มีอาณาจัการหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดโครักขปุระ อยู่ทางฝั่งเหนือของเม่น้ำรัปตีเป็นดินแดนของ งผู้ที่มีเชื้อชาติที่เราเรียกว่า "พวกศากยะ" พระราชาที่ปกครองในครั้งนั้น มีพระนามว่า "พระเจ้าสุทโธทนะ" มีชื่อสกุลว่า "โคตมะ" พระนามเต็มคือ สุทโธทนะโคตมะ และเมืองราชธานีคือ "กบิลพัสดุ์"

วันที่เสด็จลงมาบังเกิดนั้น ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งเป็นเวลาที่พระเจ้าสุทโธทนะ (พระบิดา) กับ พระนางสิริมหามายา (พระมารดา) ได้อภิเษกสมรสไม่นาน ก่อนที่พระนางสิริมหามายาทรงตั้งพระครรภ์ ขณะที่ บรรทมได้นิมิตว่า พระนางได้อยู่ในป่าหิมพานต์ ได้มีช้างเชือกหนึ่งมาจากยอดเขาสูงได้เข้ามาหาพระ นางและ ชูวงถือปทุมชาติสีขาวเพิ่งบานใหม่ มีเสาวคนธ์หอมฟุ้งตรลบแล้วโกญจนาทเข้ามาในกนกวิมาน

เมื่อทรงพระครรภ์ และทรงรู้ว่าพระองค์จะถึงเวลาประสูติในไม่นานนักแล้วได้ทูลขออนุญาตจากพระสวามี ีเพื่อเสด็จกลับนครเทวทหะซึ่งตั้งอยู่ไม่ ไกลกันนักพระเจ้าสุทโธทนะได้โปรดประทานอนุญาตแก่พระมเหสีของ
พระองค์ ระหว่างทางนคร กบิลพัสดุ์กับนครเทวหะนั้น มีสวนป่าหรือวโนทยาน เรียกว่า สวนลุมพินีซึ่งมีต้นสาละ อยู่ทั่วอุทยาน เมื่อขบวนเสด็จผ่านพระนางสิริมหามายาทรงเกิดความรู้สึกว่าจะต้องประ สูติ ณ สถานที่แห่งนี้
เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งพอประสูติจากพระครรภ์พระมารดา ก็ทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทไปได้ ๗ ก้าว พร้อมกับ ยกพระหัตถ์ขวาและเปล่งวาจาเบื้องใต้พระบาท มีดอกบัวรองรับว่า " เราจะเป็นคนเก่งที่สุดในโลกคนหนึ่ง ซึ่งจะ
หาผู้ใดเสมอเสมือนไม่มี ชาติที่เกิดนี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา " สตรีที่ยืนหันหลังให้ต้นไม้ใหญ่นั้นคือ พระมารดา
พระหัตถ์ขวาของท่านเหนียวกิ่งไม้ ต้นไม้ใหญ่นี้คือ ต้นสาละสถานที่ประสูติรี้เรียกว่า "ลุมพินี" อยู่นอกเมืองกบิล
พัสดุ์เวลานี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล

เมื่อพระนางสิริมหามายาได้ประสูติพระโอรสในสวนลุมพินีเช่นนั้น ก็งดกลับพระนครเทวทหะแต่ได้นำกลับ คืนสู่นครกบิลพัสดุ์ พระเจ้าสุทโธทนะทรงดีพระทัย และทรง จัดให้พระเทวีและพระโอรสได้รับการเอาใจใส่เป็น อย่างดีบนทิวเขานอกเมืองกบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่แห่งฤษีจำนวนมาก. ในบรรดาฤษีเหล่านั้น มีมหาฤษีผู้สูงอายุ ชื่อ กาฬเทวิล เป็นที่เคารพนับถืออย่างสูงของชาวเมืองกบิลพัสดุ์. แม้พระเจ้าสุทโธทนะเองก็ทรงมีความเคารพรัก ใคร่ในฤษีรูปนี้เป็นพิเศษดังนั้น เมื่อฤษีผู้เฒ่าได้ทราบว่าพระราชาได้โอรส ประสูติใหม่เช่นนั้น ก็ได้มาสู่ราชสำนัก แห่งนครกบิลพัสดุ์ เพื่อดูพระราชกุมาร

เมื่อฤษีมาถึงพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงประสงค์จะให้ท่านอำนวยพรแก่พระโอรส พระองค์ จึงได้ทรงนำพระ กุมารมาเพื่อทำความเคารพแก่พระฤษี เมื่อพระฤษีได้เห็นพระ ราชกุมารแล้ว ได้กล่าวขึ้นว่า "มหา ราช เจ้า ! มันไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ที่ควรแสดง ความเคารพต่ออาตมาเสียแล้ว แต่เป็นอาตมาเองต่างหากที่ควรแสดง ความเคารพต่อ พระโอรสของพระองค์ อาตมาได้เห็นชัดแล้วว่า พระกุมารนี้มิใช่เป็นกุมารตามธรรมดา เมื่อพระกุมาร นี้เจริญวัยเติบโตเต็มที่แล้ว จะเป็นศาสดาเอกสอนธรรมอัน สูงสุดแก่โลกโดยแน่นอนทีเดียว อาตมามั่นใจว่าพระ กุมารนี้ต้องเป็นศาสดาอันสูงสุดที่โลกจะพึงมี เมื่อกล่าวดังนี้แล้ว พระฤษีได้นิ่งอึ้งอยู่ขณะหนึ่งมีใบหน้ายิ้มแย้ม
แจ่มใส แต่แล้วน้ำตาได้ค่อยๆ ไหลซึมออกมาทีละน้อย ๆ จนกระทั่งเป็นการร้องไห้ พระราชาจึงตรัสถามด้วย

ความตกพระทัยอย่างยิ่งว่าทำไมกัน เกิดเรื่องอะไรแก่พระคุณเจ้า เมื่อสักครู่พระคุณเจ้าได้ยิ้มอยู่ บัดนี้กลับร้อง
ไห้มีเหตุอันร้ายแรงอันใดจะเกิดขึ้นกับพระโอรสของข้าพเจ้าหรือพระลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะต้องด้วยตำรับ
มหาบุรุษลักษณ์ นุาภาพแผ่ไปไกล แต่ถ้าได้ออกบวชจะได้เป็นพระศาสดาผู้มีชื่อเสียงที่สุดในโลก และที่เราร้อง
ไห้ก็เพราะเชื่อแน่ว่า เจ้าชายราชกุมารนี้จะต้องออกบวชเพราะเหตุที่เชื่ออ่ย่างนี้เลยนึกถึงตัวท่านเองว่า"เรานี่แก่
เสียแล้ว" ก็เลยเสียใจว่าบุญน้อยไม่มีโอกาสที่จะได้รับฟังธรรมจากพราะพุทธเจ้า ภายหลังเจ้าชายราชกุมารได้
ประสูติ ๕ วันแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะพระราชบิดาได้โปรดให้มีการทำพิธีมงคลแก่พระราชกุมาร ๒ อย่าง คือ
ขนานนามและพยากรณ์พระลักษณะผู้ทำพิธีมงคลในการนี้คือพราหมณ์มีทั้งหมด ๑๐๘ พราหมณ์ แต่ผู้ที่ทำหน้า
ที่นี้จริงๆ มีเพียง ๘ พราหมณ์ มีรายนามดังนี้

๑. รามพราหมณ์ ๒. ลักษณพราหมณ์ ๓. ยัญญพราหมณ์ ๔. ธุชพราหมณ์

๕. โภชพราหมณ์ ๖. สุทัตตพราหมณ์ ๗. สุยามพราหมณ์ ๘. โกณทัญญพราหมณ์
ที่ประชุมลงมติขนานพระนามพระราชกุมารว่า "เจ้าชายสิทธัตถะ" ซึ่งเป็นมงคลนาม มีความหมายว่า
ผู้ทรงปรารถานาสิ่งใดจะสำเร็จสิ่งนั้นดังพระประสงค์ ซึ่งความคิดเห็นของพราหมณ์แยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
พราหมณ์ลำดับที่ ๑-๗ กล่าวว่า ถ้าเจ้าชายเสด็จอยู่ครองราชสิริสมบัติจะได้เป็พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงมีพระ
บรมเดชานุภาพมาก แต่ถ้าได้เสด็จออกทรงผนวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นศาสดาเอกของโลก
แต่มีพราหมณ์หนุ่มอายุเยาว์คนเดียว ที่พยกรณ์เป็นมติเดียวโดยว่า พระราชกุมารนี้จะเสด็จทรงผนวช และได้
เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน พราหมณ์ผู้นี้ต่อมา ได้เป็นพระอรหัตถ์สาวกองค์แรกที่รู้จักกันในนามว่า "พระอัญญา
โกณทัญญะ"นั่นเอง ในขณะนั้นพระองค์ต้องทรงประสพความเศร้าหมองพระทัย ด้วยพระนางสิริมหามายาได้
ทรงประชวรและไม่อาจกลับมีกำลังเข้มแข็งดังเดิม แม้ว่าจะได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด พระเทวีก็สิ้นพระชนม์ชีพ
ในวันที่สองนับแต่วันที่ได้มีการขนานนาม หรือนับเป็นวันที่เจ็ดจากวันที่พระนางได้ประสูติพระโอรส คนทุกคนได้
พากันเศร้าโศกและผู้ที่เศร้าโศกที่สุดคือ พระสวามีเพราะเหตุที่พระนางเป็นกุลสตรีที่ประเสริฐสุด เป็นพระเทวีที่มี
คุณธรรมสูงเหนือสตรีและเทวีทั้งหลาย พระราชาจำต้องทรงประทานพระโอรสให้อยู่ในความดูแลกับเทวีซึ่งเป็น
พระน้านางมีนามว่า "มหาปชาปดี" พระเทวีพระองค๋นี้ได้ทรงเอาพระทัยใส่ทะนุถนอมราวกับว่าเป็นพระราชโอ
รสของพระนางเอง

ในสมัยโบราณประเทศอินเดีย ว่าผู้ซึ่งทำหน้าที่ไถหว่านจนกระทั่งเกิดอาหารอันเป็นของจำเป็นสำ
หรับมนุษย์ นับว่าบุคคลนั้นทำสิ่งที่มีประโยชน์อันสูงสุดจึงได้เกิดเป็นประเพณีประจำปีขึ้นมา โดยแต่ละแคว้น
จะต้องผู้ครองนครจะต้องเสด็จสู่ท้องนาด้วยพระองค์เองพร้อมกับอำมาตย์ ข้าราชการ ณ.กรุงกบิลพัสดุ์ ในครั้ง
นั้นได้เสด็จพร้อมด้วยขบวนหลวงเพื่อทรงประกอบพิธีเรียกว่า "รัชชนังคลามงคล" พร้อมกับมีการเลี้ยงกันยิ่ง
ใหญ่ พระองค์ก็ทรงพาพระราชโอรสองค์น้อยไปด้วย แต่ทรงปล่อยไว้กับพี่เลี้ยง ครั้นถึงเวลาการกินเลี้ยง พี่
เลี้ยงก็พากันทยอยกันสู่ที่เลี้ยงกันหมดพากันลืมพระกุมารและทิ้งพระองค์ไว้เพียงลำพัง พระองค์จึงเสด็จดำเนิน
จนกระทั่งถึงต้นหว้าใหญ่ต้นหนึ่งและได้ประทับนั่ง ลงสำรวมจิตให้ว่างโปร่งพระองค์ได้ทรงเริ่มพิจารณาเป็นข้อ
แรกว่า ณ.ที่นี้ พระราชบิดา พร้อมทั้งอำมาตย์และชาวนาทั้งหลายได้พากันประกอบพิธีและสนุกสนานกับงาน
เลี้ยง แต่สำหรับว้วดูไม่สุขสบายเสียเลย มันต้องลากไถพื้นดินอันเหนียวต้องฉุดลากไถจนมันหมดแรงเหนื่อย
หอบ เจ้าชายสิทธัตถะได้พิจารณแม้ว่าในขณะบางแห่งมีความสนุกสนานบันเทิงกันก็ยังมีสิ่งอื่นอีกมากที่ไม่ได้
รับความผาสุกอย่างใดอยู่เลย

พระองค์ได้ทรงสังเกตความเคลื่อนไหวของนกและสัตว์เลี้ยงต่างๆ รวมทั้งแมงด้วย พระองค์ได้สังเกต
เห็นกิ้งก่าตัวหนึ่งวิ่งออกมาจากซอกใกล้ๆ พระบาทของพระองค์แล้วใช้ลิ้นอันรวดเร็วของมันแลบตวัดจับกินมด
ตัวเล็กๆ แต่ชั่วขณะนั้นงูตัวหนึ่งได้เลื้อยออกมางับเอากิ้งก่าตัวนั้นกิน และในขณะที่กำลังประหลาดใจนั่นเองก็
มีเหยี่ยวตัวหนึ่งได้บินถลาลงมาจากท้องฟ้าจับเอางูตัวนั้นไปกินเป็นอาหาร พระองค์ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง
และได้ถามพระองค์เองว่า เมื่อสิ่งต่างๆ มันเป็นดังนี้แล้ว ความสวยงามทั้งหลายที่ปรากฏอยู่ในชีวิตนี้ ย่อมมี
ความโสมมโดยประการทั้งปวงแฝงอยู่ ณ เบื้งหจ้าของมันมิใช่หรือ แม้พระองค์ยังทรงเยาว์วัยเช่นนี้และยังไม่
เคยได้รับความทุกข์ทรมารแต่อย่างใดเลยก็ตาม เมื่อมองดูโดยรอบๆ พระองค์และทรงพิจารณาในสิ่งนั้นๆ แล้วก็
มีความรู้สึกว่าความทุกข์อันใหญ่หลวงกำลังครอบงำคนและสัตว์จำนวนมากอยู่ตลอดเวลา เมื่อพระองค์ทรงรำพึง
อยู่เช่นนี้ จนกระทั่งหมดความรู้สึกต่อสิ่งทั้งปวงทรงพระทัยอันบริสุทธิ์ละอย่างวิสัย ผู้จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า
ในภายภาคหน้าได้รับความวิเวกก็เกิดเป็นสมธิ ขั้นแรกที่เรียกว่า "ปฐมฌาณ" พอแรกนาเสร็จตอนบ่าย พระพี่
เลี้ยงมองหาเจ้าชาย จนกระทั่งพบเห็นเงาไม้ที่ยังอยู่ที่เดิมเหมือนเวลาเที่ยงวัน ก็ไม่คล้อยตามเวลาก็เกิดความ
อัศจรรย์ใจ จึงได้นำความไปกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนะให้ทรงทราบ พระราชบิดาเสด็จมาทอดพระเนตรก็เกิด
ความอัศรรย์ใจเช่นกัน

พอเจ้าชายสิทธัตถะทรงมีพระชนมมายุพอสมควรแล้ว พระราชบิดาจึงทรงส่งไปศึกษาศิลปวิทยาที่
สำนักครูที่มีชื่อว่า "วิศวามิตร" เจ้าชายทรงศึกษาการใช้อาวุธยิงธนู การปกครองได้อย่างว่องไวจนสิ้นความรู้
ของอาจารย์และทรงศึกษาศิลปวิทยาจบแล้ว พระเจ้าสุทโธทนะทรงวุ่นวายพระทัยในการได้ทราบว่าพระโอรส
ทรงเริ่มมีความคิดนึกจริงจังและความหมายแท้จริงของชีวิตก่อนเวลาที่ควรจะเป็น ยิ่งนึกถึงคำกล่าวของฤษีที่
เคยกล่าวไว้เมื่อแรกประสูตินั้น บัดนี้จะเริ่มเป็นความจริงขึ้นมาแล้ว คือ ความคิดของพระโอรสได้เริ่มหมุนไปใน
ทางธรรมเสียแล้วหากความคิดนี้ไม่ระงับไปเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องละทิ้งบ้านเรือนและพระองคจะไม่มีพระโอรส
เป็นผู้สืบบัลลังก์ พระองค์ได้ทรงตกลงพระทัยต้องทำอะไรบางอย่างเพื่อโน้มน้าวให้พระโอรสออกห่างจากความ
คิดนั้น พระราชบิดาจึงตรัสสั่งให้สร้างปราสาท ๓ ฤดูเป็นจำนวน ๓ หลัง ให้ประทับเป็นที่สำราญพระทัย

ปราสาทหลังที่หนึ่งให้สร้างขึ้นด้วยไม้แก่นอย่างดี ภานในบุด้วยไม้สีดาอันมีกลิ่นหอม พระองค์ทรง
ประสงค์ให้พระโอรสประทับอยู่ตลอดฤดูหนาว ปราสาทหลังที่ ๒ สร้างขึ้นด้วยหินอ่อนขัดมันเย็บเฉียบเพื่อให้
เหมาะสมที่จะอาศัยอยู่ตลอดฤดูร้อน ส่วนปราสาทหลังที่ ๓ สร้างขึ้นด้วยอิฐอย่างดีหลังคามุงด้วยกระเบื้อง
สีเขียว เพื่อกันฝนอันตกหนักในฤดูมรสุม ส่วนบริเวณปราสาททรงให้จัดเป็นสวนอันรื่นรมย์ ประดับด้วยไม้ร่มเงา
และไม้ดอกบานนานาชนิด ส่วนสระน้ำให้ปลูกดอกบัวหลากหลายสี

ในที่สุดกาลเวลาผ่านไปเจ้าชายได้ทรงเริ่มเป็นหนุ่ม แต่สิ่งอันน่ารื่นรมย์เหล่านั้นก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่มี
คุณค่าอะไรในการที่จะหยุดความคิดอันลึกซึ้งของเจ้าชายได้เลย พระราชาได้ทรงสังเกตเห็นว่าทุกสิ่งพระองค์
จัดขึ้นนั้นเป็นที่ล้มเหลวจึงทรงเรียกประชุมอำมาตย์ทั้งหลาย เมื่อทรงพิจารณาครู่หนึ่งก็ทรงพบความคิดจึงให้
บรรดาหญิงงามเข้าสู่กรุงกบิลพัสดุ์เพื่อให้เดินผ่านเจ้าชายสิทธัตถะเพื่อให้พระองค์เป็นผู้เลือก เจ้าชายก็ไม่ได้
ทรงแสดงความพอใจใดๆ เลย กับสตรีทั้งหลายที่ได้เดินผ่านไป ในที่สุดสตรีสาวอีกคนหนึ่งเจ้าชายได้ทรงยิ้ม
ตอบและตรัสว่า "ฉันเสียใจที่รางวัลได้หมดไปแล้ว แต่เธอจงรับเอาสิ่งนี้ไปเถิด" พร้อมกับได้ทรงปลดพระสัง
วาลย์อันงดงามเป็นพิเศษจากพระศอของพระองค์แล้วทรงพันให้รอบข้อพระหัตถ์แห่งสตรีนั้น

ในวันต่อมาพระเจ้าสุทโธทนะได้ทรงจัดส่งคนของพระองค์ไปสู่สำนักเจ้าสุปปพุทธะเพื่อทูลขอพระธิดา
มีนามว่า "ยโสธรา" เพื่อสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งมีธรรมเนียใประเพณีอยู่อย่างหนึ่ง ในบรรดาเจ้าศากยะซึ่ง
เป็นเชื้อชาติที่มีความเข้มแข็งกล้าหาญแห่งเชิงเขาหิมาลัย ว่าเมื่อชายหนุ่มคนใดประสงค์จะสมรส ข้อแรกต้อง
แสดงให้คนทั้งหลายเห็นว่าตนเป็นผู้ฉลาดและเชี่ยวชาญในการขี่ม้า การใช้คันศรและลูกศร การใช้ดาบ ดังนั้น
เจ้าชายสิทธัตถะก็ต้องทำตามธรรมเนียมนี้ด้วย เจ้าชายทรงแสดงความสามาถผ่านการทดสอบเป็นอย่างดียิ่ง
ทรงพร้อมด้วยคุณสมบัติทุกอย่าง จึงมีพระราชพิธีอภิเษกสมรสซึ่งขณะนั้นเจ้าชายทรงมีพระชันษาได้ ๑๖ ปี

ขอกล่าวลำดับพระญาติวงศ์ตระกูลพระพุทธเจ้านั้นมีสองฝ่ายคือ ฝ่ายพระบิดาและฝ่ายพระมารดาทั้ง
สองฝ่ายอยู่กันคนละเมืองมีแม่น้ำโรหิณีไหลผ่านเป็นเขตกันพรมแดน พระญาติวงศ์ฝ่ายพระมารดามีชื่อว่า "โกลิ
ยวงศ์" ครองเมือง"เทวหะ" พระญาติวงศ์ฝ่ายพระบิดามีชื่อว่า "ศากยะวงศ์" ครองเมือง"กบิลพัสดุ์" ทั้ง
สองฝ่าย เกี่ยวดองกันเป็นพระญาติกัน มีความรักกันฉันท์พี่น้องร่วมสายโลหิตต่างอภิเษกสมรสกันและกันเสมอมา

สมัยพระพุทธเจ้าผู้ทรงอยู่ในฐานะครองเมืองเทวทหะคือ "พระเจ้าสุปปพุทธะ" ส่วนผู้ครองเมืองกบิล
พัสดุ์คือ"พระเจ้าสุทโธทนะ"พระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะมีพระนามว่า"พระนางอมิตา"เป็นกนิษฐภคินี คือ
น้องสาวคนเล็กของพระเจ้าสุทโธทนะกลับกันคือพระชายาของพระเจ้าสุทโธทนะหรือพระมารดาของพระพุทธเจ้า
มีพระนาว่า "พระนางมายา" พระนางเป็นน้องสาวของ พระเจ้าสุปปพุทธะ ส่วนพระเจ้าสุปปพุทธะมีพระโอรส
ชื่อ "เทวทัต" และพระธิดาคือ "พระนางพิมพายโสธรา"