spicydog
16-08-2009, 09:03 PM
กระทู้นี้เป็นบทความเกี่ยวกับวิศวะคอมฯกับวิทยาการคอมฯ
ซึ่งเป็นที่ถามกันมากมาย จนผมได้ไปอ่านเจอบทความหนึ่งดังที่คัดลอกมาให้อ่านกันครับ
ลองอ่านดูครับ อธิบายค่อนข้างจะเคลียเลยทีเดียว :)
อ่านแล้วก็ยังฟึตฟัตๆนิดหน่อย เพราะผมเรียนวิทยาการคอม
สุดท้ายเรียนจบอะไรออกมา ความสามารถถึง+ขยันซะอย่าง ก็ไม่ต้องไปกลัวหลอก
ผมมักเข้าไปอ่านในกระทู้พันธ์ทิพย์บ่อย ๆ ครับ ก็มีแวะไปที่ Tech Exchange บ้างเหมือนกัน ที่นั่นนอกจากมีกระทู้ร้อนแรงประเภทว่าค่าแรงของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ควรเป็นเท่าไหร่ดี? (http://www.peetai.com/archives/162) ก็ยังมีอีกหัวข้อนึงที่ร้อนแรงไม่แพ้กันนั่นก็คือ … Computer Engineering กับ Computer Science อันไหนดีกว่ากัน หรือ Computer Engineering กับ Computer Science ควรเลือกเอ็นสะท้านเข้าอย่างไหนดี
ตั้งกระทู้แบบนี้ก็ทะเลาะกันน่ะสิครับ ความเห็นงี้ยาวเป็นหางว่าวเลย ซัดกันนัวเนียทีเดียว ผมล่ะหน่าย อ่านทีไรทำใจทุ้กที
ผมล่ะคันมือยิบ ๆ อยากจะบอกพวกที่ทะเลาะกันเหลือเกินว่า การจะเห็นว่าอะไรดีกว่าอะไร หรือจะเลือกอะไร ๆ ที่ว่านั่นน่ะ เราต้องทำความเข้าใจรากเหง้าของมันซะก่อน เราถึงค่อยตัดสินใจ ว่าแล้วผมก็ทำรูปมาให้ดูเลยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คอมพิวเตอร์คือเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอิเลกทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยไฟฟ้า โอเคมั้ย งั้นเริ่มเลย
http://www.peetai.com/wp-content/uploads/2006/11/computer_field.jpg
(สำหรับคนที่ไม่เข้าใจตัวย่อ จะขออธิบายดังนี้ วศบ. คือ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, วทบ. คือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต และ บธบ. คือ บริหารธุรกิจบัณฑิต)
จาก ภาพจะเห็นว่าระบบเครื่องกลกับระบบไฟฟ้าจะมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะระบบไฟฟ้าสามารถสั่งงานให้มอเตอร์หมุนได้ และระบบเครื่องกลก็เป็นไดนาโมหมุนให้เกิดระบบไฟฟ้าขึ้นมาได้ (เอ่อ ผมก็รู้อ่ะครับว่าทุกวันนี้เมืองไทยเราตะบี้ตะบันเผาถ่านหินกับเผาน้ำมันมา ใช้ปั่นไฟให้เราอ่ะครับ ซึ่งอันนั้นผมถือว่าเป็นระบบเคมีอ่ะครับ ขอถือว่าเป็นอีกประเด็นแล้วกัน)
ระบบเครื่องกลเป็นงานของคนจบวิศวกรรมเครื่องกล ในขณะที่ระบบไฟฟ้ากำลัง เป็นงานของคนที่จบวิศวกรรมไฟฟ้า ใช่แมะ? ที่สำคัญเด็กไฟฟ้าก็รู้วิธีในการใช้ไฟฟ้าควบคุม stepping motor (http://en.wikipedia.org/wiki/Stepping_motor) ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังในการทำให้เครื่องจักรกลทำงาน (อันนี้เป็นหลักการของการควบคุมหุ่นยนต์เลยนะเนี่ย)
แต่ เนื่องจากว่าการที่เราจะควบคุมไฟฟ้ากำลัง แต่เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ก็เลยต้องมีระบบอิเลกทรอนิกส์ขึ้นมา เพราะระบบอิเลกทรอนิกส์เป็นระบบควบคุมสัญญาณไฟฟ้า และตัวของระบบเองก็แปลงกำลังไฟฟ้ามาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อหล่อเลี้ยงเช่นกัน ซึ่งคนที่จบวิศวกรรมอิเลกทรอนิกส์มา ย่อมรู้ดีว่าจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังไง เพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังทำงานอย่างที่ตัวเองต้องการ
ทีนี้ระบบอิเลกทรอนิกส์ก็ก้าวหน้ามาก จนมนุษย์เราสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ที่สลับ ซับซ้อนขึ้นมาจนได้ ซึ่งจุดเปลี่ยนมันก็อยู่ตรงที่คอมพิวเตอร์มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เขียน โปรแกรมควบคุมมันได้อีกทอดนึง ดังนั้นระบบฮาร์ดแวร์เชื่อมประสานกับระบบซอฟต์แวร์ก็เลยกลายเป็นงานของคนที่ จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ซึ่งมีความเข้าใจในพื้นฐานของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, มีความเข้าใจในระบบอิเลกทรอนิกส์ และมีความเข้าใจในภาษาคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์นั้น ๆ) ดังนั้นหน้าที่ในการสร้างซอฟต์แวร์เพื่อควบคุม และสื่อสารกับคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นบทบาทของวิศวกรคอมพิวเตอร์ไปโดยปริยาย
ในโลกนี้มีโจทย์ตั้งมากมายรอให้แก้ไขอยู่ ตั้งแต่โจทย์ง่ายแสนง่าย ไปจนถึงโจทย์ยากมหาหิน ซึ่งโจทย์ส่วนใหญ่จะแก้ไขได้รวดเร็วมาก หากเราประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ไขให้ ดังนั้นจึงเป็นงานของคนที่จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่จะคิดค้นทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามทฤษฎีที่มีการคิดขึ้นมา
จะเห็นว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราก็จะได้บทสรุปในระดับหนึ่งแล้วว่า Computer Engineering (http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_engineering) กับ Computer Science (http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_science) มันต่างกันตรงไหน
ทีนี้เรามาดูในสังคมการศึกษาของไทยเรา อย่างที่เรารู้กันว่าคะแนนเอ็นสะท้านของวิศวะจะสูงปรี๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ มาก ๆ ในขณะที่ของวิดยาอยู่กลาง กล๊าง กลาง หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ คนสติปัญญาดีจะไปเรียนวิศวะกันเยอะนั่นเอง
เรื่องเรียนหนังสือมันก็เรื่องหนึ่งครับ เรื่องของการจ้างแรงงานในระบบอุตสาหกรรมของไทยก็อีกเรื่องหนึ่ง จากภาพที่ผมวาดไว้ข้างบนจะเห็นว่า ระบบฮาร์ดแวร์ + ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นงานโดยตรงของคนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้น มีการต่อเชื่อมอย่างใกล้ชิดกับระบบอิเลกทรอนิกส์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะได้ทำงานตรงกับบทบาทของตัวเองได้ หากอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ของไทยเราขยายตัวอย่างสมเหตุสมผลเหมือนประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำ
แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศไทยเรา เป็นเซียนทางด้านการนำเข้าระบบอิเลกทรอนิกส์ทั้งปวง อีกทั้งเราก็เป็นเซียนเรื่องการประกอบอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์อีกต่างหาก ไอ้เรื่องจะมาวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ สงสัยต้องรอไปอีกนาน
มันจึงทำให้ทุกวันนี้คนจบทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ต้อง <strike>downgrade</strike> apply ตัวเอง ลงมาทำงานของคนที่จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ครับ เช่น งานพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ, งานพัฒนา search engine, งานพัฒนา speech recognition, งานพัฒนา OCR ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วงานพวกนี้เป็นงานของคนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์เค้า
ทางคนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์เองก็สาหัสไม่แพ้กันครับ เนื่องจากว่าระดับสติปัญญาก็สู้คนจบวิศวะไม่ได้อยู่แล้ว ซ้ำร้ายยังถูกแย่ง segment ของตัวเองไปอีกต่างหาก ก็เลยต้อง <strike>downgrade</strike> apply ตัวเองเหมือนกัน ลงไปทำงานพวกซอฟต์แวร์ ERP, CRM, ซอฟต์แวร์บัญชี, ซอฟต์แวร์พัสดุ ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วงานพวกนี้เป็นงานของคนจบคอมพิวเตอร์ธุรกิจเค้า
ทีนี้คงไม่ต้องพูดถึงคนจบบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจนะครับ ว่าเขาจะต้อง <strike>downgrade</strike> apply ลงไปทำอะไร !!!
จะเห็นว่าหากอุตสาหกรรมของประเทศ ขยายตัวอย่างสมเหตุสมผลตามสภาวการณ์ที่มันควรจะเป็น ชนชั้นแรงงานอย่างพวกเรา ก็จะได้ยืนอยู่บน segement ของตัวเองได้อย่างมีความสุขและไม่มีปัญหาครับ
ป.ล. ผมเองก็จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ครับ ไม่ได้คิดจะกล่าวกระทบคนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครับ ผมพูดตามสภาวะที่เป็นจริงครับ ดังนั้น อย่าโกรธผมเลยนะคร้าบบบบบได้โปรด
คัดลอกจาก: http://www.peetai.com/archives/194
ซึ่งเป็นที่ถามกันมากมาย จนผมได้ไปอ่านเจอบทความหนึ่งดังที่คัดลอกมาให้อ่านกันครับ
ลองอ่านดูครับ อธิบายค่อนข้างจะเคลียเลยทีเดียว :)
อ่านแล้วก็ยังฟึตฟัตๆนิดหน่อย เพราะผมเรียนวิทยาการคอม
สุดท้ายเรียนจบอะไรออกมา ความสามารถถึง+ขยันซะอย่าง ก็ไม่ต้องไปกลัวหลอก
ผมมักเข้าไปอ่านในกระทู้พันธ์ทิพย์บ่อย ๆ ครับ ก็มีแวะไปที่ Tech Exchange บ้างเหมือนกัน ที่นั่นนอกจากมีกระทู้ร้อนแรงประเภทว่าค่าแรงของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ควรเป็นเท่าไหร่ดี? (http://www.peetai.com/archives/162) ก็ยังมีอีกหัวข้อนึงที่ร้อนแรงไม่แพ้กันนั่นก็คือ … Computer Engineering กับ Computer Science อันไหนดีกว่ากัน หรือ Computer Engineering กับ Computer Science ควรเลือกเอ็นสะท้านเข้าอย่างไหนดี
ตั้งกระทู้แบบนี้ก็ทะเลาะกันน่ะสิครับ ความเห็นงี้ยาวเป็นหางว่าวเลย ซัดกันนัวเนียทีเดียว ผมล่ะหน่าย อ่านทีไรทำใจทุ้กที
ผมล่ะคันมือยิบ ๆ อยากจะบอกพวกที่ทะเลาะกันเหลือเกินว่า การจะเห็นว่าอะไรดีกว่าอะไร หรือจะเลือกอะไร ๆ ที่ว่านั่นน่ะ เราต้องทำความเข้าใจรากเหง้าของมันซะก่อน เราถึงค่อยตัดสินใจ ว่าแล้วผมก็ทำรูปมาให้ดูเลยเพื่อให้เกิดความเข้าใจ โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ว่า คอมพิวเตอร์คือเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ซึ่งอิเลกทรอนิกส์จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยไฟฟ้า โอเคมั้ย งั้นเริ่มเลย
http://www.peetai.com/wp-content/uploads/2006/11/computer_field.jpg
(สำหรับคนที่ไม่เข้าใจตัวย่อ จะขออธิบายดังนี้ วศบ. คือ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต, วทบ. คือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต และ บธบ. คือ บริหารธุรกิจบัณฑิต)
จาก ภาพจะเห็นว่าระบบเครื่องกลกับระบบไฟฟ้าจะมีความเกี่ยวข้องกัน เพราะระบบไฟฟ้าสามารถสั่งงานให้มอเตอร์หมุนได้ และระบบเครื่องกลก็เป็นไดนาโมหมุนให้เกิดระบบไฟฟ้าขึ้นมาได้ (เอ่อ ผมก็รู้อ่ะครับว่าทุกวันนี้เมืองไทยเราตะบี้ตะบันเผาถ่านหินกับเผาน้ำมันมา ใช้ปั่นไฟให้เราอ่ะครับ ซึ่งอันนั้นผมถือว่าเป็นระบบเคมีอ่ะครับ ขอถือว่าเป็นอีกประเด็นแล้วกัน)
ระบบเครื่องกลเป็นงานของคนจบวิศวกรรมเครื่องกล ในขณะที่ระบบไฟฟ้ากำลัง เป็นงานของคนที่จบวิศวกรรมไฟฟ้า ใช่แมะ? ที่สำคัญเด็กไฟฟ้าก็รู้วิธีในการใช้ไฟฟ้าควบคุม stepping motor (http://en.wikipedia.org/wiki/Stepping_motor) ซึ่งถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังในการทำให้เครื่องจักรกลทำงาน (อันนี้เป็นหลักการของการควบคุมหุ่นยนต์เลยนะเนี่ย)
แต่ เนื่องจากว่าการที่เราจะควบคุมไฟฟ้ากำลัง แต่เพียงอย่างเดียว คงไม่สามารถทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ก็เลยต้องมีระบบอิเลกทรอนิกส์ขึ้นมา เพราะระบบอิเลกทรอนิกส์เป็นระบบควบคุมสัญญาณไฟฟ้า และตัวของระบบเองก็แปลงกำลังไฟฟ้ามาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อหล่อเลี้ยงเช่นกัน ซึ่งคนที่จบวิศวกรรมอิเลกทรอนิกส์มา ย่อมรู้ดีว่าจะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังไง เพื่อให้ระบบไฟฟ้ากำลังทำงานอย่างที่ตัวเองต้องการ
ทีนี้ระบบอิเลกทรอนิกส์ก็ก้าวหน้ามาก จนมนุษย์เราสามารถสร้างคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมืออิเลกทรอนิกส์ที่สลับ ซับซ้อนขึ้นมาจนได้ ซึ่งจุดเปลี่ยนมันก็อยู่ตรงที่คอมพิวเตอร์มีสิ่งอำนวยความสะดวกให้เขียน โปรแกรมควบคุมมันได้อีกทอดนึง ดังนั้นระบบฮาร์ดแวร์เชื่อมประสานกับระบบซอฟต์แวร์ก็เลยกลายเป็นงานของคนที่ จบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ผู้ซึ่งมีความเข้าใจในพื้นฐานของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, มีความเข้าใจในระบบอิเลกทรอนิกส์ และมีความเข้าใจในภาษาคอมพิวเตอร์ (ซึ่งเป็นภาษาเครื่องของคอมพิวเตอร์นั้น ๆ) ดังนั้นหน้าที่ในการสร้างซอฟต์แวร์เพื่อควบคุม และสื่อสารกับคอมพิวเตอร์และฮาร์ดแวร์ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นบทบาทของวิศวกรคอมพิวเตอร์ไปโดยปริยาย
ในโลกนี้มีโจทย์ตั้งมากมายรอให้แก้ไขอยู่ ตั้งแต่โจทย์ง่ายแสนง่าย ไปจนถึงโจทย์ยากมหาหิน ซึ่งโจทย์ส่วนใหญ่จะแก้ไขได้รวดเร็วมาก หากเราประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแก้ไขให้ ดังนั้นจึงเป็นงานของคนที่จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่จะคิดค้นทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งทำหน้าที่เขียนซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ตามทฤษฎีที่มีการคิดขึ้นมา
จะเห็นว่าเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว เราก็จะได้บทสรุปในระดับหนึ่งแล้วว่า Computer Engineering (http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_engineering) กับ Computer Science (http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_science) มันต่างกันตรงไหน
ทีนี้เรามาดูในสังคมการศึกษาของไทยเรา อย่างที่เรารู้กันว่าคะแนนเอ็นสะท้านของวิศวะจะสูงปรี๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ มาก ๆ ในขณะที่ของวิดยาอยู่กลาง กล๊าง กลาง หรือกล่าวง่าย ๆ ก็คือ คนสติปัญญาดีจะไปเรียนวิศวะกันเยอะนั่นเอง
เรื่องเรียนหนังสือมันก็เรื่องหนึ่งครับ เรื่องของการจ้างแรงงานในระบบอุตสาหกรรมของไทยก็อีกเรื่องหนึ่ง จากภาพที่ผมวาดไว้ข้างบนจะเห็นว่า ระบบฮาร์ดแวร์ + ซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นงานโดยตรงของคนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์นั้น มีการต่อเชื่อมอย่างใกล้ชิดกับระบบอิเลกทรอนิกส์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์จะได้ทำงานตรงกับบทบาทของตัวเองได้ หากอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ของไทยเราขยายตัวอย่างสมเหตุสมผลเหมือนประเทศ อุตสาหกรรมชั้นนำ
แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าประเทศไทยเรา เป็นเซียนทางด้านการนำเข้าระบบอิเลกทรอนิกส์ทั้งปวง อีกทั้งเราก็เป็นเซียนเรื่องการประกอบอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์อีกต่างหาก ไอ้เรื่องจะมาวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์ สงสัยต้องรอไปอีกนาน
มันจึงทำให้ทุกวันนี้คนจบทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ต้อง <strike>downgrade</strike> apply ตัวเอง ลงมาทำงานของคนที่จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ครับ เช่น งานพัฒนาซอฟต์แวร์อัจฉริยะ, งานพัฒนา search engine, งานพัฒนา speech recognition, งานพัฒนา OCR ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วงานพวกนี้เป็นงานของคนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์เค้า
ทางคนจบวิทยาการคอมพิวเตอร์เองก็สาหัสไม่แพ้กันครับ เนื่องจากว่าระดับสติปัญญาก็สู้คนจบวิศวะไม่ได้อยู่แล้ว ซ้ำร้ายยังถูกแย่ง segment ของตัวเองไปอีกต่างหาก ก็เลยต้อง <strike>downgrade</strike> apply ตัวเองเหมือนกัน ลงไปทำงานพวกซอฟต์แวร์ ERP, CRM, ซอฟต์แวร์บัญชี, ซอฟต์แวร์พัสดุ ฯลฯ ซึ่งจริง ๆ แล้วงานพวกนี้เป็นงานของคนจบคอมพิวเตอร์ธุรกิจเค้า
ทีนี้คงไม่ต้องพูดถึงคนจบบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจนะครับ ว่าเขาจะต้อง <strike>downgrade</strike> apply ลงไปทำอะไร !!!
จะเห็นว่าหากอุตสาหกรรมของประเทศ ขยายตัวอย่างสมเหตุสมผลตามสภาวการณ์ที่มันควรจะเป็น ชนชั้นแรงงานอย่างพวกเรา ก็จะได้ยืนอยู่บน segement ของตัวเองได้อย่างมีความสุขและไม่มีปัญหาครับ
ป.ล. ผมเองก็จบวิทยาการคอมพิวเตอร์ครับ ไม่ได้คิดจะกล่าวกระทบคนจบวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ครับ ผมพูดตามสภาวะที่เป็นจริงครับ ดังนั้น อย่าโกรธผมเลยนะคร้าบบบบบได้โปรด
คัดลอกจาก: http://www.peetai.com/archives/194