ทรงมีพระชนมายุร่นราวคราวเดียวกับเจ้าชาย
สิทธัตถะจึงทรงเป็นกษัตริย์หนุ่ม
เวลาเช้า พระมหาบุรุษเสด็จเข้าเมือง ชาวเมืองพากัน ตื่นเอิกเกริกโกลาหลทั่วทั้งพระนคร เพราะได้เห็น
นักบวชที่ทรงรูปสิริลักษณะเลิศบุรุษ จะว่าเป็นเทวดา หรือ นาค สุบรรณ (ครุฑ) คนธรรพ์ ทานพ(อสูรจำพวก
หนึ่งในนิยาย) ประการใดไม่รู้ได้ เข้ามาสู่พระนครเที่ยวบิณฑบาต ช่าง ประหลาดนักต่างก็โจษจันกันทั่วเมือง
ที่เป็นเช่นนี้เพราะ เจ้าชายสิทธัตถะหรือตอนนี้คือ พระมหาบุรุษ และต่อมาคือ พระพุทธเจ้า ทรงเกิดในขัตติยะ
สกุลคือ สกุลกษัตริย์ทรงเป็นอุภโตสุชาต คือ ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นกษัตริย์บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายพระบิดาและฝ่าย
มารดา ทรงมีผิวพรรณที่ภาษาบาลีเรียกว่า "กาญจนวัณโณ" แปลตามตัวว่า "ผิวทอง"
ความหมายก็คือ ผิวเหลืองขาว ทรงมีพระรูปโฉมสง่างาม ถึงแม้จะทรงปลงพระเกศา และพระมัสสุและ
ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์อย่างนักบวช แต่พระกิริยาเวลาเสด็จดำเนินก็ยังคงเหมือนกษัตริย์ คือสง่างามผิดแผก
จากสามัญชน เพราะเหตุนี้ เมื่อชาวเมืองราชคฤห์ได้เห็น จึงแตกตื่นกัน จนความทราบไปถึงพระเจ้าพิมพิสาร
ผู้เป็นพระราชาธิบดีแห่งกรุงราชคฤห์ จึงทรงให้พนักงานไปสืบดูว่าเป็นผู้ใด
เจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อทรงรับอาหารบิณฑบาตพอควรจากชาวเมืองแล้ว ก็เสด็จอกจาเมืองและทรงตั้งสติ
เพื่อเสวยอาหาร โดยอาหารที่ว่านี้คละระคนปนกันทุกชนิด ทั้งดีและเลว ทั้งน้ำและแห้ง ทั้งคาวและหวาน เมื่อ
ทรงเห็นแล้วเกิดพระอาการอย่างหนึ่ง "ปานประหนึ่งลำไส้ใหญ่จะกลับออกทางพระโอษฐ์ เพระเหตุที่พระองค์
เคยเสวยอาหารที่ดีเลิศ แต่ทรงข่มพระทัยด้วยคุณธรรมของนักบวชได้ จึงเสวยอาหารนั้น
พระเจ้าพิมพิสารเมื่อทรงทราบเรื่องจากเจ้าพนักงานกราบทูลให้ทรงทราบจึงเสด็จไปเฝ้าเจ้าชายสิทธัตถะ
ทรงทราบว่าเป็นเจ้าชายศากยสกุล จึงทูลขอร้องให้ประทับอยู่ในเขตนครของพระองค์ โดยที่พระองค์จะเป็นผู้
ถวายความสะดวกสบาย แต่เจ้าชายสิทธัตถะทรงปฏิเสธโดยตรัสว่า "พระองค์ไม่อาจประทับ ณ ที่ใดที่
หนึ่งแต่แห่งเดียวได้" ดังนั้น พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสขอ ถ้าพระองค์ทรงได้ตรัสรู้แล้วขอให้เสด็จมาโปรด
์ เพื่อโปรดให้พระองค์และประชาชนได้ทราบ พระมหาบุรุษทรงรับปฏิญาณนั้น
ในสมัยที่กล่าวนี้ แคว้นมคธ มีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงมากและมีลัทธิต่างๆ เพื่อ
ใช้เผยแพร่ คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในขณะนั้น คือ คณะอาฬารดาบสกาลามโคตรและคณะ
อุทกดาบสรามบุตร ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรมสอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง พระองค์จึงเสด็จไปยังที่นั่น เพื่อทรง
ศึกษาและทดลองดูว่าจะทางตรัสรู้หรือไม่ ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของคณาจารย์และทรงเห็นว่ายังมิใช่ทางตรัส
รู้จึงได้ไปสำนักคณาจารย์อื่น ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อยแต่ก็ได้เพียง "สมาบัติ" แปด
" สมาบัติ" หมายถึง ฌาน คือ วิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไป จนถึงละเอียดที่สุดทั้ง
หมดมีแปดชั้นด้วยกัน ทรงเห็นว่า จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์ ปุถุชนมิสามารถหาทางหลุดพ้น พระ
องค์จึงทรงดำริจะทดลองสิ่งที่นักบวช นักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกันว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่ ทาง
นั้นก็คือ ทุกกรกิริยา ที่หมายถึง การบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวดเกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้ ที่คนทั่วไปเรียกว่า
"ทรมารตน" ให้ได้รับความลำบากนั่นเอง
เจ้าชายสิทธัตถะทรงอำลาท่านคณาจารย์ แล้วเสด็จบำเพ็ญเพียรที่ตำบลแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยูในแขวง
มคธ มีนามว่า "อุรุเวลาเสนานิคม" "อุรุเวลา" แปลว่า กองทราย "เสนานิคม" แปลว่า ตำบล หมู่บ้าน
พื้นที่นี้เป็นที่ร่มรื่น มีแม่น้ำเนรัญชรา ซึ่งมีหมู่บ้านตั้งอยู่โดยรอบ ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป เหมาะสำหรับเป็นที่
อาศัยสำหรับบิณฑบาตของนักบวชบำเพ็ญพรต สมัยนั้นบริเวณแห่งนี้เรียกว่า อุรุเวลาเสนานิคม แต่มาสมัยหลัง
จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ตำลบลนี้เรียกว่า "พุทธคยา" ซึ่งปัจจุบันวัดไทยพุทธคยาก็ตั้งอยู่ที่นี่
ในครั้งนั้น มีผู้เลื่อมใสการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดของพระองค์จำนวนหนึ่งได้พากันมาเฝ้าปรนนิบัติคนเหล่านี้
มีจำนวน ๕ คนด้วยกัน เรียกว่า คณะปัญจวัคคีย์ มี ๕ คนด้วยกัน คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานมะ
และอัสสชา เจ้าชายสิทธัตถะทรงทดลองดูทุกอย่าง จนบางครั้ง เช่น ลดเสวยอาหารน้อยลง จนถึงอดเสวย
ส่วนพระกายก็ซูบผอม พระโลมา (ขน) รากเน่าหลุดออก เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก
เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้บำเพ็ญเป็นเวลา ๖ ปี ก็มิได้บรรลุผล วันหนึ่งพระอินทร์ได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย
บ้างก็กล่าวกันว่า เด็กเลี้ยงแพะถวายนมเมือทรงหมดสติไป บ้างก็ว่ามีสตรีออกมาร้องเพลง ดีดพิณ โดยในเนื้อ
หาของเพลงกล่าว่า
"เมื่อสายพิณของเราหย่อนเกินไป ย่อมส่งเสียงไม่น่าฟัง
และเมื่อตึงเกินไปก็ขาด และไม่อาจดังได้อีก
เพราะฉะนั้น เพื่อผลดันดีที่สุด ใครๆ ไม่ควร
ขึงสายพิณให้หย่อนหรือตึงเกินไป
แต่ควรขึงให้พอเหมาะ
มันจักส่งเสียงอันไพเราะ โดยแท้จริง"
(เรื่องเด็กเลี้ยงแพะถวายนมนี้ ไม่มีในพุทธประวัติของไทย แต่มีในพุทธประวัติของต่างประเทศ ส่วนในพุทธประ
ว้ติของไทยมีพระอินทร์ลงมาดีดพิณให้ฟัง แทนที่จะเป็นหญิงร้องเพลง)
พิณสายหนึ่งขึงไว้ตึงเกินไป พอถูกดีดก็ขาดผึงออกจากกัน จึงพิจารณาเห็นทางสายกลางว่าเป็นหน
ทางที่จะนำไปสู่พระโพธิญาณได้ จึงทรงเลิกทรมารร่างกาย จึงได้ทรงกับมาเสวยพระยาหารบำรุงร่างกายเพื่อ
ให้ร่างกายแข็งแรงมีกำลังบำเพ็ญเพียรต่อไป
หรือบ้างกล่าวว่าพระองค์ทรงสลบไป เนื่องจากอดอาหาร แต่โชคดีมีเด็กเลี้ยงแพะเดินทางผ่านมา จึงได้
รีดน้ำนมจากเต้าโดยตรงให้ดื่ม โดยที่มิกล้าแตะต้องพระองค์ สักครู่พระองค์ทรงรู้สึกตัวและรู้สึกสดชื่นมีเรี่ยวแรง
กำลัง จึงทรงระลึกได้ว่า การที่ทรมานตนเองให้อ่อนเพลียเช่นนี้ เราจะมีกำลังในการปฏิบัติอันสูงสุดได้อย่างไร
เราต้องทานอาหารทุกชนิดตามที่ร่างกายต้องการ เพื่อกลับคืนไปสู่ปรกติ เพื่อจะได้มีจิตใจอันใสกระจ่างซึ่งในสุด
เราอาจจะได้รู้สัจธรรมที่ประสงค์
ต่อจากนั้นเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ทรงออกบิณฑบาตรทุกเช้าและบริโภคอาหาร พระองค์ทรงมีกำลัง
อย่างเดิม ส่วนบุรุษทั้ง ๕ นั้นมิได้มีความคิดหรือรู้สึกเช่นเดียวกับพระองค์ แต่อย่างใดคนทั้งห้านั้นยังคงมีความ
ยึดถือเช่นเดียวกับคนอื่นๆ อยู่นั่นเอง ว่าวิธีที่จะตรัสรู้สัจธรรมในศาสนานั้นมีเพียงการทรมารร่างกายเพียงวิธีเดียว
เท่านั้น เมื่อคนทั้งห้าเห็นว่าบุคคลซึ่งตนเคยยกย่องเป็นอาจารย์ได้เลิดละการอดอาหาร หันมาบำรุงร่างกายตาม
ปรกติก็พากันกล่าวว่า "อา! พระสรณะโคตมะศากยะปุติยะนี้ กลายเป็นคนมักมากกลับไปสู่ความสบายเสียแล้ว"
ดังนั้นคนทั้งห้าได้พากันละทิ้งพระองค์ เพราะไม่มีประโยชน์อันใดที่จะอยู่
ในวันเพ็ญเดือน ๖ นางสุชาดา ผู้ซึ่งอาศัยอาศัยอยู่แถวนั้นได้นำข้าวอย่างดีซึ่งหุงด้วยนม ที่ได้ทำการ
คัเลือกเป็นอย่างดี เพื่อนำไปถวายเทวดที่ต้นไทร ตามที่ได้บนบานไว้ว่า ให้ได้สามีผู้มีชาติตระสกุลเสมอกันและ
ได้ลูกที่มีบุญ เมื่อนางได้สมปรารถนาแ%0