ปัญหาน่าปวดหัวของผมและอีกหลายๆ คนเวลาใช้เน็ตก็คือ การที่ต้องมานั่งจำชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านมากมายก่ายกองเต็มไปหม ด ครั้นจะตั้งอันเดียวกันสำหรับทุกเว็บไซต์มันก็ออกจะขัดกับหลักก ารที่เหมาะสมด้านความปลอดภัยไปนิดนึง แถมยิ่งถ้าใครเป็นคนที่ห่วงข้อมูลของตนเองมากๆ และต้องเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ แล้วละก็ ยิ่งน่าปวดหัวใหญ่

ในที่สุดโปรเจ็กต์อย่าง OpenID ก็ถือกำเนิดขึ้นมา โปรเจ็กต์นี้เป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให ้เราสามารถใช้ ชื่อผู้ใช้ (username) เดียวเพื่อล็อกอินใช้งานเว็บไซต์อื่นๆ ที่รองรับ OpenID ได้โดยไม่ต้องมานั่งเสียเวลาลงทะเบียนใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่สำคัญเทคโนโลยีนี้ยังเป็นแบบโอเพนซอร์ส ทำให้มีอิสระและปราศจากการควบคุมจากบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ซึ่งตอนนี้มีคนที่ใช้ 120 ล้านราย ถ้ารวมกับประกาศความร่วมมือล่าสุดจากยาฮู จะทำให้มีคนที่สามารถใช้ OpenID เพื่อล็อกอินเข้าไซต์ต่างๆ เพิ่มขึ้นอีก 250 ล้านราย บนเว็บไซต์ที่รองรับ OpenID มากกว่า 9,000 แห่ง

สวรรค์จริงๆ ครับ .. คือ ความจริงผมรอให้ค่ายใหญ่ๆ สนับสนุน OpenID มาซักพักแล้ว และในที่สุดฝันก็เป็นจริง วิธีใช้ก็ไม่ยากครับ คือ ตอนล็อกอินก็แค่ใช้ชื่อผู้ใช้เดิม แต่ต้องแถมท้ายให้ด้วยว่า เป็นชื่อผู้ใช้จากเว็บไหน เป็น xxxx@yahoo.com หรือมองหาสัญลักษณ์การล็อกอินด้วย OpenID (ดูตัวอย่างได้ที่ openid.net หรือ openid.yahoo.com) ซึ่งการยืนยันตัวผู้ใช้จะถูกส่งมาประมวลผลที่ระบบของเจ้าของไอด ีดังกล่าว เช่น ที่ยาฮูซึ่งได้เพิ่มคุณสมบัติพิเศษในการซ่อนอีเมล์แอดเดรสของผู ้ใช้ไม่ให้เจ้าของเว็บไซต์อีกแห่งหนึ่งทราบอีเมล์ของเราได้ แต่ยังคงล็อกอินเข้าเว็บไซต์ได้ตามปกติ เป็นต้น

อยากทราบว่าตอนนี้มีเว็บไหนบ้างที่รองรับ OpenID ให้เข้าไปที่ openiddirectory.com ได้เลยครับ



นี่ยังไม่นับรวมกรณีที่ไมโครซอฟท์ประกาศร่วมโครงการ DataPortability.. เรียกว่าตอนนี้ไม่ว่าจะรายเล็กรายใหญ่ ต่างก็ให้ความสนใจกับมาตรฐานและโอเพนซอร์สอย่างจริงจัง น่ายินดีจริงๆ ครับ (สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม อ่านได้จาก http://www.dataportability.org