asylu3
24-06-2003, 07:33 PM
แข่งขันกับตัวแทนจากอีก 25 ประเทศ ถือเป็นเวทีการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความสามารถอีกเวทีหนึ่ง
ทว่า เบื้องหลังความสำเร็จของการได้เป็นแชมป์ประเทศไทย และได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลย เพราะก่อนที่จะมาถึงวันที่เป็นตัวแทนประเทศไทย วิวัฒน์ พงษ์สุวรรณ (อ้วน), ธีระ อยู่สุข (ระ), พงศ์พันธ์ อักษรพันธ์ (ปิ๊ก) และดนัย นามโมรา (นัย) พวกเขาทั้ง 4 ในนามทีม Yuppicide จากรั้วสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) ต่างพบกับความผิดหวังกับการแข่งขันครั้งก่อนๆ มานักต่อนัก เพราะต่างเคยมีประสบการณ์ตกรอบคัดเลือกในการแข่งขันมาแล้ว
- รวมเป็นทีมเดียวกันได้อย่างไร
วิวัฒน์ (อ้วน) : ผมเริ่มสนใจอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ ม.3 เริ่มจากการทำวิทยุ FM ครับ พอมีเสียงออกมาได้เนี่ย ดีใจมาก แต่ก็ต้องหยุดไปครับ เพราะว่าเรียน ปวช.หนักมากๆ ครับ เลยไม่ค่อยมีเวลา ส่วนหุ่นยนต์นี้ก็
มาจากความงงที่เป็นอะลูมิเนียมเดินได้ครับ และไม่ได้เดินเปล่าๆ แต่เดินตามเส้นด้วย
ตอนแรกก็ไม่รู้จะเริ่มทำยังไง เพราะว่านิสัยเดิมครับ ขี้อาย แล้วก็มาอยู่ปี 2 ครับ บอกเพื่อนที่เคยทำหุ่นยนต์ครับ ว่าผมอยากทำครับ เย็นวันนั้นเอง เพื่อนก็โทรมาตามครับว่ามีคนฟอร์มทีมเอาไว้ครับแต่มีแค่ 2 คนคือ ปิค กับ บอล ผมก็เลยเข้าร่วมและเริ่มแข่งขันตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนถึงปีนี้บอลมีปัญหาเรื่องเกรดก็เลยออกไปครับ แล้ว นัย ก็อาสามาทำแทนแล้วก็ดึง ระ มาช่วยครับ ก็เป็นอันว่าครบทีม โดยผมจะออกแบบแล้วก็สร้างอุปกรณ์ ที่ยากๆ นัยจะเป็นคนทำ ปิคจะรับผิดชอบเรื่องวงจรที่ใช้ควบคุมมอเตอร์ และ ระ ทำหน้าที่โปรแกรมเมอร์ครับ
แล้วเอาชื่อ อาจารย์ชัยยุทธ์ บูรณะสิงห์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยที่อาจารย์ไม่รู้ตัวครับ แล้วค่อยบอกทีหลังครับ ทำงานก็ทำแบบแอบทำ ขวางทางเดินเข้าออกคนอื่นครับ แต่อาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร เพราะว่า รู้ว่าไม่มีที่ทำจริงๆ ครับ ส่วนเรื่องงบสนับสนุน พอรู้ว่ามีสิทธิเข้าแข่งขัน คณะก็สนับสนุนมา 20,000 บาท แล้วก็บริหารกันเอง ผ่านรอบคัดเลือก เงินเหลือ 700 บาท
- แล้วจุดเริ่มต้นจริงๆ ของการหันมาสนใจหุ่นยนต์ล่ะ
วิวัฒน์ : โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนขี้สงสัย เป็นช่างแกะ แกะหมด เพราะงง ว่า มันทำงานได้ยังไง แล้วก็มักจะหาคำตอบด้วยการลองทำดูน่ะครับ ก็เลยชอบประดิษฐ์โน่นทำนี่อยู่เรื่อย
ธีระ (ระ) : สมัย ม.ต้น ผมสนใจเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพวกที่ชอบรื้อข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ออกมาดูข้างในว่ามันทำงานยังไง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางทีรื้อแล้วประกอบคืนไม่ได้ก็มี ชอบอ่านหนังสือโครงงาน วารสาร เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Hobby Electronic เป็นต้น จากนั้นจบม.3 ผมจึงเรียนต่อสายอาชีพในช่างอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า อย่างเต็มที่ และหลังจากเข้ามาเรียนที่พระนครเหนือได้ไม่นานก็มีรุ่นพี่ชักจูงเข้าสู่วงการแข่งหุ่นยนต์ โดยเริ่มจากการเป็นลูกมือคอยช่วยเหลือ ต่อมาก็มีทีมเป็นของตัวเองลงแข่งในรายการต่างๆ ครับ
พงศ์พันธ์ ( ปิ๊ก) : สนใจหุ่นยนต์มาตั้งแต่เรียน ปวช. แล้วแต่มีโอกาสได้ทำจริงตอนปริญญาตรี ปี 1 เพราะเห็นว่าพี่ปี 3 ทำหุ่นแล้วได้แชมป์โลกที่ญี่ปุ่น เลยอยากทำบ้าง เริ่มทำงานแรก tpa robot contest 2001 แล้วเจอเพื่อนที่อยากทำอีก 2 คน ตอนนั้นยังไม่มีความรู้อะไรเลยต้องศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครมาคอยแนะนำ ใช้เวลากับหุ่นมากกว่าการเรียน ขาดเรียนบ่อย เกรดลด สอบตก หุ่นก็ตกรอบอีก เลยรู้ว่าแบ่งเวลาไม่ถูก
ดนัย (นัย) : เหมือนกับปิ๊กครับ เริ่มเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เห็นพี่ๆ ทําและการแข่งขันที่สนุก รางวัลที่ได้ และการได้รู้จักเพื่อนจากต่างสถาบัน
- ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนอะไรบ้าง
ดนัย : ผมมองว่า การแข่งขัน 3 เวทีก่อน แต่ละเวทีจะมีรูปแบบการแข่งขันแตกต่างกัน ฉะนั้นในการออกแบบจะต้องออกแบบให้เหมาะกับการทํางาน ซึ่งรวมถึงการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะกับ machanic ของเราด้วย
ทุกรายการจะเป็นการแข่งเป็นทีมและแข่งขันในช่วงเปิดภาคเรียน ฉะนั้นการออกแบบจะเป็นการรวมความคิดเห็นของทุกคน มีคิดไม่ตรงกันบ้าง แต่ก็ปรับเข้าหากันได้ รู้จักการแบ่งงานกัน
วิวัฒน์ : สำหรับผมมองว่า การทำกิจกรรมเป็นการสอนให้เรารู้จักการใช้ชีวิตมากกว่าครับ เพราะว่าการที่เราจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีความคิดที่รอบคอบน่ะครับ รู้จักการแบ่งเวลา หรือว่ารู้จักการวางตัวในการทำกิจกรรม จะทำอย่างไรให้คนอื่นนับถือ หรือเกรงใจ แต่ก็ไม่ใช่ชี้นิ้วสั่งคนอื่นนะครับ
และที่ผ่านมาผมก็ตกรอบมาตลอด แต่ทำไมผมต้องหยุด ก็แค่เอาสิ่งที่เราอยากทำแต่ทำพลาด มาทำใหม่ เอาแรงผลักดันจากสิ่งที่ผิดพลาดมาทำให้สิ่งที่เรากำลังจะทำใหม่ให้มันดีอ่ะครับ
ธีระ : จากประสบการณ์แข่งขันที่ผ่านมา ช่วยสอนให้ผมมีความรู้มากเลยครับ ยิ่งความรู้ด้านการปฏิบัติจริงซึ่งนอกเหนือจากการเรียนแต่ทฤษฎี ที่มีแต่ท่องจำสูตร รึไม่ก็ดูแต่โมเดล ไม่เคยดูของจริง ซึ่งถ้าเราได้มาปฏิบัติจริงแล้ว เราก็จะรู้ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ ว่าบางทีมันก็มีสิ่งที่แตกต่างกันบ้าง
ส่วนเรื่องของการทำงาน จะช่วยฝึกใหัเรามีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งงานกันทำเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน เมื่อเอามารวมกันก็สามารถทำงานได้
สำหรับการแบ่งเวลานั้น แรกๆ ก็ทำหลังเลิกเรียนบ้าง งานล่าสุดดีหน่อย ทำช่วงปิดเทอม แต่ตอนเปิดเทอมช่วงใกล้วันแข่ง ก็จะเบียดเวลาเรียนบ้างนิดหน่อย (โดดเรียนนั่นเอง) แต่ไม่ดีนะครับ เด็กๆ ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ผลการแข่งที่ผ่านมา 6 ครั้ง จะเห็นว่ามีชนะบ้างแพ้บ้าง นั้นก็เป็นบทเรียนให้เราไปใช้ในการแข่งครั้งต่อไป เอาความผิดพลาดที่ผ่านมาแก้ไขในครั้งต่อไป
พงศ์พันธ์ : การทำหุ่นยนต์หลายๆ งานที่ผ่านมา ช่วยให้เราเอาความรู้ที่เรียนมาแล้วมาใช้จริงได้ แล้วยังได้ความรู้จากการค้นคว้าเองอีกด้วย ผมว่ามันเป็นหลักของ child center สมควรที่กระทรวงศึกษาฯ จะนำไปใช้ในงานสอนปัจจุบันของทุกระดับชั้นนะ และนอกจากนี้ผมคิดว่า ก่อนที่ผมจะขึ้นไปเป็นเจ้านายใคร ผมต้องรู้ในงานนั้นมาบ้างก่อนแล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้ในตำราอย่างเดียว แล้วเอาออกมาใช้ไม่เป็น นั่นแหล่ะถึงจะไปใช้คนอื่นเขา
จากการแข่งเอง เวลาชนะใครๆ ก็ดีใจทั้งนั้นแหล่ะ แต่ก่อนที่จะชนะมันก็ต้องตกรอบมาก่อน มันทำให้เสียใจจนต้องพยายามเอาชนะมันให้ได้ พอเราตกรอบบ่อยๆ ก็ช่วยให้เรารู้ข้อผิดพลาดมากขึ้น พอข้อผิดพลาดเราน้อยลงมันก็ชนะอย่างเนี้ยแหล่ะครับ
ผมไม่เคยรู้สึกท้อจากการทำงาน แต่ท้อเวลาเอาหุ่นไปแข่งแล้วมันไม่ได้อย่างที่ใจคิด ก็ได้แต่ยอมรับว่ามันไม่ดีครับ พอคิดได้แล้วก็กลับมาทำอีก จะได้ไม่ต้องมานั่งท้อแบบเมื่อวาน
ไซด์บาร์ /ข้อมูลส่วนบุคคล
วิวัฒน์ พงษ์สุวรรณ (อ้วน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต ปีที่ 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ TPA Robocon Contest 2002 พิชิตภูเขาไฟฟูจิ
. รายการ Flying Robot
. รายการ KMITNB GSM ADVANCE Robot Contest
. รายการแข่งขันเรือบังคับภายใน
. ช่วยคณะซ่อมหุ่นยนต์ แคทตาเป๊า (catapaut) ที่ใช้ในพิธีเปิดงานสัมผัสโลกวิศวกรรมศาสตร์
ธีระ อยู่สุข (ระ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงควบคุมอัตโนมัติ ปี 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ Robot ที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ปี 2543
. รายการ Intelligent Robot Contest จัดโดย ม.เกษตรศาสตร์ กลางปี 2544
. รายการ Intelligent Robot Contest Kanakawa ที่เมือง Yokohama ประเทศญี่ปุ่น ปลายปี 2544
. รายการ Fying Robot (หุ่นยนต์บิน) จัดโดย nectech
. รายการ KMITNB GSM ADVANCE ROBOT 2002 จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลางปี 2545
. รายการ Robocup Thailand Championship 2002 จัดโดย ม.ธรรมศาสตร์ ปลายปี 2545
พงศ์พันธ์ อักษรพันธ์ (ปิ๊ก) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าปี 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ TPA robot contest 2001 "พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ"
. รายการ gsm advance robot contest
. การแข่งขัน เรือบังคับวิทยุ ในงานสัมผัสโลกวิศวกรรมที่ สจพ.
ดนัย นามโมรา (นัย) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ interregen robot
. รายการ Constrution Robot ในงาน KMITNB GSM advance robotcontest
. รายการ Flying robot contest
ทว่า เบื้องหลังความสำเร็จของการได้เป็นแชมป์ประเทศไทย และได้รับรางวัลเทคนิคยอดเยี่ยมระดับอุดมศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเลย เพราะก่อนที่จะมาถึงวันที่เป็นตัวแทนประเทศไทย วิวัฒน์ พงษ์สุวรรณ (อ้วน), ธีระ อยู่สุข (ระ), พงศ์พันธ์ อักษรพันธ์ (ปิ๊ก) และดนัย นามโมรา (นัย) พวกเขาทั้ง 4 ในนามทีม Yuppicide จากรั้วสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (สจพ.) ต่างพบกับความผิดหวังกับการแข่งขันครั้งก่อนๆ มานักต่อนัก เพราะต่างเคยมีประสบการณ์ตกรอบคัดเลือกในการแข่งขันมาแล้ว
- รวมเป็นทีมเดียวกันได้อย่างไร
วิวัฒน์ (อ้วน) : ผมเริ่มสนใจอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ ม.3 เริ่มจากการทำวิทยุ FM ครับ พอมีเสียงออกมาได้เนี่ย ดีใจมาก แต่ก็ต้องหยุดไปครับ เพราะว่าเรียน ปวช.หนักมากๆ ครับ เลยไม่ค่อยมีเวลา ส่วนหุ่นยนต์นี้ก็
มาจากความงงที่เป็นอะลูมิเนียมเดินได้ครับ และไม่ได้เดินเปล่าๆ แต่เดินตามเส้นด้วย
ตอนแรกก็ไม่รู้จะเริ่มทำยังไง เพราะว่านิสัยเดิมครับ ขี้อาย แล้วก็มาอยู่ปี 2 ครับ บอกเพื่อนที่เคยทำหุ่นยนต์ครับ ว่าผมอยากทำครับ เย็นวันนั้นเอง เพื่อนก็โทรมาตามครับว่ามีคนฟอร์มทีมเอาไว้ครับแต่มีแค่ 2 คนคือ ปิค กับ บอล ผมก็เลยเข้าร่วมและเริ่มแข่งขันตั้งแต่ปีที่ผ่านมา จนถึงปีนี้บอลมีปัญหาเรื่องเกรดก็เลยออกไปครับ แล้ว นัย ก็อาสามาทำแทนแล้วก็ดึง ระ มาช่วยครับ ก็เป็นอันว่าครบทีม โดยผมจะออกแบบแล้วก็สร้างอุปกรณ์ ที่ยากๆ นัยจะเป็นคนทำ ปิคจะรับผิดชอบเรื่องวงจรที่ใช้ควบคุมมอเตอร์ และ ระ ทำหน้าที่โปรแกรมเมอร์ครับ
แล้วเอาชื่อ อาจารย์ชัยยุทธ์ บูรณะสิงห์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยที่อาจารย์ไม่รู้ตัวครับ แล้วค่อยบอกทีหลังครับ ทำงานก็ทำแบบแอบทำ ขวางทางเดินเข้าออกคนอื่นครับ แต่อาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร เพราะว่า รู้ว่าไม่มีที่ทำจริงๆ ครับ ส่วนเรื่องงบสนับสนุน พอรู้ว่ามีสิทธิเข้าแข่งขัน คณะก็สนับสนุนมา 20,000 บาท แล้วก็บริหารกันเอง ผ่านรอบคัดเลือก เงินเหลือ 700 บาท
- แล้วจุดเริ่มต้นจริงๆ ของการหันมาสนใจหุ่นยนต์ล่ะ
วิวัฒน์ : โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนขี้สงสัย เป็นช่างแกะ แกะหมด เพราะงง ว่า มันทำงานได้ยังไง แล้วก็มักจะหาคำตอบด้วยการลองทำดูน่ะครับ ก็เลยชอบประดิษฐ์โน่นทำนี่อยู่เรื่อย
ธีระ (ระ) : สมัย ม.ต้น ผมสนใจเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพวกที่ชอบรื้อข้าวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน ออกมาดูข้างในว่ามันทำงานยังไง รู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง บางทีรื้อแล้วประกอบคืนไม่ได้ก็มี ชอบอ่านหนังสือโครงงาน วารสาร เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Hobby Electronic เป็นต้น จากนั้นจบม.3 ผมจึงเรียนต่อสายอาชีพในช่างอิเล็กทรอนิกส์ ก็ได้ความรู้ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า อย่างเต็มที่ และหลังจากเข้ามาเรียนที่พระนครเหนือได้ไม่นานก็มีรุ่นพี่ชักจูงเข้าสู่วงการแข่งหุ่นยนต์ โดยเริ่มจากการเป็นลูกมือคอยช่วยเหลือ ต่อมาก็มีทีมเป็นของตัวเองลงแข่งในรายการต่างๆ ครับ
พงศ์พันธ์ ( ปิ๊ก) : สนใจหุ่นยนต์มาตั้งแต่เรียน ปวช. แล้วแต่มีโอกาสได้ทำจริงตอนปริญญาตรี ปี 1 เพราะเห็นว่าพี่ปี 3 ทำหุ่นแล้วได้แชมป์โลกที่ญี่ปุ่น เลยอยากทำบ้าง เริ่มทำงานแรก tpa robot contest 2001 แล้วเจอเพื่อนที่อยากทำอีก 2 คน ตอนนั้นยังไม่มีความรู้อะไรเลยต้องศึกษาเองเป็นส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีใครมาคอยแนะนำ ใช้เวลากับหุ่นมากกว่าการเรียน ขาดเรียนบ่อย เกรดลด สอบตก หุ่นก็ตกรอบอีก เลยรู้ว่าแบ่งเวลาไม่ถูก
ดนัย (นัย) : เหมือนกับปิ๊กครับ เริ่มเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เห็นพี่ๆ ทําและการแข่งขันที่สนุก รางวัลที่ได้ และการได้รู้จักเพื่อนจากต่างสถาบัน
- ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนอะไรบ้าง
ดนัย : ผมมองว่า การแข่งขัน 3 เวทีก่อน แต่ละเวทีจะมีรูปแบบการแข่งขันแตกต่างกัน ฉะนั้นในการออกแบบจะต้องออกแบบให้เหมาะกับการทํางาน ซึ่งรวมถึงการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะกับ machanic ของเราด้วย
ทุกรายการจะเป็นการแข่งเป็นทีมและแข่งขันในช่วงเปิดภาคเรียน ฉะนั้นการออกแบบจะเป็นการรวมความคิดเห็นของทุกคน มีคิดไม่ตรงกันบ้าง แต่ก็ปรับเข้าหากันได้ รู้จักการแบ่งงานกัน
วิวัฒน์ : สำหรับผมมองว่า การทำกิจกรรมเป็นการสอนให้เรารู้จักการใช้ชีวิตมากกว่าครับ เพราะว่าการที่เราจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ เราต้องมีความคิดที่รอบคอบน่ะครับ รู้จักการแบ่งเวลา หรือว่ารู้จักการวางตัวในการทำกิจกรรม จะทำอย่างไรให้คนอื่นนับถือ หรือเกรงใจ แต่ก็ไม่ใช่ชี้นิ้วสั่งคนอื่นนะครับ
และที่ผ่านมาผมก็ตกรอบมาตลอด แต่ทำไมผมต้องหยุด ก็แค่เอาสิ่งที่เราอยากทำแต่ทำพลาด มาทำใหม่ เอาแรงผลักดันจากสิ่งที่ผิดพลาดมาทำให้สิ่งที่เรากำลังจะทำใหม่ให้มันดีอ่ะครับ
ธีระ : จากประสบการณ์แข่งขันที่ผ่านมา ช่วยสอนให้ผมมีความรู้มากเลยครับ ยิ่งความรู้ด้านการปฏิบัติจริงซึ่งนอกเหนือจากการเรียนแต่ทฤษฎี ที่มีแต่ท่องจำสูตร รึไม่ก็ดูแต่โมเดล ไม่เคยดูของจริง ซึ่งถ้าเราได้มาปฏิบัติจริงแล้ว เราก็จะรู้ข้อแตกต่างระหว่างทฤษฎีกับปฏิบัติ ว่าบางทีมันก็มีสิ่งที่แตกต่างกันบ้าง
ส่วนเรื่องของการทำงาน จะช่วยฝึกใหัเรามีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งงานกันทำเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน เมื่อเอามารวมกันก็สามารถทำงานได้
สำหรับการแบ่งเวลานั้น แรกๆ ก็ทำหลังเลิกเรียนบ้าง งานล่าสุดดีหน่อย ทำช่วงปิดเทอม แต่ตอนเปิดเทอมช่วงใกล้วันแข่ง ก็จะเบียดเวลาเรียนบ้างนิดหน่อย (โดดเรียนนั่นเอง) แต่ไม่ดีนะครับ เด็กๆ ไม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง ผลการแข่งที่ผ่านมา 6 ครั้ง จะเห็นว่ามีชนะบ้างแพ้บ้าง นั้นก็เป็นบทเรียนให้เราไปใช้ในการแข่งครั้งต่อไป เอาความผิดพลาดที่ผ่านมาแก้ไขในครั้งต่อไป
พงศ์พันธ์ : การทำหุ่นยนต์หลายๆ งานที่ผ่านมา ช่วยให้เราเอาความรู้ที่เรียนมาแล้วมาใช้จริงได้ แล้วยังได้ความรู้จากการค้นคว้าเองอีกด้วย ผมว่ามันเป็นหลักของ child center สมควรที่กระทรวงศึกษาฯ จะนำไปใช้ในงานสอนปัจจุบันของทุกระดับชั้นนะ และนอกจากนี้ผมคิดว่า ก่อนที่ผมจะขึ้นไปเป็นเจ้านายใคร ผมต้องรู้ในงานนั้นมาบ้างก่อนแล้ว ไม่ใช่สักแต่ว่ารู้ในตำราอย่างเดียว แล้วเอาออกมาใช้ไม่เป็น นั่นแหล่ะถึงจะไปใช้คนอื่นเขา
จากการแข่งเอง เวลาชนะใครๆ ก็ดีใจทั้งนั้นแหล่ะ แต่ก่อนที่จะชนะมันก็ต้องตกรอบมาก่อน มันทำให้เสียใจจนต้องพยายามเอาชนะมันให้ได้ พอเราตกรอบบ่อยๆ ก็ช่วยให้เรารู้ข้อผิดพลาดมากขึ้น พอข้อผิดพลาดเราน้อยลงมันก็ชนะอย่างเนี้ยแหล่ะครับ
ผมไม่เคยรู้สึกท้อจากการทำงาน แต่ท้อเวลาเอาหุ่นไปแข่งแล้วมันไม่ได้อย่างที่ใจคิด ก็ได้แต่ยอมรับว่ามันไม่ดีครับ พอคิดได้แล้วก็กลับมาทำอีก จะได้ไม่ต้องมานั่งท้อแบบเมื่อวาน
ไซด์บาร์ /ข้อมูลส่วนบุคคล
วิวัฒน์ พงษ์สุวรรณ (อ้วน) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการผลิต ปีที่ 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ TPA Robocon Contest 2002 พิชิตภูเขาไฟฟูจิ
. รายการ Flying Robot
. รายการ KMITNB GSM ADVANCE Robot Contest
. รายการแข่งขันเรือบังคับภายใน
. ช่วยคณะซ่อมหุ่นยนต์ แคทตาเป๊า (catapaut) ที่ใช้ในพิธีเปิดงานสัมผัสโลกวิศวกรรมศาสตร์
ธีระ อยู่สุข (ระ) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า แขนงควบคุมอัตโนมัติ ปี 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ Robot ที่ ม.เทคโนโลยีสุรนารี ปี 2543
. รายการ Intelligent Robot Contest จัดโดย ม.เกษตรศาสตร์ กลางปี 2544
. รายการ Intelligent Robot Contest Kanakawa ที่เมือง Yokohama ประเทศญี่ปุ่น ปลายปี 2544
. รายการ Fying Robot (หุ่นยนต์บิน) จัดโดย nectech
. รายการ KMITNB GSM ADVANCE ROBOT 2002 จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลางปี 2545
. รายการ Robocup Thailand Championship 2002 จัดโดย ม.ธรรมศาสตร์ ปลายปี 2545
พงศ์พันธ์ อักษรพันธ์ (ปิ๊ก) คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาไฟฟ้าปี 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ TPA robot contest 2001 "พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ"
. รายการ gsm advance robot contest
. การแข่งขัน เรือบังคับวิทยุ ในงานสัมผัสโลกวิศวกรรมที่ สจพ.
ดนัย นามโมรา (นัย) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิศวกรรมไฟฟ้า ชั้นปีที่ 4
ผลงานในอดีต
1. รายการ interregen robot
. รายการ Constrution Robot ในงาน KMITNB GSM advance robotcontest
. รายการ Flying robot contest