PDA

View Full Version : คนเราสามารถเป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่?



level
23-10-2009, 05:38 AM

<div align="center">http://www.rosenini.com/suanmokkh/chaiya/25.jpg</div>

<div align="center">ปู่อาร์เธอร์ ซี. คลาร์ค เคยเขียนไว้ว่า "โศกนาฏกรรมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมวลมนุษย์คือการที่ศีลธรรมถูกศาสนาแย่งชิง ไม่ว่ามันจะมีค่าหรือจำเป็นเพียงใดต่อการบังคับให้คนในยุคโบราณทำดี การรวมของสองสิ่งนี้กลับให้ผลตรงข้าม และในช่วงเวลาที่สองสิ่งนี้ควรถูกแยกออกจากกัน คนโง่ที่คิดว่าตนเองมีศีลธรรมแก่กล้ากว่า กลับเรียกร้องให้ผู้คนหวนคืนสู่ศีลธรรมด้วยสิ่งเหนือธรรมชาติ"

สำหรับ ชาวเราที่โตมากับการเรียนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน หรือคนที่เข้าโบสถ์ทุกอาทิตย์ อาจรู้สึกว่านี่เป็นคำกล่าวที่ผูกกับระเบิดลูกใหญ่ ความคิดใดๆ ที่แย้งกับสิ่งที่ได้รับการปลูก

ฝัง มักยอมรับกันได้ยาก คุยเรื่องนี้แล้วอาจถูกตีหัว หรือถูกหาว่าเป็นมารศาสนาได้ง่ายๆ

ทว่า ในฐานะของชาวพุทธที่ได้รับการสอนเรื่องกาลามสูตร นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะไตร่ตรองดูว่า มีความจริงมากน้อยแค่ไหนในคำกล่าวข้างต้น บางทีมันอาจเป็นโอกาสให้เราปัด &#39;ฝุ่น&#39; ที่เกาะใจเรามาโดยที่ไม่รู้ตัว ที่สำคัญคือ หากเราจะเข้าใจตัวเองและชีวิตมนุษย์บนโลกดีขึ้น ย่อมหนีไม่พ้นที่จะต้องกล้าตั้งคำถามและวิเคราะห์ข้อคิดแย้งใดๆ ให้ถึงแก่น

มนุษย์ แทบทุกมุมโลกถูกสั่งสอนมาแต่เด็กให้เชื่อมคำว่า &#39;ศีลธรรม&#39; &#39;การทำดี&#39; เข้ากับคำว่า &#39;ศาสนา&#39; การเป็น atheist (คนที่ไม่มีศาสนา, คนที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า) หรือ free thinker ในโลกนี้จึงมักถูกเข้าใจผิดเสมอ หลายคนฝังใจว่าการไร้ศาสนาคือการไร้ศีลธรรม

ทว่า การ ‘ไร้ศาสนา’ กับ ‘ไร้ศีลธรรม’ เป็นคนละเรื่องกัน แน่ละ คนไร้ศาสนาจำนวนมากกระทำเรื่องชั่วร้าย แต่ประวัติศาสตร์โลกเราก็บันทึกตัวอย่างมากมายของการกระทำชั่วโดยคนที่มี ศาสนา ตั้งแต่ฮิตเลอร์ ไปจนถึงผู้นำชาติมหาอำนาจที่ก่อสงครามเป็นว่าเล่น ล้วนแต่เป็นคนที่เข้าโบสถ์สม่ำเสมอ ดังนั้นการเชื่อมโยง ‘ไร้ศาสนา’ กับ ‘ไร้ศีลธรรม’ ก็เช่นการบอกว่า สุนัขทุกตัวที่ไม่ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าต้องเป็นสุนัขบ้า

คนเราสามารถ เป็นคนดีโดยไร้ศาสนาได้หรือไม่? อาจต้องเริ่มที่การตั้งคำถามว่า อะไรคือความดี? เราวัดความดีอย่างไร? ช่วยจูงคนแก่ข้ามถนน? ไม่เป็นเด็กแว๊น เด็กสก๊อย? อะไรคือศาสนา? มันคือการไม่ฆ่าคน? ไม่โกหก? ไม่ขโมย? ไม่ประพฤติผิดในกาม? มีเมตตาเกื้อกูลเพื่อนร่วมโลก? ความดีเป็นสิ่งที่เกิดมากับจักรวาลหรือไม่? หรือว่ามันเกิดขึ้นหลังจากมนุษย์ปรากฏขึ้นบนโลก? มันเกี่ยวกับการที่เราอยู่กันเป็นสังคมหรือไม่? ทำไมศาสนาเพิ่งถือกำเนิดมาในโลกนานหลังจากมนุษย์สร้างอารยธรรม? สัตว์มีศาสนาหรือไม่?

ถ้าเราใช้ข้อปฏิบัติตามที่บัญญัติในศาสนา เป็นเครื่องวัดความดี เราก็อาจต้องถามต่อไปว่า ปลาวาฬปลาโลมาที่ช่วยชีวิตคนที่ประสบภัยกลางทะเลก็รู้จักทำดี? ลิงบางสายพันธุ์ที่ช่วยกันดูแลลิงที่เจ็บป่วยก็มีศีลธรรม?

การมองว่า สัตว์ก็สามารถพัฒนา &#39;ศีลธรรม&#39; ได้ไม่ใช่เรื่องเหลวไหล หลักฐานทางวิทยาศาสตร์คล้อยไปในทิศทางว่า สายสัมพันธ์ในสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีความเอื้ออาทรแบบเป็นพ่อแม่ลูก เมื่อพัฒนาสติปัญญาถึงระดับหนึ่ง ก็มักจะเกิดความรู้สึกทางศีลธรรมหรือความรู้สึกผิดชอบชั่วดีโดยเลี่ยงไม่พ้น เห็นชัดว่ารากฐานของศีลธรรมนั้นเริ่มจากการเอาใจเขามาใส่ใจเรา (empathy)

ลอง สมมุติว่าคุณเป็นมนุษย์เพียงคนเดียวในโลกที่ไร้สัตว์ มีแต่ธรรมชาติ คุณยังจะต้อง &#39;ทำดี&#39; หรือไม่? เมื่อวัดด้วยมาตรศีลธรรมของทุกศาสนาในโลก คำตอบก็คือ ไม่! คุณฆ่าคนและสัตว์ไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้คุณฆ่า คุณโกหกไม่ได้ เพราะไม่มีใครให้คุณโกหก คุณขโมยของไม่ได้เพราะไม่มีอะไรให้ขโมย ฯลฯ นี่อาจหมายความว่าการทำดีและศีลธรรม ไปจนถึงศาสนาเป็นผลผลิตของสัตว์สังคม เป็นวิวัฒนาการทางธรรมชาติของสัตว์ชั้นสูงที่พัฒนาระบบประสาทถึงระดับหนึ่ง มองในมุมของหลักวิวัฒนาการ การกำเนิดของศาสนาในโลกเป็นกลไกที่จำเป็น เป็นระบบที่ทำให้สังคมอยู่รอดได้ เพราะสังคมที่ผู้คนเกื้อกูลกันย่อมมีโอกาสอยู่รอดสูงกว่าสังคมที่คนทะเลาะ กัน เช่นเดียวกับสัตว์หลายชนิดที่อยู่เป็นฝูง เตือนภัยให้กันเมื่อศัตรูมา หากพวกมันทะเลาะกัน ย่อมจะตกเป็นอาหารของสัตว์อื่นจนหมดสิ้นเผ่าพันธุ์

เช่น นั้น เราสรุปได้ไหมว่า ความดีความเลวเป็นผลผลิตของมนุษยชาติ รากฐานของการเกิดความดีความชั่วมาจากการกำเนิดสังคม? และหากก้าวไปไกลอีกขั้น ความดีความเลวเป็นเพียงสิ่งสมมุติที่เราสร้างขึ้นมา?



หาก ถามชาวพุทธทั่วไปที่เรียนวิชาศีลธรรมในห้องเรียนมาตั้งแต่เด็กว่า อะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนา คำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่คืออริยสัจจ์ 4 (ทุกข์-สมุทัย-นิโรธ-มรรค) หรือโอวาทปาติโมกข์ (ไม่ทำชั่ว-ทำดี-ทำจิตใจให้บริสุทธิ์) หรือมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) น้อยคนเหลือเกินจะตอบว่าคือ อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท บ้างบอกว่าไม่เคยได้ยินคำนี้เลย ทั้งที่มันเป็นสาระหลักที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ร่มศรีมหาโพธิ์ในคืน วิสาขบูชา

อิทัปปัจจยตามองว่าโลกเป็นเพียงการไหลต่อเนื่องของเหตุและ ผล (cause-effect) โลกไม่มีซ้าย ไม่มีขวา ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีความดี ไม่มีความชั่ว ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีแพ้ ไม่มีชนะ ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีเทวดา ไม่มีสัตว์นรก ไม่มีอะไรมีอยู่จริงหรือไม่มีอยู่จริง การมีหรือไม่มีถือเป็นทิฏฐิทั้งคู่ ทั้งนี้เพราะสรรพสิ่งเป็นปัจจัยต่อเนื่องกัน เหตุทำให้เกิดผล ผลนั้นทำให้เกิดเหตุ ซึ่งทำให้เกิดผลและเหตุต่อไปไม่สิ้นสุด การไปหลงติดกับความเป็นคู่เป็นความเขลาอย่างหนึ่งเพราะมันเป็นสิ่งสมมุติ ทั้งสิ้น

หากใช้คำของพุทธทาสภิกขุที่เขียนไว้ในหนังสือ อิทัปปัจจยตา ก็คือ "[หลักอิทัปปัจจยตา] มุ่งที่จะขจัดความเห็นผิดสำคัญผิดว่ามีตัวตน สัตว์บุคคล ตามที่คนเรารู้สึกกันได้เองตามสัญชาตญาณ หรือที่ยิ่งไปว่านั้นอีกก็คือ มุ่งแสดงให้เห็นว่า ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีการได้ ไม่มีการเสีย และอื่นๆ ที่เป็นคู่ตรงกันข้าม เพราะนั่นมนุษย์บัญญัติขึ้นเอง ตามความรู้สึกของมนุษย์ โดยที่แท้แล้ว ทั้งหมดทุกๆ คู่ ล้วนเป็นเพียงกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาเสมอกันหมด"

พูดง่ายๆ คือ สิ่งต่างๆ ในโลกมนุษย์นี้เป็นเพียงสิ่งที่เราสมมุติขึ้นมาเอง

บาง คนอาจแย้งว่า ถ้ามนุษย์เห็นว่าโลกนี้ไม่มีบุญ ไม่มีบาป จะมิพากันทำความชั่วทั้งหมดหรือ นี่เป็นการจับความไม่ครบเหมือนตาบอดคลำช้าง &#39;ไม่มีบุญ ไม่มีบาป&#39; บอกเราว่า ระวังอย่าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งสมมุติ มิได้แปลว่าคุณต้องไปสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น เพราะอิทัปปัจจยตาคือการไหลต่อเนื่องของเหตุและผล (cause-effect) ทุกการกระทำ (action) ย่อมมีผลต่อเนื่อง (consequence) เสมอ และหลายผลต่อเนื่องที่ตามมาก็คือ &#39;กรรมตามสนอง&#39; นั่นเอง



ใน โลกยุคที่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคนขยายตัวจนแทบล้นโลก ศาสนาถูกใช้เป็นเครื่องมือในเรื่องต่างๆ กระทั่งใช้เป็นเครื่องมือทำสงคราม จนหลายคนสับสนบทบาทของศาสนา แต่นั่นมิได้หมายความว่าศาสนาไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไป มันเพียงบอกเราว่า ศาสนาก็เช่นระบบอื่นๆ ในโลก จำต้องผ่านการ &#39;รีเอ็นจิเนียริง&#39; (สังคายนา) เป็นระยะ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย

หากจุดหมายของศาสนายังคงเพื่อ ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติ เราใช้ตาชั่งใดมาวัดว่า การยอมรับความแตกต่างของเพื่อนมนุษย์ การเคารพความจริง ความรักธรรมชาติ การดูแลโลกที่กำลังบาดเจ็บจากมลพิษ การต่อต้านสงคราม ความรักสันติภาพ เหล่านี้ใช้แทนศาสนาไม่ได้ บางทีสิ่งเหล่านี้อาจทำหน้าที่ได้เหมาะสมกว่าบทบาทของศาสนาเมื่อหลายพันปี ก่อน เมื่อครั้งพลเมืองโลกมีเพียงไม่กี่ล้านคน ไม่ได้เชื่อมต่อแนบสนิทกันเช่นปัจจุบัน และโลกยังไม่ถูกข่มขืนทำลายด้วยน้ำมือมนุษย์เช่นวันนี้

ร่มไม่ว่าจะ ติดยี่ห้อใดก็ใช้กันฝนได้ทั้งนั้น แต่ร่มมิใช่เครื่องมือเดียวที่ใช้กันฝน ซึ่งอาจจะเป็นกระดาษหนังสือพิมพ์ ถุงพลาสติก หรือวัสดุที่หาได้ในท้องที่นั้นๆ

การประนามคนไร้ศาสนาว่าไร้ศีลธรรม ก็เท่ากับการลืมบทบาทของศาสนานั่นเอง ไม่ต่างจากการพร่ำบ่นว่า การทำดีคือการไม่เบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ ขณะที่ยังฆ่าสัตว์มากินทุกวัน

สรรพสิ่งคือการเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการตามกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา บทบาทของศาสนาก็เช่นกัน

มอง ไปในอนาคต บทบาทของศาสนาเพียงเพื่อแค่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสันติอย่างเดียว อาจจะยังไม่พอ ศาสนาในอนาคต (อันใกล้?) อาจต้องรวมถึงการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิต ไปจนถึงสิ่งไร้ชีวิตอื่นๆ และจักรวาล


วินทร์ เลียววาริณ
www.winbookclub.com
12 เมษายน 2551


คมคำคนคม


When I do good, I feel good; when I do bad, I feel bad, and that is my religion.

เมื่อข้าพเจ้าทำดี ข้าพเจ้ารู้สึกดี เมื่อข้าพเจ้าทำเรื่องแย่ ข้าพเจ้ารู้สึกแย่ และนั่นคือศาสนาของข้าพเจ้า

Abraham Lincoln
อับราแฮม ลิงคอล์น

HimeHima
22-01-2010, 09:41 PM
เราว่าได้และไม่ได้ ทำดีโชะไปตรงศาสนาไหนก็นับว่าดี ถ้าทำชั่วไปตรงศาสนาไหนก็นับว่าชั่ว

ยกตัวเอย่างเช่น ความชั่วทางพุทธถ้าใช้หลักของคริสต์มาจับ บางอย่างมันไม่ชั่ว เช่น มโนกรรมทั้งหลาย

จะอาอะไรเป็เครื่องวัดว่าการกระทำแต่อย่างดีหรือชั่วล่ะ กฏหมาย บรรทัดฐาน ใช้ไม่พอหรอกค่ะ

kongmobile
24-01-2010, 11:19 AM
เท่าที่เคยอ่านหนังสือมา พระพุธเจ้าก็ไม่เคยกล่าวไว้ว่า พุธคือศาสนา นี่นา