-
หน่วยความจำแบบแฟลชอาจไม่สามารถชิงตำแหน่งทำงานแทนที่ฮาร์ดดิสก์ในเร็ววันนี้ แต่มันก็จะเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการใช้งาน ก่อนที่เวลานั้นจะมาถึง James Morris ขออธิบายให้เราฟัง
ฮาร์ดดิสก์ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับเรามานานเกินกว่าที่คุณจะนึกภาพออก การนำเอาวัสดุมาใช้เป็นวัตถุดิบครั้งแรกนั้นเริ่มต้นในช่วงยุค 1950 และรูปแบบ IBM Winchester ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ได้กำเนิดขึ้นในปี 1973 นับตั้งแต่วันนั้นเกจิอาจารย์ทั้งหลายได้ทำนายวันสิ้นชะตาของฮาร์ดดิสก์อยู่หลายครั้
ง ด้วยการเพิ่มขึ้นของจำนวนหน่วยความจำแบบแฟลช (Flash memory) ในอุปกรณ์แบบพกพาทั้งหลาย ซึ่งทำให้มีราคาถูกลงกว่าเดิม เป็นเรื่องที่คาดการณ์กันไว้ว่าแหล่งเก็บข้อมูลแบบ Solid State Disk (SSD) จะมาแทนที่แหล่งเก็บข้อมูลแบบจักรกล-กลไกในเร็ววันนี้แน่นอน แต่ในขณะที่เรายังไม่พบสัญญาณใดๆ ส่อถึงเหตุการณ์ดังกล่าวนั้น มีเทคโนโลยีแบบใหม่กำลังก่อตัวอยู่ ซึ่งเป็นการใช้หน่วยความจำแบบแฟลชเป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งในการเก็บข้อมูลของเครื่
องพีซี
เวลาการขับเคลื่อน
เทคโนโลยีของฮาร์ดดิสก์ถูกหลอกหลอนด้วยปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Superparamagnetic ซึ่งเป็นสิ่งที่มากำหนดขนาดของอณูหรือขั้วอำนาจแม่เหล็กบนพื้นที่ฮาร์ดดิสก์นั้นๆ เมื่อขนาดดังกล่าวเล็กลงกว่าที่มันควรจะเป็น อุณหภูมิจะเพิ่มมากขึ้นจนสามารถเบี่ยงเบนขั้วแม่เหล็กบนจานดิสก์ให้ผิดไปได้ ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ฮาร์ดดิสก์นั้นเกิดความไร้เสถียรภาพ เมื่อวันเวลาผ่านไป ปรากฏการณ์ Superparamagnetic ก็ชะลอตัวลงเนื่องจากการพัฒนาวิธีการอ่านเขียนข้อมูลในแนวดิ่ง (perpendicular) ซึ่งเอื้อให้ขนาดของอณูอำนาจแม่เหล็กนั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นและใส่บนไปบนพื้นผิวของฮาร์ด
ดิสก์ในแนวตั้ง หากเป็นการอ่านเขียนข้อมูลในแนวนอนธรรมดา อณูจะวางเรียงตัวกันไปในแนวนั้น ซึ่งกินพื้นที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวแล้ว การอ่านเขียนในแนวดิ่งเป็นเพียงแค่วิธีการเยื้อวันตายของฮาร์ดดิสก์ไปเท่านั้นเอง
http://technology.msnth2.com/feature...g/scr_2880.jpg
Samsung และ Seagate ได้ออกไดรฟ์ลูกผสมมาแล้ว ซึ่งมีหน่วยความจำแบบแฟลชติดตั้งเป็นบัฟเฟอร์ลงไปบนฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
หน่วยความจำแบบแฟลชนั้นใช้พลังงานน้อยกว่าจานดิสก์แบบกลไก ฮาร์ดดิสก์ขนาด 2.5 นิ้ว 5K160 ของ Hitachi สิ้นพลังงานเพียงแค่ 1.8W ขณะอ่านและเขียน และ 0.8W ขณะที่ไม่ได้ทำงานใดๆ ในทางกลับกัน ไดรฟ์แบบ SSD ของ Samsung ซึ่งใช้หน่วยความจำแฟลชใช้กำลังไฟเพียงแค่ 0.5W สำหรับการอ่านและเขียน และสุดแสนเล็กน้อยจนแทบจะมาตรมิได้เพียง 0.01W ขณะที่ไม่ได้ทำงานใดๆ
http://technology.msnth2.com/feature...s/scr_2881.jpg
รู้จักกับ
ROBSON
เทคโนโลยี Robson ของ Intel จับเอาหน่วยความจำแบบแฟลชเชื่อมตรงกับเมนบอร์ด ผ่านสล็อต PCI Express ตรงไปส่วนชิปเซต Southbridge
นอกเหนือไปจากนั้น หน่วยความจำแบบแฟลชใช้เวลาการเข้าถึงข้อมูลน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ Western Digital Raptor X ความเร็ว 10,000rpm ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์ SATA ที่เร็วที่สุดในปัจจุบันนี้ ใช้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลราวๆ 8ms แต่หน่วยความจำแบบแฟลชใช้เวลาการเข้าถึงข้อมูลต่ำกว่า 100 ไมโครวินาที ซึ่งเร็วกว่าราวๆ 100 เท่าตัว ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ ฮาร์ดดิสก์แบบแฟลชนั้นให้ความเร็วในการใช้งานทั่วไปอย่างน้อยก็เร็วกกว่าฮาร์ดดิสก์แ
บบธรรมดาถึง 25-50%
http://technology.msnth2.com/feature...s/scr_2879.jpg
Samsung ได้สร้างแหล่งเก็บข้อมูลแบบ Solid State ซึ่งใช้หน่วยความจำแบบแฟลช ที่มีความจุสูงถึง 32GB
นอกเหนือไปจากการที่ Samsung เป็นรายแรกที่แถลงเทคโนโลยี HHD มันก็ยังเป็นการพัฒนาร่วมกับ Microsoft ด้วย อันที่จริงเทคโนโลยีสองตัวใน Windows Vista จะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ ReadyDrive คือคุณสมบัติการรองรับ Hybrid drive ใน Windows Vista และไดรเวอร์คือสิ่งจำเป็นที่จะจัดการการทำงานของไดรฟ์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี Microsoft ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่เหนือความคาดหมายในทำนองของลูกผสม ด้วยความแพร่หลายของ USB แฟลชไดรฟ์ Windows Vista มาพร้อมกับ ReadyBoost ซึ่งใครๆ ก็สามารถใช้งานได้ทันที แทนที่จะต้องมีหน่วยความจำแฟลชติดลงไปกับตัวฮาร์ดดิสก์ ReadyBoost สามารถให้คุณใช้แฟลชไดรฟ์ทั่วไปได้ทันที ในเดือนกรกฎาคม Samsung ได้ออกไดรฟ์ 4GB ATA SSD ซึ่งตั้งเป้าไว้ใช้กับ ReadyBoost โดยเฉพาะ
บางทีรูปแบบของแนวคิดลูกผสมดังกล่าวอีกอย่างหนึ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติมากกว่าใค
รอื่นก็คือแนวคิดจาก Intel ที่เรียกว่า Robson แทนที่จะต้องมุ่งพึ่งพาการใช้ฮาร์ดดิสก์หรือหน่วยความจำแฟลชของบริษัทอื่นใดมาร่วมทำ
งานด้วยกัน Robson ใช้การจัดวางลงไปตรงๆ บนเมนบอร์ดเลย เชื่อมต่อกับส่วน Southbridge ผ่าน PCI Express ด้วยวิธีเช่นนั้น ฮาร์ดดิสก์ใดๆ ก็สามารถใช้งานร่วมกันได้ ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องความเข้ากันได้ของอุปกรณเลย
ประโยชน์ของ ReadyDrive ก็คือเรื่องของการบริโภคพลังงาน ดังนั้นมันก็จะมุ่งไปที่ตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา แต่ด้วยระบบ ReadyBoost พร้อมความจุ 4GB ให้ใช้กันแล้วในวันนี้ แนวคิดลูกผสมดังกล่าวก็ดูเหมือนว่าจะนิรนัยให้ประจักษ์แล้วว่าเครื่องเดสก์ท็อปก็รับ
อานิสงส์ด้วยไม่ต่างกัน ดังนั้น กว่า SSD จะมาแทนที่ HDD นั้นคงต้องถูกทำนายว่าเป็นเวลาอีกยาวนั้น และที่เกิดขึ้นในเวลานี้ก็คือการเข้ามามีส่วนร่วมกับวิถีใช้งานสามัญของเราด้วยกายลั
กษณ์ในบริบทที่ล้ำกว่าที่เราคิดไว้ตอนแรก
Credit:http://technology.msnth2.com/