rfid_sec@yahoo.com
23-10-2006, 10:35 AM
นักวิจัยโชว์ผลงาน ค้นคว้าพบเชื้อรา! ต้านเซลล์มะเร็ง
ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 1 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 21 ต.ค. ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ (มทส.) พร้อมกด้วยกลุ่มนักศึกษา ได้ร่วมแถลงผลการวิจัยค้นพบ ราชนิดใหม่ในสกุล Hypoxylon 3 ชนิด สามารถออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ดี โดยการค้นพบครั้งสำคัญนี้ เป็นการศึกษา อนุกรมวิธานเชิงโมเลกุลของราในกลุ่ม Xylariaceae ที่ได้รับทุนการสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก และ (มทส.) รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการสังกัดกรมป่าไม้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ มหาวิทยาลัย Liverpool Jonh Moores ประเทศอังกฤษ
ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ เปิดเผยว่า ราชนิดใหม่ที่ค้นพบในครั้งนี้มีหลายสกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุล Hypoxylon และ Xylaria ซึ่งราในวงศ์ Xylariaceae เป็นรากลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะทางสัณฐานของโครงสร้างที่ผันแปรสูง ทำให้ยากต่อการศึกษาอนุกรมวิธาน จึงได้นำเทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล โดยหาลำดัลนิวคลีโอไทด์ของสารพันธุกรรม มาใช้ช่วยจัดจำแนกชนิดจึงทำให้ค้นพบราชนิดใหม่ ซึ่งชนิดที่ได้ตั้งชื่อและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว เป็นราในสกุล Hypoxylon จำนวน 3 ชนิดคือ 1. Hypoxylon kanchanapisekii พบได้บนไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดเล็ก 2. Hypoxylon suranareei ที่พบบนไม้กระถินเทพา มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กขนาดสีส้ม ขึ้นกระจายบนเปลือกไม้ และ3. Hypoxylon sublenormand ที่พบบนไม้ไผ่แต่มีสี และข้อมูลสารพันธุกรรมยืนยันเป็นราชนิดใหม่
ส่วนการออกฤทธิ์ของราในกลุ่มนี้ คณะทีมวิจัยได้ศึกษาจากการสกัดสารโปรตีนในกลุ่มเล็กตินที่สร้างจากรา และออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของคน จากการตรวจสอบหาสมบัติที่ก่อให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดแดงของสารเล็กตินที่สกัดจากเส้นใยของราเป็นเชื้อบริสุทธิ์ และเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์เม็ดเลือดแดงของคน (เลือดกลุ่มเอ บี และโอ) และสัตว์ 6 ชนิด แกะ ห่าน กระต่าย หนูตะเภา หนูแรท และหนูเมาส์ พบว่ากว่า 70 % ของราที่ทดสอบสามารถผลิตเล็กติน ในสกุล Hypoxylon และ Xylaria
“เมื่อคัดเลือกสารสกัดเล็กตินจากราที่ให้ผลบวกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์ แต่ไม่มีผลกับคนไปทดสอบความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งของคนที่เลี้ยงไว้ในหลอดทดลอง คือเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปากและเซลล์มะเร็งปากมดลูกซึ่งพบบ่อยและกำลังเป็นปัญหาต่อการรักษษผู้ป่วยในประเทศไทย ในการทดสอบชั้นต้นพบว่า เล็กตินจากราในสกุล Hypoxylon และ Xylaria มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งที่ทดสอบได้ดี จากผลความสำเร็จของการวิจัยที่สามารถแยกราบริสุทธิ์และเพาะเลี้ยงได้ในห้องปฏิบัติการ ยังให้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อคิดถึงการผลิตสารในระดับอุตสาหกรรม” ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ กล่าว
ส่วนที่จ.เชียงใหม่ วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักวิจัยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คิดค้นพัฒนาผลิต”ซีรัม”ควบคุมคุณภาพ ชนิดแห้งจากเลือดวัวเพื่อใช้งานวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.รุจาภา นิ่งสังข์ นักวิจัยจากคณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ หัวหน้างานคิดค้นซีรัมควบคุมคุณภาพเปิดเผยว่า ในการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์ ข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์ต้องการคือ ข้อมูลของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งควรเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำเพื่อแพทย์นำไปใช้ช่วยวินิจฉัยโรค จึงใช้ซีรัมควบคุมคุณภาพ(control serum) ซึ่งมักผลิตอยู่ในรูปซีรัมแห้ง (lyophilized control serum) ทำให้มีความคงตัวนานและสะดวกในการขนส่ง
รศ.รุจาภา กล่าวต่อว่า ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้วิจัยคิดค้นซีรัมควบคุมคุณภาพขึ้นเป็นผลสำเร็จ เป็นซีรัมควบคุมคุณภาพชนิดแห้ง โดยมีประสิทธิภาพสามารถวิเคราะห์ครอบคลุม 25 รายการบ่งชี้โรค อาทิ บ่งชี้ความผิดปกติของโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคกระดูก และโรคเบาหวาน ฯลฯ สำหรับวิธีการผลิตซีรัมควบคุมคุณภาพชนิดแห้งนั้น ใช้ซีรัมวัวเป็นวัตถุดิบ จากนั้นนำซีรัมมามาปรับปรุงให้เหมาะสม ปรับความเข้มข้นของสารวิเคราะห์ชนิดต่างๆ ในซีรัมให้อยู่ในนัยสำคัญของการใช้งานทางการแพทย์แล้วบรรจุขวดนำไปทำให้แห้งโดยการระเหิด
สำหรับทุนวิจัยนั้นเริ่มแรกได้รับทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2539-2542 จากนั้นในปีต่อๆมาจนถึงปัจจุบันได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนอื่นๆ คือ ทุนจากสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทุนงบประมาณแผ่นดินและทุนจากเงินรายได้ของคณะเทคนิคการแพทย์ โดยได้ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10 ปี ปัจจุบันผลงานวิจัยนี้กำลังดำเนินการจดสิทธิบัตรและทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพกระบวนการวิเคราะห์สารในสิ่งส่งตรวจที่บ่งชี้ถึงการมีภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้เกิดเส้นเลือดตีบตัน และสารบ่งชี้การเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ เช่น เอนไซม์ อะมิเลส
ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าคอนโทรลซีรัมจากต่างประเทศ มีราคาสูงขวดละตั้งแต่ 300 - 1,200 บาท ในขณะที่คอนโทรลซีรัมที่ผลิตได้เองมีราคาประหยัด ราคาขวดละประมาณ 250 บาทเท่านั้นจึงถือเป็นการทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้ปีละกว่าร้อยล้านบาท สำหรับคอนโทรลซีรัมนี้ ปัจจุบันสามารถขยายผลการใช้งานไปยังห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่างๆ กว่า 50 แห่งทั่วพื้นที่ภาคเหนือ ความสำเร็จในครั้งนี้จึงถือเป็นแผนงานวิจัยที่จะนำประเทศไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านการวิจัยผลิตยา และระบบการวินิจฉัย การรักษาทางการแพทย์ไทยให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสากล ตลอดจนทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี คาดว่าจะสามารถนำไปทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้อย่าง เต็มศักยภาพในอนาคต.
**Hidden Content: Check the thread to see hidden data.**
ที่ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา 1 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) อ.เมือง จ.นครราชสีมา เมื่อเวลา 12.00 น. วันที่ 21 ต.ค. ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง อาจารย์ประจำสาขาวิชาจุลชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ (มทส.) พร้อมกด้วยกลุ่มนักศึกษา ได้ร่วมแถลงผลการวิจัยค้นพบ ราชนิดใหม่ในสกุล Hypoxylon 3 ชนิด สามารถออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งได้ดี โดยการค้นพบครั้งสำคัญนี้ เป็นการศึกษา อนุกรมวิธานเชิงโมเลกุลของราในกลุ่ม Xylariaceae ที่ได้รับทุนการสนับสนุนการวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ภายใต้โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก และ (มทส.) รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการสังกัดกรมป่าไม้ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ และ มหาวิทยาลัย Liverpool Jonh Moores ประเทศอังกฤษ
ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ เปิดเผยว่า ราชนิดใหม่ที่ค้นพบในครั้งนี้มีหลายสกุล โดยเฉพาะอย่างยิ่งสกุล Hypoxylon และ Xylaria ซึ่งราในวงศ์ Xylariaceae เป็นรากลุ่มใหญ่ที่มีลักษณะทางสัณฐานของโครงสร้างที่ผันแปรสูง ทำให้ยากต่อการศึกษาอนุกรมวิธาน จึงได้นำเทคนิคทางชีววิทยาระดับโมเลกุล โดยหาลำดัลนิวคลีโอไทด์ของสารพันธุกรรม มาใช้ช่วยจัดจำแนกชนิดจึงทำให้ค้นพบราชนิดใหม่ ซึ่งชนิดที่ได้ตั้งชื่อและได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว เป็นราในสกุล Hypoxylon จำนวน 3 ชนิดคือ 1. Hypoxylon kanchanapisekii พบได้บนไม้ไผ่ มีลักษณะเป็นก้อนกลมขนาดเล็ก 2. Hypoxylon suranareei ที่พบบนไม้กระถินเทพา มีลักษณะเป็นเม็ดเล็กขนาดสีส้ม ขึ้นกระจายบนเปลือกไม้ และ3. Hypoxylon sublenormand ที่พบบนไม้ไผ่แต่มีสี และข้อมูลสารพันธุกรรมยืนยันเป็นราชนิดใหม่
ส่วนการออกฤทธิ์ของราในกลุ่มนี้ คณะทีมวิจัยได้ศึกษาจากการสกัดสารโปรตีนในกลุ่มเล็กตินที่สร้างจากรา และออกฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของคน จากการตรวจสอบหาสมบัติที่ก่อให้เกิดการจับกลุ่มของเซลล์เม็ดเลือดแดงของสารเล็กตินที่สกัดจากเส้นใยของราเป็นเชื้อบริสุทธิ์ และเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ โดยใช้เซลล์เม็ดเลือดแดงของคน (เลือดกลุ่มเอ บี และโอ) และสัตว์ 6 ชนิด แกะ ห่าน กระต่าย หนูตะเภา หนูแรท และหนูเมาส์ พบว่ากว่า 70 % ของราที่ทดสอบสามารถผลิตเล็กติน ในสกุล Hypoxylon และ Xylaria
“เมื่อคัดเลือกสารสกัดเล็กตินจากราที่ให้ผลบวกกับเซลล์เม็ดเลือดแดงของสัตว์ แต่ไม่มีผลกับคนไปทดสอบความเป็นพิษกับเซลล์มะเร็งของคนที่เลี้ยงไว้ในหลอดทดลอง คือเซลล์มะเร็งเยื่อบุช่องปากและเซลล์มะเร็งปากมดลูกซึ่งพบบ่อยและกำลังเป็นปัญหาต่อการรักษษผู้ป่วยในประเทศไทย ในการทดสอบชั้นต้นพบว่า เล็กตินจากราในสกุล Hypoxylon และ Xylaria มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งที่ทดสอบได้ดี จากผลความสำเร็จของการวิจัยที่สามารถแยกราบริสุทธิ์และเพาะเลี้ยงได้ในห้องปฏิบัติการ ยังให้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อคิดถึงการผลิตสารในระดับอุตสาหกรรม” ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ กล่าว
ส่วนที่จ.เชียงใหม่ วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักวิจัยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คิดค้นพัฒนาผลิต”ซีรัม”ควบคุมคุณภาพ ชนิดแห้งจากเลือดวัวเพื่อใช้งานวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เกี่ยวกับเรื่องนี้ รศ.รุจาภา นิ่งสังข์ นักวิจัยจากคณะเทคนิคการแพทย์ ม.เชียงใหม่ หัวหน้างานคิดค้นซีรัมควบคุมคุณภาพเปิดเผยว่า ในการตรวจวินิจฉัยโรคของแพทย์ ข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์ต้องการคือ ข้อมูลของผู้ป่วยที่เกี่ยวกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการซึ่งควรเป็นข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำเพื่อแพทย์นำไปใช้ช่วยวินิจฉัยโรค จึงใช้ซีรัมควบคุมคุณภาพ(control serum) ซึ่งมักผลิตอยู่ในรูปซีรัมแห้ง (lyophilized control serum) ทำให้มีความคงตัวนานและสะดวกในการขนส่ง
รศ.รุจาภา กล่าวต่อว่า ทางคณะเทคนิคการแพทย์ ได้วิจัยคิดค้นซีรัมควบคุมคุณภาพขึ้นเป็นผลสำเร็จ เป็นซีรัมควบคุมคุณภาพชนิดแห้ง โดยมีประสิทธิภาพสามารถวิเคราะห์ครอบคลุม 25 รายการบ่งชี้โรค อาทิ บ่งชี้ความผิดปกติของโรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคกระดูก และโรคเบาหวาน ฯลฯ สำหรับวิธีการผลิตซีรัมควบคุมคุณภาพชนิดแห้งนั้น ใช้ซีรัมวัวเป็นวัตถุดิบ จากนั้นนำซีรัมมามาปรับปรุงให้เหมาะสม ปรับความเข้มข้นของสารวิเคราะห์ชนิดต่างๆ ในซีรัมให้อยู่ในนัยสำคัญของการใช้งานทางการแพทย์แล้วบรรจุขวดนำไปทำให้แห้งโดยการระเหิด
สำหรับทุนวิจัยนั้นเริ่มแรกได้รับทุนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในปี 2539-2542 จากนั้นในปีต่อๆมาจนถึงปัจจุบันได้รับทุนวิจัยจากแหล่งทุนอื่นๆ คือ ทุนจากสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ทุนงบประมาณแผ่นดินและทุนจากเงินรายได้ของคณะเทคนิคการแพทย์ โดยได้ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาประมาณ 10 ปี ปัจจุบันผลงานวิจัยนี้กำลังดำเนินการจดสิทธิบัตรและทำการศึกษาเพิ่มเติม เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพกระบวนการวิเคราะห์สารในสิ่งส่งตรวจที่บ่งชี้ถึงการมีภาวะไขมันในเลือดสูง เช่น โคเลสเตอรอล และ ไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งทำให้เกิดเส้นเลือดตีบตัน และสารบ่งชี้การเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ เช่น เอนไซม์ อะมิเลส
ทั้งนี้ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าคอนโทรลซีรัมจากต่างประเทศ มีราคาสูงขวดละตั้งแต่ 300 - 1,200 บาท ในขณะที่คอนโทรลซีรัมที่ผลิตได้เองมีราคาประหยัด ราคาขวดละประมาณ 250 บาทเท่านั้นจึงถือเป็นการทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้ปีละกว่าร้อยล้านบาท สำหรับคอนโทรลซีรัมนี้ ปัจจุบันสามารถขยายผลการใช้งานไปยังห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลต่างๆ กว่า 50 แห่งทั่วพื้นที่ภาคเหนือ ความสำเร็จในครั้งนี้จึงถือเป็นแผนงานวิจัยที่จะนำประเทศไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านการวิจัยผลิตยา และระบบการวินิจฉัย การรักษาทางการแพทย์ไทยให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับสากล ตลอดจนทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี คาดว่าจะสามารถนำไปทำการผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้อย่าง เต็มศักยภาพในอนาคต.
**Hidden Content: Check the thread to see hidden data.**