parktobo1
05-07-2010, 06:13 AM
การเจริญสมาธิแบบปล่อยวางและพิจารณาอารมณ์
กัมมัฏฐาน มี ๔๐ วีธี ใครจะใช้วิธีไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงให้ถูกกับจริตของตนเป็นใช้ได้ หลวงปู่เทสก์บอกว่า การเจริญภาวนากัมมัฏฐานจะกำหนดพุทโธๆ ๆ หรือ อรหังๆ ๆ หรือ สัมมาอรหังๆ ๆ หรือ มรณังๆ ๆ หรือกายคตาสติก็ทำได้ทั้งนั้น ไม่มีขีดขั้น ข้อสำคัญคือการเจริญนั้นๆ จิตจะรวมลงสู่จุดเดียวได้หรือไม่ ถ้ารวมลงได้ก็เรียกว่าสมถะด้วยกันทั้งนั้น
การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ จิตใจต้องมั่นคง อย่ามัวไหลไปตามกระแส ใครว่ามีอะไรดีที่ไหนก็ไปตามเขา พอเขาเปลี่ยนใจ เราก็เปลี่ยนใหม่อีก จิตใจโลเล จิตใจวุ่นเสียแล้วแต่ต้นอย่างนี้ จะหาความก้าวหน้าจากการเจริญสมาธิไม่ได้เลย หลวงปู่เทสก็บอกว่าหลักธรรมที่แท้มิได้เกิดจากความคิดที่ส่งออก แต่เกิดจากการคิดค้นตรงเข้ามาหาของจริงที่มีอยู่ในตัวนี้ เมื่อเราค้นเข้ามาหาของจริงในตัวนี้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ (คือคิดค้นอยู่ในที่อันเดียว)ต่อนั้นไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในรัศมี ของจิต ก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดเป็นธรรมไปทั้งหมด
อุบายในการเข้าถึง ธรรมมีมิใช่น้อย ถ้ารู้จักฉุกคิดขณะที่พระกำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ตัวพระเองอาจบรรลุถึงธรรมก็ได้ ถ้าส่งใจไปตามกระแสธรรมที่ตนแสดงจนเกิดสมาธิและปัญญา ขณะที่เรากำลังถูบ้านถูไปถูมา เราคิดถึงจิตของตนว่า ถ้าจิตของเรามีการขัดถูให้สะอาดอย่างบ้านเรือน จิตอาจปลอดจากกิเลส หรือขณะตัดผม จะเป็นช่างตัดผม หรือเอาผมไปให้ช่างตัด อาจจะอาศัยอาการอย่างนี้ เพื่อตัดกิเลสตัดทุกข์ได้
พุทธวจนะคำสอนของพระ พุทธองค์มีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามที่ท่านกำหนดไว้แต่ละหมวดแต่ละข้อ หรือแต่ละขันธ์ ล้วนแต่เป็นของดี ท่านโบราณาจารย์เคยปฏิบัติได้รับผลสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น จึงได้รวมตั้งไว้เป็นปริยัติเพื่อเป็นบทศึกษาแก่อนุชนสืบมา
ธรรมเป็น ของดีแล้ว แต่เราปฏิบัติดียังไม่พอที่จะเป็นรากฐานให้เกิดธรรมของดีได้ มรรค ๘ ผล ๔นิพพาน๑ เป็นของผู้ปฏิบัติที่มีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน อริยสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์๑ สมุทัย๑ นิโรธ๑ มรรค๑ เป็นวิชาของสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง ทุกข์ ทั้งหลาย มีชาติทุกข์เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี สมุทัย มีความทะยานอยากในความใคร่เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเห็นโทษในสมุทัยันั้นแล้วละเสียไม่มี นิโรธ คือความเข้าไปดับซึ่งราคะธรรมเป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปดับไม่มี มรรค มีองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางยังผู้ดำเนินตามแล้วให้พ้นทุกข์ได้มีอยู่ แต่ผู้จะดำเนินตามไม่มี ทางจึงเป็นทางว่างหาผู้สัญจรไม่มี ก็เพราะขาดสัมมาสมาธิอันเป็นรากฐานที่มั่นคง
สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของฌาน ๔ อันได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติย ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เรา เจริญสมาธิเพื่ออะไร?
ก็เพื่อให้เกิดปัญญา รู้เห็นสภาวะสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เพื่อให้ชีวิตเป็นอิสระ เบาสบายมากขึ้น มีภาระที่ต้องแบกด้วยความยึดมั่นถือมั่นน้อยลงๆ จนหมดสิ้น เพราะฉะนั้น ควรกระทำด้วยความตั้งใจจริง เพื่อให้เกิดผลแท้จริง
วิธีการเจริญสมาธิ ภาวนาของหลวงปู่เทสก์ มี ๒ วิธีด้วยกันคือ วิธีปล่อยวางอารมณ์ กับวิธียกเอาอารมณ์ขึ้นมาพิจารณา ทั้งสองวิธีนั้นมีคำอธิบายว่า
๑) เราปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่ที่ใจ พร้อมๆ กับอัดลมหายใจเข้าไปแล้วปล่อยวางลมหายใจออกมา แล้วตั้งสติกำหนดเอาผู้รู้ จะไปตั้งอยู่ตรงไหนแล้วแต่ความถนัดของตน แบบนี้ทำได้ง่ายสบายแต่ไม่มีหลักหนักแน่น ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ส่งส่ายไปตามอารมณ์ที่ตนชอบเสีย
๒)ให้หยิบเอา อารมณ์อันใดก็ได้ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ที่มันเคยทำความกระเทือนใจให้เราเกิดความสลดสังเวช จิตของเราเคยไปจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่นเราเคยพิจารณาเห็นโทษทุกข์ในความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นต้น เรายกเอาเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณาค้นคว้าทบทวนกลับไปกลับมา ไม่ให้จิตแลบออกไปจากเรื่องนั้น จนเข้าไปรู้เรื่องความเป็นอยู่เป็นมาและเป็นไปของเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ ถ้วน แล้วจะเกิดมีอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ณ ที่นั้นอย่างแปลกประหลาด คือความชัดเจนแจ่มแจ้ง อันมิใช่เกิดแต่ความนึกคิดคาดคะเน และได้สดับศึกษามาจากคนอื่น แต่มันเป็นความรู้ที่จัดเจนอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ที่เกิดเองเป็นเอง อันใครๆ จะแต่งเอาไม่ได้๑
มิฉะนั้น จิตก็จะหดตัวเข้าไปนิ่งสงบเฉยอยู่ โดยไม่คิดอะไร แม้แต่ความคิดที่คิดค้นอยู่นั้น ก็พักหมด๑
บางทีสงบนิ่ง เข้าไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งเฉพาะจิตอย่างเดียว บางที่ก็รู้อยู่เฉพาะตัว แต่ความรู้อันนั้น มิใช่รู้อย่างอย่างที่เราจะพูดกันถูก หรือบางที่ก็ไม่รู้ตัวเสียเลย คล้ายๆกับหลับที่เรียกว่าจิตเข้าภวังค์ อาการเหล่านั้นใครๆจะทำเอาไม่ได้ แต่เมื่อภาวนาถูกต้องดังแสดงมาแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นมาเอง๑
อาการทั้งสามอย่างนี้มิใช่จะเกิดเหมือนกันหมดทุกๆ คน และทุกๆอาการก็หาไม่ บางคนก็เป็นและครบ บางคนก็เป็นอย่างสองอย่าง เรื่องของการภาวนานี้พิสดารมากหากจะนำมาพรรณาไว้ ณ ที่นี้ จะเป็นหนังสือเล่มเขื่องเล่มหนึ่ง ที่แย้มให้เห็นเพียงเล็กน้อยนี้ก็เพื่อแนะให้ทราบว่าผู้ภาวนาเป็นแล้วจะเป็น ไปอย่างนั้น
แบบที่ ๒ ที่ให้หยิบยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นการหัดสมถะและวิปัสสนาไปในตัว ถ้าผู้ที่มีนิสัยวาสนาแล้วเป็นไปได้รวดเร็ว ถ้านิสัยพอประมาณได้ปานกลาง บางทีก็จะหนักไปทางสมถะ จิตเข้าหาความสงบ มีอาการสองหย่างดังแสดงมาแล้ว ถึงอย่างไรการพิจารณาอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์มาก เพราะพิจารณาให้เห็นสภาวะเป็นจริง ถึงไม่ได้ปัญญาขั้นละเอียด แต่ก็ยังรู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วค่อยๆ ถอนวางจากอุปทานลงได้โดยลำดับ
การยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมา พิจารณานี้ เป็นอุบายของการภาวนาโดยแท้ อย่าได้สงสัยว่าเราไม่ได้ภาวนา อุบายภาวนา คือการที่หยิบยกเอากัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเมื่อจิตแน่วแน่ลงสู่ อารมณ์อันเดียวจนเข้าเป็นภวังค์ เรียกว่าจิตเข้าถึงภาวนาแล้ว ฉะนั้นการที่เรายกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณาจิตของเราจะจดจ่อ อยู่ในเรื่องนั้นอย่างเดียว เรียกว่าเรากำลังเจริญภาวนาอยู่แล้ว ขอให้ยินดีพอใจในจิตของตนที่เป็นอยู่นั้นเถิด จิตก็จะได้แน่วแน่และเกิดปีติปราโมทย์จนละเอียดลงไปโดยลำดับ ผู้ไม่เข้าใจภาวนามักจะสงสัยไปต่างๆนาๆ แล้วก็ปรุงแต่งไปว่า ภาวนาจะต้องเป็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ แล้วจัดระดับชั้นภูมิของตนๆ ไว้ก่อนภาวนา เมื่อจิตไม่เป็นไปตามสังขาร ก็เลยฟุ้งซ่านเกิดความรำคาญ สังขารเป็นผู้ลวง จะไปแต่งภาวนาไม่ได้ โดยเฉพาะแล้วสังขารเป็นอุปสรรคแก่การภาวนาอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อยังละสังขารไม่ได้ตราบใดแล้ว ไม่มีหวังจะได้ประสบรสชาติของการภาวนาเลย ที่สุดการฟังเทศน์หรือยกอุบายใจขึ้นมาพิจารณาก็ไม่เป็นผล มีแต่ความลังเลใจ ธรรมทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ก็จะไม่มีคุณค่าแก่เขา แม้เท่าที่เขาได้ส่ายตาไปมองดูรูปที่สวยๆ ขณะแวบเดียว ผู้ที่ท่านช่างคิดค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหลาย ท่านไม่ใช้สัญญาออกหน้า แต่ท่านใช้เหตุผลและปรากฏการณ์เฉพาะเพาะหน้าเข้าค้นคว้าพิจารณา จึงได้ผลสมประสงค์ ธรรมหรือวิธีเจริญกัมมัฏฐานมิใช่ของมีโครงการอะไร ขอแต่ให้หยิบยกเอาเหตุผลหรือสิ่งปรากฏการณ์นั้นๆ มาพิจารณาให้เข้าถึงหลักของจริงก็เป็นอันใช้ได้ ที่มีพิธีรีตองและโครงการมากๆ นั้น ล้วนแล้วแต่ว่าตามความจริงจากท่านที่ท่านได้ทำสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น
ฉะนั้น ยิ่งนานและมีผู้ค้นพบของจริงมากเข้าเท่าไร วิธีและโครงการหรือตำราก็ยิ่งมากขึ้น จนผู้ศึกษาภายหลังทำตามไม่ถูก ก็เลยชักให้สงสัย บางคนพาลหาว่าตำราไม่ได้เรื่องอย่างนี้ก็มี ถ้าหากทำตามดังแสดงมาแล้ว คือยกเอาของจริง เช่น เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จนเกิดเป็นภาวนาสมาธิขึ้นมาแล้ว โครงการหรือวิธีทั้งหลายแหล่จะมากสักเท่าไร ก็เป็นแต่เพียงกระจกเงาเท่านั้น หาใช่ตัวจริงไม่ ด้วยเหตุนี้สาวกของพระพุทธองค์จึงได้สำเร็จมรรคด้วยอุบายแปลกๆ ไม่เหมือนกัน
ขนาด แสงไฟในดวงเทียนจะมีธรรมอะไร ใครๆ เขาก็ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสได้สำเร็จมรรคผลอะไร แต่ภิกษุณีชื่อ ปฏาจารา จุดเทียนบูชาในวิหาร แล้วเพ่งดูแสงเทียน ยึดเอาอาการแสงเทียนพลุ่งขึ้นด้วยกำลังแรงไฟ แล้วย่อยยับๆ ลงมาด้วยความอ่อนกำลังของมันเอง อยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์ น้อมเข้ามาเทียบกับอายุขัยและวัยในอัตภาพของตน จนเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งหลาย ที่สุดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะไฟนั้นนี้เป็นตัวอย่าง ท่านยกเอาแสงเทียนขึ้นมาพิจารณา เห็นเป็นของไม่เที่ยงตามลักษณะที่มันพลุ่งขึ้นแล้งย่อยยับหดตัวลงตามเป็น จริง แล้วหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ธรรมอื่นๆ ไม่ต้องไปตามพิจารณา แต่มันมาปรากฏชัดในที่แห่งเดียวแล้ว
บัณฑิตสามเณรลูกศิษย์ของท่านพระสารี บุตร เห็นเขาไขน้ำให้มันไหลไปตามนา ท่านนำมาพิจารณาว่า น้ำเป็นของไม่มีจิตใจ แต่ก็ไหลไปตามนาได้ตามประสงค์ จิตของเราเมื่อทร
กัมมัฏฐาน มี ๔๐ วีธี ใครจะใช้วิธีไหนก็ได้ทั้งนั้น ขอเพียงให้ถูกกับจริตของตนเป็นใช้ได้ หลวงปู่เทสก์บอกว่า การเจริญภาวนากัมมัฏฐานจะกำหนดพุทโธๆ ๆ หรือ อรหังๆ ๆ หรือ สัมมาอรหังๆ ๆ หรือ มรณังๆ ๆ หรือกายคตาสติก็ทำได้ทั้งนั้น ไม่มีขีดขั้น ข้อสำคัญคือการเจริญนั้นๆ จิตจะรวมลงสู่จุดเดียวได้หรือไม่ ถ้ารวมลงได้ก็เรียกว่าสมถะด้วยกันทั้งนั้น
การปฏิบัติธรรมเจริญสมาธิ จิตใจต้องมั่นคง อย่ามัวไหลไปตามกระแส ใครว่ามีอะไรดีที่ไหนก็ไปตามเขา พอเขาเปลี่ยนใจ เราก็เปลี่ยนใหม่อีก จิตใจโลเล จิตใจวุ่นเสียแล้วแต่ต้นอย่างนี้ จะหาความก้าวหน้าจากการเจริญสมาธิไม่ได้เลย หลวงปู่เทสก็บอกว่าหลักธรรมที่แท้มิได้เกิดจากความคิดที่ส่งออก แต่เกิดจากการคิดค้นตรงเข้ามาหาของจริงที่มีอยู่ในตัวนี้ เมื่อเราค้นเข้ามาหาของจริงในตัวนี้แล้วจิตก็เป็นสมาธิ (คือคิดค้นอยู่ในที่อันเดียว)ต่อนั้นไปทุกสิ่งทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาในรัศมี ของจิต ก็จะกลายเป็นอุบายให้เกิดเป็นธรรมไปทั้งหมด
อุบายในการเข้าถึง ธรรมมีมิใช่น้อย ถ้ารู้จักฉุกคิดขณะที่พระกำลังแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ ตัวพระเองอาจบรรลุถึงธรรมก็ได้ ถ้าส่งใจไปตามกระแสธรรมที่ตนแสดงจนเกิดสมาธิและปัญญา ขณะที่เรากำลังถูบ้านถูไปถูมา เราคิดถึงจิตของตนว่า ถ้าจิตของเรามีการขัดถูให้สะอาดอย่างบ้านเรือน จิตอาจปลอดจากกิเลส หรือขณะตัดผม จะเป็นช่างตัดผม หรือเอาผมไปให้ช่างตัด อาจจะอาศัยอาการอย่างนี้ เพื่อตัดกิเลสตัดทุกข์ได้
พุทธวจนะคำสอนของพระ พุทธองค์มีมากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ตามที่ท่านกำหนดไว้แต่ละหมวดแต่ละข้อ หรือแต่ละขันธ์ ล้วนแต่เป็นของดี ท่านโบราณาจารย์เคยปฏิบัติได้รับผลสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น จึงได้รวมตั้งไว้เป็นปริยัติเพื่อเป็นบทศึกษาแก่อนุชนสืบมา
ธรรมเป็น ของดีแล้ว แต่เราปฏิบัติดียังไม่พอที่จะเป็นรากฐานให้เกิดธรรมของดีได้ มรรค ๘ ผล ๔นิพพาน๑ เป็นของผู้ปฏิบัติที่มีสัมมาสมาธิเป็นรากฐาน อริยสัจธรรมทั้งสี่ คือ ทุกข์๑ สมุทัย๑ นิโรธ๑ มรรค๑ เป็นวิชาของสัมมาสมาธิอย่างถูกต้อง ทุกข์ ทั้งหลาย มีชาติทุกข์เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเข้าไปรู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ทั้งหลายเหล่านั้นไม่มี สมุทัย มีความทะยานอยากในความใคร่เป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้ที่จะเห็นโทษในสมุทัยันั้นแล้วละเสียไม่มี นิโรธ คือความเข้าไปดับซึ่งราคะธรรมเป็นต้นมีอยู่ แต่ผู้จะเข้าไปดับไม่มี มรรค มีองค์ ๘ ประการ อันเป็นทางยังผู้ดำเนินตามแล้วให้พ้นทุกข์ได้มีอยู่ แต่ผู้จะดำเนินตามไม่มี ทางจึงเป็นทางว่างหาผู้สัญจรไม่มี ก็เพราะขาดสัมมาสมาธิอันเป็นรากฐานที่มั่นคง
สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือสมาธิที่เจริญตามแนวของฌาน ๔ อันได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติย ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เรา เจริญสมาธิเพื่ออะไร?
ก็เพื่อให้เกิดปัญญา รู้เห็นสภาวะสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เพื่อให้ชีวิตเป็นอิสระ เบาสบายมากขึ้น มีภาระที่ต้องแบกด้วยความยึดมั่นถือมั่นน้อยลงๆ จนหมดสิ้น เพราะฉะนั้น ควรกระทำด้วยความตั้งใจจริง เพื่อให้เกิดผลแท้จริง
วิธีการเจริญสมาธิ ภาวนาของหลวงปู่เทสก์ มี ๒ วิธีด้วยกันคือ วิธีปล่อยวางอารมณ์ กับวิธียกเอาอารมณ์ขึ้นมาพิจารณา ทั้งสองวิธีนั้นมีคำอธิบายว่า
๑) เราปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด ไม่ให้มีอะไรเหลืออยู่ที่ใจ พร้อมๆ กับอัดลมหายใจเข้าไปแล้วปล่อยวางลมหายใจออกมา แล้วตั้งสติกำหนดเอาผู้รู้ จะไปตั้งอยู่ตรงไหนแล้วแต่ความถนัดของตน แบบนี้ทำได้ง่ายสบายแต่ไม่มีหลักหนักแน่น ได้ชั่วขณะหนึ่งแล้วก็ส่งส่ายไปตามอารมณ์ที่ตนชอบเสีย
๒)ให้หยิบเอา อารมณ์อันใดก็ได้ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ที่มันเคยทำความกระเทือนใจให้เราเกิดความสลดสังเวช จิตของเราเคยไปจดจ่ออยู่เฉพาะในเรื่องนั้นมาแล้ว เช่นเราเคยพิจารณาเห็นโทษทุกข์ในความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย เป็นต้น เรายกเอาเรื่องนั้นขึ้นมาพิจารณาค้นคว้าทบทวนกลับไปกลับมา ไม่ให้จิตแลบออกไปจากเรื่องนั้น จนเข้าไปรู้เรื่องความเป็นอยู่เป็นมาและเป็นไปของเรื่องนั้นอย่างละเอียดถี่ ถ้วน แล้วจะเกิดมีอาการ ๓ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา ณ ที่นั้นอย่างแปลกประหลาด คือความชัดเจนแจ่มแจ้ง อันมิใช่เกิดแต่ความนึกคิดคาดคะเน และได้สดับศึกษามาจากคนอื่น แต่มันเป็นความรู้ที่จัดเจนอันประกอบด้วยปีติปราโมทย์ ที่เกิดเองเป็นเอง อันใครๆ จะแต่งเอาไม่ได้๑
มิฉะนั้น จิตก็จะหดตัวเข้าไปนิ่งสงบเฉยอยู่ โดยไม่คิดอะไร แม้แต่ความคิดที่คิดค้นอยู่นั้น ก็พักหมด๑
บางทีสงบนิ่ง เข้าไปอยู่ในที่แห่งหนึ่งเฉพาะจิตอย่างเดียว บางที่ก็รู้อยู่เฉพาะตัว แต่ความรู้อันนั้น มิใช่รู้อย่างอย่างที่เราจะพูดกันถูก หรือบางที่ก็ไม่รู้ตัวเสียเลย คล้ายๆกับหลับที่เรียกว่าจิตเข้าภวังค์ อาการเหล่านั้นใครๆจะทำเอาไม่ได้ แต่เมื่อภาวนาถูกต้องดังแสดงมาแล้ว มันก็จะเกิดขึ้นมาเอง๑
อาการทั้งสามอย่างนี้มิใช่จะเกิดเหมือนกันหมดทุกๆ คน และทุกๆอาการก็หาไม่ บางคนก็เป็นและครบ บางคนก็เป็นอย่างสองอย่าง เรื่องของการภาวนานี้พิสดารมากหากจะนำมาพรรณาไว้ ณ ที่นี้ จะเป็นหนังสือเล่มเขื่องเล่มหนึ่ง ที่แย้มให้เห็นเพียงเล็กน้อยนี้ก็เพื่อแนะให้ทราบว่าผู้ภาวนาเป็นแล้วจะเป็น ไปอย่างนั้น
แบบที่ ๒ ที่ให้หยิบยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณานี้ เป็นการหัดสมถะและวิปัสสนาไปในตัว ถ้าผู้ที่มีนิสัยวาสนาแล้วเป็นไปได้รวดเร็ว ถ้านิสัยพอประมาณได้ปานกลาง บางทีก็จะหนักไปทางสมถะ จิตเข้าหาความสงบ มีอาการสองหย่างดังแสดงมาแล้ว ถึงอย่างไรการพิจารณาอย่างนี้ย่อมมีอานิสงส์มาก เพราะพิจารณาให้เห็นสภาวะเป็นจริง ถึงไม่ได้ปัญญาขั้นละเอียด แต่ก็ยังรู้เท่าเข้าใจตามความเป็นจริงแล้วค่อยๆ ถอนวางจากอุปทานลงได้โดยลำดับ
การยกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมา พิจารณานี้ เป็นอุบายของการภาวนาโดยแท้ อย่าได้สงสัยว่าเราไม่ได้ภาวนา อุบายภาวนา คือการที่หยิบยกเอากัมมัฏฐานบทใดบทหนึ่งขึ้นมาพิจารณาเมื่อจิตแน่วแน่ลงสู่ อารมณ์อันเดียวจนเข้าเป็นภวังค์ เรียกว่าจิตเข้าถึงภาวนาแล้ว ฉะนั้นการที่เรายกเอาความเกิด-แก่-เจ็บ-ตายขึ้นมาพิจารณาจิตของเราจะจดจ่อ อยู่ในเรื่องนั้นอย่างเดียว เรียกว่าเรากำลังเจริญภาวนาอยู่แล้ว ขอให้ยินดีพอใจในจิตของตนที่เป็นอยู่นั้นเถิด จิตก็จะได้แน่วแน่และเกิดปีติปราโมทย์จนละเอียดลงไปโดยลำดับ ผู้ไม่เข้าใจภาวนามักจะสงสัยไปต่างๆนาๆ แล้วก็ปรุงแต่งไปว่า ภาวนาจะต้องเป็นอย่างนั้น เห็นอย่างนี้ แล้วจัดระดับชั้นภูมิของตนๆ ไว้ก่อนภาวนา เมื่อจิตไม่เป็นไปตามสังขาร ก็เลยฟุ้งซ่านเกิดความรำคาญ สังขารเป็นผู้ลวง จะไปแต่งภาวนาไม่ได้ โดยเฉพาะแล้วสังขารเป็นอุปสรรคแก่การภาวนาอย่างยิ่ง ฉะนั้น เมื่อยังละสังขารไม่ได้ตราบใดแล้ว ไม่มีหวังจะได้ประสบรสชาติของการภาวนาเลย ที่สุดการฟังเทศน์หรือยกอุบายใจขึ้นมาพิจารณาก็ไม่เป็นผล มีแต่ความลังเลใจ ธรรมทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐พระธรรมขันธ์ก็จะไม่มีคุณค่าแก่เขา แม้เท่าที่เขาได้ส่ายตาไปมองดูรูปที่สวยๆ ขณะแวบเดียว ผู้ที่ท่านช่างคิดค้นหาข้อเท็จจริงทั้งหลาย ท่านไม่ใช้สัญญาออกหน้า แต่ท่านใช้เหตุผลและปรากฏการณ์เฉพาะเพาะหน้าเข้าค้นคว้าพิจารณา จึงได้ผลสมประสงค์ ธรรมหรือวิธีเจริญกัมมัฏฐานมิใช่ของมีโครงการอะไร ขอแต่ให้หยิบยกเอาเหตุผลหรือสิ่งปรากฏการณ์นั้นๆ มาพิจารณาให้เข้าถึงหลักของจริงก็เป็นอันใช้ได้ ที่มีพิธีรีตองและโครงการมากๆ นั้น ล้วนแล้วแต่ว่าตามความจริงจากท่านที่ท่านได้ทำสำเร็จมาแล้วทั้งนั้น
ฉะนั้น ยิ่งนานและมีผู้ค้นพบของจริงมากเข้าเท่าไร วิธีและโครงการหรือตำราก็ยิ่งมากขึ้น จนผู้ศึกษาภายหลังทำตามไม่ถูก ก็เลยชักให้สงสัย บางคนพาลหาว่าตำราไม่ได้เรื่องอย่างนี้ก็มี ถ้าหากทำตามดังแสดงมาแล้ว คือยกเอาของจริง เช่น เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ขึ้นมาพิจารณาให้เห็นตามเป็นจริง จนเกิดเป็นภาวนาสมาธิขึ้นมาแล้ว โครงการหรือวิธีทั้งหลายแหล่จะมากสักเท่าไร ก็เป็นแต่เพียงกระจกเงาเท่านั้น หาใช่ตัวจริงไม่ ด้วยเหตุนี้สาวกของพระพุทธองค์จึงได้สำเร็จมรรคด้วยอุบายแปลกๆ ไม่เหมือนกัน
ขนาด แสงไฟในดวงเทียนจะมีธรรมอะไร ใครๆ เขาก็ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมือง ก็ไม่เห็นจะวิเศษวิโสได้สำเร็จมรรคผลอะไร แต่ภิกษุณีชื่อ ปฏาจารา จุดเทียนบูชาในวิหาร แล้วเพ่งดูแสงเทียน ยึดเอาอาการแสงเทียนพลุ่งขึ้นด้วยกำลังแรงไฟ แล้วย่อยยับๆ ลงมาด้วยความอ่อนกำลังของมันเอง อยู่อย่างนั้นเป็นอารมณ์ น้อมเข้ามาเทียบกับอายุขัยและวัยในอัตภาพของตน จนเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสังขารทั้งหลาย ที่สุดจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะไฟนั้นนี้เป็นตัวอย่าง ท่านยกเอาแสงเทียนขึ้นมาพิจารณา เห็นเป็นของไม่เที่ยงตามลักษณะที่มันพลุ่งขึ้นแล้งย่อยยับหดตัวลงตามเป็น จริง แล้วหมดความลังเลสงสัยในธรรมทั้งปวง ธรรมอื่นๆ ไม่ต้องไปตามพิจารณา แต่มันมาปรากฏชัดในที่แห่งเดียวแล้ว
บัณฑิตสามเณรลูกศิษย์ของท่านพระสารี บุตร เห็นเขาไขน้ำให้มันไหลไปตามนา ท่านนำมาพิจารณาว่า น้ำเป็นของไม่มีจิตใจ แต่ก็ไหลไปตามนาได้ตามประสงค์ จิตของเราเมื่อทร