hina_lovex
20-06-2008, 10:03 AM
ก่อนจะกล่าวถึงหลักธรรม หัวใจเศรษฐี ผมขอเอาข้อความจาก web : www.budpage.com ซักบทความหนึ่งมาประกอบก่อนเข้าเรื่องหัวใจเศรษฐีของท่าน ว.วชิรเมธี นะครับ
พอดีผมไปอ่านข้อความใน เว็บ budpage เป็นประจำทุกเช้าเพื่อสร้างกำลังใจในการทำงาน วันนี้ได้ไปเจอข้อความของคุณโจโจ้ซัง เรื่องวิธีคิดแบบ แยกเงินเดือนเป็น 4 ส่วน ผมก็เลยเข้าใจว่า คงจะเป็นเรื่องหัวใจเศรษฐี อุ อา ก ส อันประกอบด้วย
อุฎฐานสัมปทา
อารัขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา
เหมือนเป็นเรื่องที่รู้แล้ว ก็เลยตั้งใจว่าจะเข้าไปอ่านแค่ ต้นๆ แล้วผ่านไป แต่พออ่านแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่เคยรู้มานี่นา ก็เลยเก็บมาฝาก พร้อมกับอยากบอกว่า เรื่องใดที่เราคิดว่ารู้แล้ว เมื่อไม่ศึกษาเพิ่มเติม เราก็อาจจะพลาดความรู้ไป เพียงเพราะเราบอกว่าเรารู้แล้ว เราเก่งแล้วครับ
ส่วนข้อความเรื่อง แยกเงินเดือนเป็น 4 ส่วน ผมคิดว่าผู้เขียนข้อความเป็นคนที่รู้ธรรมะ ระดับที่เอาไปปรับใช้ได้แล้ว คือเป็นการนำเรื่องการแบ่งเิงิน 4 กอง (หัวใจเศรษฐี) มาเสริมด้วย การคิดเชิงบวก ซึ่งเป็นการประยุกต์แก้ปัญหาที่น่าสนใจ
กับทั้งท่าน ว.วชิรเมธี ก็เป็นผู้ที่อธิบายธรรมะ แบบประยุกต์ เข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว)
หัวใจเศรษฐี
คนทั่วไปมักมองกันว่า พระพุทธศาสนาไม่สู้จะมีคำสอนในทางเศรษฐศาสตร์ หรือมักคิดกันว่า พระพุทธศาสนาสอนแต่ให้มนุษย์ลดละกิเลส คงไม่สนใจเรื่องเงินๆทองๆหรือ การทำมาค้าขาย แต่ ความจริงแล้วดูเหมือนจะตรงกันข้าม เพราะพุทธศาสนามีคำสอนในเรื่องเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างลึกซึ้ง และสอนมาตั้ง 2500 กว่าปีมาแล้วอีกต่างหาก กระทั่งวันหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว มีฝรั่งชื่อ อี เอฟ ชูมาเคอร์ นำเอาแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธไปเขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ Small is beautiful หรือในพากย์ไทยว่า จิ๋วแต่แจ๋ว นั่นแหละ คนไทยจังหันมาสนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกันอย่างจริงจัง
พูดถึงคำว่าเศรษฐศาสตร์ คนส่วนใหญ่ก็มักเข้าใจกันอย่างแคบๆว่า หมายถึงเรื่องเงินๆทองๆ เพียงอย่างเดียว แท้จริงแล้ว เศรษฐศาสตร์ครอบคลุมเรื่องการกิน การอยู่ การดำรงชีวิตของคนเราแทบทุกเรื่องเลยทีเดียว
ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรากล่าวอย่างตรงไปตรงมาก็คือ พระองค์ทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั่นเอง ทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมข้อไหน คำตอบก็คือ น่าจะทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมชื่อ หัวใจเศรษฐี เป็นสำคัญ
หลักธรรมชื่อ หัวใจเศรษฐี มีสาระ 4 ประการคือ
1. ขยันหา
2. รักษาดี
3. ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร
4. ดำรงชีวิตแบบพอเพียง
คนโบราณท่านสอนกันมาว่า ใครอยากทำมาค้าขายคล่องจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีก็ให้ท่องคาถา หัวในเศรษฐี 4 คำให้ขึ้นใจ คาถาหัวใจเศรษฐีที่แนะนำให้ท่องกันในหมู่ผู้มีอาชีพทางทำมาค้าขายนั้น ก็คือคำว่า อุ อา ก ส ท่องแล้วก็ยกมือจบ เหนือเศียรเกล้า จากนั้นจังออกจากบ้านไปทำมาค้าขาย หลายคนทำตามวิธีนี้แล้วไม่เห็นรวยสักที จึงมักตัดพ้อต่อว่าบรรพบุรุษว่าให้คาถาดี แต่ไม่เห็นทำให้ขายของดีเลย ที่จริงคงไม่ใช่ความผิดของบรรพบุรุษท่านหรอก แต่คงเป็นความผิดของคนรุ่นหลังอย่างเราๆนี่เองที่ ปัญญาไม่ถึงคนโบราณท่านแต่ก่อนเอง
อุ อา ก ส นั้นท่านถอดมาจากภาษาบาลีที่ว่า
1. อุ อุฎฐานสัมปทา ขยันหา
2. อา อารัขสัมปทา รักษาดี
3. ก กัลยาณมิตตตา ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร
4. ส สมชีวิตา ดำรงชีวิตแบบพอเพียง
พ่อค้าแม่ขายหรือนักธุรกิจที่เอาแต่ท่อง อุ อา ก ส โดยไม่เคยเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคาถาดังกล่าวนี้ยากจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางของการเป็นพ่อค้าหรือนักธุรกิจได้ แต่หากเข้าใจแก่นของคาถานี้ชัดแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาท่องก็ได้ ความร่ำรวยจะมาเยือนในเร็ววันอย่างไม่ต้องสงสัย
อุ อา ก ส แต่ละข้องมีความหมายดังนี้
1. อุ-ขยันหา หมายถึง ความเป็นคนขยัน หมั่นแสวงหาช่องทาง วิธีการในการทำมาค้าขายที่ถูกกับความรู้ ความถนัด พื้นฐานทางครอบครัว/สังคม และพรสวรรค์ของตัวเอง เมื่อแสวงหาช่องทางที่ตนถนัดได้แล้วก็ต้อง ขยัน ทำงานอย่างชนิดแทบล้มประดาตาย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการเคยกล่าวว่า คำว่า ขยัน มาจากคำว่า ขายัน นั่นคือ คนจะรวยได้ต้องเป็นนักสู้ นักเดินทาง นักลงทุน นักก้าวไปข้างหน้า นักฟันฝ่าชีวิต ขาทั้งสองต้อง ยัน คือออกไปตะลอนๆ หาลู่ทางทำมาหากินอยู่ตลอด ไม่ใช่ นอนนิ่งๆ อยู่กับบ้าน อย่างนั้นไม่เรียกว่าขายัน แต่เรียกว่าขายาว คนขายาวไม่เคยมีใครรวย มีแต่คน ขายัน อาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานตัวเป็นเกลียวเท่านั้นจึงมีโอกาสรวย
2. อา-รักษาดี หมายถึง หาเงินมาได้แล้วต้องรู้ว่าจะรักษาเงิน บริหารเงินอย่างไรให้เงินนั้นงอกเงยออกมามากมายมากกว่าเดิมไม่ใช่มีเงินเท่าไรก็เก็บใส่ธนาคารไว้อย่างเดียว ไม่ยอมเอาไปลงทุน อะไรเลย แต่ต้องเรียนรู้ว่า
2.1 เงินที่หามาได้จะรักษาอย่างไรไม่ให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2.2 จะบริหารอย่างไรต่อไปให้เงินนั้นสามารถที่จะ ต่อเงิน ออกไปได้เรื่อยๆ
คำว่า รักษา จึงไม่ใช่หมายถึง เก็บเงินเอาไว้อย่างเดียว แต่ควรหมายถึง การรู้จักทำให้เงินนั้นงอกงามมากขึ้นด้วยการลงทุนอย่างชาญฉลาดด้วย
3. ก-ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร หมายถึง การรู้จัก คบคนดีเป็นเพื่อนแท้ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงการมี สายป่าน กับบรรดานักธุรกิจ นักลงทุน พ่อค้าแม่ขายในสายวิชาชีพเดียวกันเยอะๆ แต่มีข้อแม้ว่า สายป่านนั้นต้องเป็นสายป่านฝ่ายดีที่เรียกว่า กัลยาณมิตร เท่านั้น
ในทางพระพุทธศาสนา ท่านเน้นว่า ความสำเร็จต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมหรือความสง่างามด้วยเสมอไป สายป่านเน่าๆอย่างพ่อค้ายาเสพติด นักธุรกิจสีเทา ไม่ควรข้องแวะอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เงินทองที่หามาได้และที่รักษาไว้ในข้อสอง พลอยอันตรธานไปได้อย่างง่ายดาย หรือถึงเงินไม่อันตรธาน การคบ คนเลวเป็นมิตรก็มีผลต่อความเสื่อมเสียมากมาย ไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนตัว สังคม ธุรกิจ หรือแม้แต่ต่อชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจของตนเอง ประการสำคัญ การคบคนเลวเป็นมิตรยังทำให้ไปค้าขายในนานาอารยประเทศไม่ได้อีกต่างหาก เพราะหากใครมีเพื่อนเป็นนักธุรกิจที่ถูกขึ้น แบล็กลิสต์ เสียแล้วละก็ ถึงตัวเองไม่เลว แต่การอยู่ใกล้คนเลว ก็ไม่พ้นที่จะถูกเหมารวมว่าเป็นพวกเดียวกัน
4.ส-ดำรงชีวิตแบบพอเพียง หมายถึง การรู้จักคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างถ่องแท้ ไม่จ่ายเงินเหมือนโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงในคลอง เหมือนคนโง่เอาทองไปถักรองเท้า แต่ควรรู้จักบริหารบัญชีงบดุลให้มีกำไรโดยให้รายรับมากกว่ารายจ่ายอยู่เสมอหรือ ถือหลักไม่จ่ายเกินหน้าตักนั่นเอง
คำว่า ดำรงชีวิตแบบพอเพียงนี้มีเคล็ดลับสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องรู้จักเพียงพอ คือรู้ว่าอะไรที่พอเหมาะสมควรกับสถานภาพที่แท้จริงของตัวเอง การจะรู้จักเพียงพอจนเกิดพอเพียงก็ต้องใช้ชีวิตให้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ทำตนนเป็นคนหน้าใหญ่ ที่ยอมจ่ายแพงกว่าเสมอในทุกๆเรื่อง เพียงเพื่อให้คนรู้ว่าตัวเองร่ำรวย ทั้งๆที่ความจริงเป็นคนละด้าน นักการเงินการธนาคารผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งเคยกล่าวว่า
คนที่ใช้ชีวิตอย่างคนรวย จะจน
คนที่ใช้ชีวิตอย่างคนจน จะรวย
เจ้าของคำกล่าวนี้เคยเป็นเจ้าของธนาคารยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยมาก่อน และทุกวันนี้ธนาคารที่ท่านก่อตั้งก็ยังอยู่ และยังคงยิ่งยงไม่ด้อยไปกว่าในอดีตอีกด้วย แสดงว่าคำกล่าวของท่านเชื่อถือได้ร้องเปอร์เซ็นต์
คาถาหัวใจเศรษฐีของพระพุทธเจ้านั้น ท่านมิได้มีไว้ให้ ท่องจำ แต่ท่านมีไว้ให้ ลงมือทำ ลงมือทำตามเมื่อไร ก็ได้เป็นเศรษฐีกันเมื่อนั้น แต่หากเอาแต่ท่องจำเมื่อไร ก็ได้เป็นแค่นกแก้วนกขุนทอง
เราจะเลือกเป็นอะไร จะเป็นคนรวยหรือจะเป็นแค่นกแก้วนกขุนทอง
ธรรมะสบายใจ ว.วชิรเมธี
แหล่งที่มา http://www.tamdee.net/
พอดีผมไปอ่านข้อความใน เว็บ budpage เป็นประจำทุกเช้าเพื่อสร้างกำลังใจในการทำงาน วันนี้ได้ไปเจอข้อความของคุณโจโจ้ซัง เรื่องวิธีคิดแบบ แยกเงินเดือนเป็น 4 ส่วน ผมก็เลยเข้าใจว่า คงจะเป็นเรื่องหัวใจเศรษฐี อุ อา ก ส อันประกอบด้วย
อุฎฐานสัมปทา
อารัขสัมปทา
กัลยาณมิตตตา
สมชีวิตา
เหมือนเป็นเรื่องที่รู้แล้ว ก็เลยตั้งใจว่าจะเข้าไปอ่านแค่ ต้นๆ แล้วผ่านไป แต่พออ่านแล้ว มันไม่ใช่สิ่งที่เคยรู้มานี่นา ก็เลยเก็บมาฝาก พร้อมกับอยากบอกว่า เรื่องใดที่เราคิดว่ารู้แล้ว เมื่อไม่ศึกษาเพิ่มเติม เราก็อาจจะพลาดความรู้ไป เพียงเพราะเราบอกว่าเรารู้แล้ว เราเก่งแล้วครับ
ส่วนข้อความเรื่อง แยกเงินเดือนเป็น 4 ส่วน ผมคิดว่าผู้เขียนข้อความเป็นคนที่รู้ธรรมะ ระดับที่เอาไปปรับใช้ได้แล้ว คือเป็นการนำเรื่องการแบ่งเิงิน 4 กอง (หัวใจเศรษฐี) มาเสริมด้วย การคิดเชิงบวก ซึ่งเป็นการประยุกต์แก้ปัญหาที่น่าสนใจ
กับทั้งท่าน ว.วชิรเมธี ก็เป็นผู้ที่อธิบายธรรมะ แบบประยุกต์ เข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว)
หัวใจเศรษฐี
คนทั่วไปมักมองกันว่า พระพุทธศาสนาไม่สู้จะมีคำสอนในทางเศรษฐศาสตร์ หรือมักคิดกันว่า พระพุทธศาสนาสอนแต่ให้มนุษย์ลดละกิเลส คงไม่สนใจเรื่องเงินๆทองๆหรือ การทำมาค้าขาย แต่ ความจริงแล้วดูเหมือนจะตรงกันข้าม เพราะพุทธศาสนามีคำสอนในเรื่องเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างลึกซึ้ง และสอนมาตั้ง 2500 กว่าปีมาแล้วอีกต่างหาก กระทั่งวันหนึ่งเมื่อหลายปีมาแล้ว มีฝรั่งชื่อ อี เอฟ ชูมาเคอร์ นำเอาแนวคิดเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธไปเขียนไว้ในหนังสือ ชื่อ Small is beautiful หรือในพากย์ไทยว่า จิ๋วแต่แจ๋ว นั่นแหละ คนไทยจังหันมาสนใจเรื่องเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธกันอย่างจริงจัง
พูดถึงคำว่าเศรษฐศาสตร์ คนส่วนใหญ่ก็มักเข้าใจกันอย่างแคบๆว่า หมายถึงเรื่องเงินๆทองๆ เพียงอย่างเดียว แท้จริงแล้ว เศรษฐศาสตร์ครอบคลุมเรื่องการกิน การอยู่ การดำรงชีวิตของคนเราแทบทุกเรื่องเลยทีเดียว
ทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรากล่าวอย่างตรงไปตรงมาก็คือ พระองค์ทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนานั่นเอง ทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมข้อไหน คำตอบก็คือ น่าจะทรงประยุกต์มาจากหลักธรรมชื่อ หัวใจเศรษฐี เป็นสำคัญ
หลักธรรมชื่อ หัวใจเศรษฐี มีสาระ 4 ประการคือ
1. ขยันหา
2. รักษาดี
3. ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร
4. ดำรงชีวิตแบบพอเพียง
คนโบราณท่านสอนกันมาว่า ใครอยากทำมาค้าขายคล่องจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีก็ให้ท่องคาถา หัวในเศรษฐี 4 คำให้ขึ้นใจ คาถาหัวใจเศรษฐีที่แนะนำให้ท่องกันในหมู่ผู้มีอาชีพทางทำมาค้าขายนั้น ก็คือคำว่า อุ อา ก ส ท่องแล้วก็ยกมือจบ เหนือเศียรเกล้า จากนั้นจังออกจากบ้านไปทำมาค้าขาย หลายคนทำตามวิธีนี้แล้วไม่เห็นรวยสักที จึงมักตัดพ้อต่อว่าบรรพบุรุษว่าให้คาถาดี แต่ไม่เห็นทำให้ขายของดีเลย ที่จริงคงไม่ใช่ความผิดของบรรพบุรุษท่านหรอก แต่คงเป็นความผิดของคนรุ่นหลังอย่างเราๆนี่เองที่ ปัญญาไม่ถึงคนโบราณท่านแต่ก่อนเอง
อุ อา ก ส นั้นท่านถอดมาจากภาษาบาลีที่ว่า
1. อุ อุฎฐานสัมปทา ขยันหา
2. อา อารัขสัมปทา รักษาดี
3. ก กัลยาณมิตตตา ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร
4. ส สมชีวิตา ดำรงชีวิตแบบพอเพียง
พ่อค้าแม่ขายหรือนักธุรกิจที่เอาแต่ท่อง อุ อา ก ส โดยไม่เคยเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคาถาดังกล่าวนี้ยากจะประสบความสำเร็จบนเส้นทางของการเป็นพ่อค้าหรือนักธุรกิจได้ แต่หากเข้าใจแก่นของคาถานี้ชัดแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาท่องก็ได้ ความร่ำรวยจะมาเยือนในเร็ววันอย่างไม่ต้องสงสัย
อุ อา ก ส แต่ละข้องมีความหมายดังนี้
1. อุ-ขยันหา หมายถึง ความเป็นคนขยัน หมั่นแสวงหาช่องทาง วิธีการในการทำมาค้าขายที่ถูกกับความรู้ ความถนัด พื้นฐานทางครอบครัว/สังคม และพรสวรรค์ของตัวเอง เมื่อแสวงหาช่องทางที่ตนถนัดได้แล้วก็ต้อง ขยัน ทำงานอย่างชนิดแทบล้มประดาตาย พลตรี หลวงวิจิตรวาทการเคยกล่าวว่า คำว่า ขยัน มาจากคำว่า ขายัน นั่นคือ คนจะรวยได้ต้องเป็นนักสู้ นักเดินทาง นักลงทุน นักก้าวไปข้างหน้า นักฟันฝ่าชีวิต ขาทั้งสองต้อง ยัน คือออกไปตะลอนๆ หาลู่ทางทำมาหากินอยู่ตลอด ไม่ใช่ นอนนิ่งๆ อยู่กับบ้าน อย่างนั้นไม่เรียกว่าขายัน แต่เรียกว่าขายาว คนขายาวไม่เคยมีใครรวย มีแต่คน ขายัน อาบเหงื่อต่างน้ำ ทำงานตัวเป็นเกลียวเท่านั้นจึงมีโอกาสรวย
2. อา-รักษาดี หมายถึง หาเงินมาได้แล้วต้องรู้ว่าจะรักษาเงิน บริหารเงินอย่างไรให้เงินนั้นงอกเงยออกมามากมายมากกว่าเดิมไม่ใช่มีเงินเท่าไรก็เก็บใส่ธนาคารไว้อย่างเดียว ไม่ยอมเอาไปลงทุน อะไรเลย แต่ต้องเรียนรู้ว่า
2.1 เงินที่หามาได้จะรักษาอย่างไรไม่ให้สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
2.2 จะบริหารอย่างไรต่อไปให้เงินนั้นสามารถที่จะ ต่อเงิน ออกไปได้เรื่อยๆ
คำว่า รักษา จึงไม่ใช่หมายถึง เก็บเงินเอาไว้อย่างเดียว แต่ควรหมายถึง การรู้จักทำให้เงินนั้นงอกงามมากขึ้นด้วยการลงทุนอย่างชาญฉลาดด้วย
3. ก-ผูกไมตรีกับกัลยาณมิตร หมายถึง การรู้จัก คบคนดีเป็นเพื่อนแท้ หรืออีกนัยหนึ่งหมายถึงการมี สายป่าน กับบรรดานักธุรกิจ นักลงทุน พ่อค้าแม่ขายในสายวิชาชีพเดียวกันเยอะๆ แต่มีข้อแม้ว่า สายป่านนั้นต้องเป็นสายป่านฝ่ายดีที่เรียกว่า กัลยาณมิตร เท่านั้น
ในทางพระพุทธศาสนา ท่านเน้นว่า ความสำเร็จต้องวางอยู่บนพื้นฐานของความชอบธรรมหรือความสง่างามด้วยเสมอไป สายป่านเน่าๆอย่างพ่อค้ายาเสพติด นักธุรกิจสีเทา ไม่ควรข้องแวะอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เงินทองที่หามาได้และที่รักษาไว้ในข้อสอง พลอยอันตรธานไปได้อย่างง่ายดาย หรือถึงเงินไม่อันตรธาน การคบ คนเลวเป็นมิตรก็มีผลต่อความเสื่อมเสียมากมาย ไม่ว่าจะมองในแง่ส่วนตัว สังคม ธุรกิจ หรือแม้แต่ต่อชื่อเสียงของกลุ่มธุรกิจของตนเอง ประการสำคัญ การคบคนเลวเป็นมิตรยังทำให้ไปค้าขายในนานาอารยประเทศไม่ได้อีกต่างหาก เพราะหากใครมีเพื่อนเป็นนักธุรกิจที่ถูกขึ้น แบล็กลิสต์ เสียแล้วละก็ ถึงตัวเองไม่เลว แต่การอยู่ใกล้คนเลว ก็ไม่พ้นที่จะถูกเหมารวมว่าเป็นพวกเดียวกัน
4.ส-ดำรงชีวิตแบบพอเพียง หมายถึง การรู้จักคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์อย่างถ่องแท้ ไม่จ่ายเงินเหมือนโปรยข้าวตอกดอกไม้ลงในคลอง เหมือนคนโง่เอาทองไปถักรองเท้า แต่ควรรู้จักบริหารบัญชีงบดุลให้มีกำไรโดยให้รายรับมากกว่ารายจ่ายอยู่เสมอหรือ ถือหลักไม่จ่ายเกินหน้าตักนั่นเอง
คำว่า ดำรงชีวิตแบบพอเพียงนี้มีเคล็ดลับสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องรู้จักเพียงพอ คือรู้ว่าอะไรที่พอเหมาะสมควรกับสถานภาพที่แท้จริงของตัวเอง การจะรู้จักเพียงพอจนเกิดพอเพียงก็ต้องใช้ชีวิตให้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ทำตนนเป็นคนหน้าใหญ่ ที่ยอมจ่ายแพงกว่าเสมอในทุกๆเรื่อง เพียงเพื่อให้คนรู้ว่าตัวเองร่ำรวย ทั้งๆที่ความจริงเป็นคนละด้าน นักการเงินการธนาคารผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งเคยกล่าวว่า
คนที่ใช้ชีวิตอย่างคนรวย จะจน
คนที่ใช้ชีวิตอย่างคนจน จะรวย
เจ้าของคำกล่าวนี้เคยเป็นเจ้าของธนาคารยักษ์ใหญ่ของประเทศไทยมาก่อน และทุกวันนี้ธนาคารที่ท่านก่อตั้งก็ยังอยู่ และยังคงยิ่งยงไม่ด้อยไปกว่าในอดีตอีกด้วย แสดงว่าคำกล่าวของท่านเชื่อถือได้ร้องเปอร์เซ็นต์
คาถาหัวใจเศรษฐีของพระพุทธเจ้านั้น ท่านมิได้มีไว้ให้ ท่องจำ แต่ท่านมีไว้ให้ ลงมือทำ ลงมือทำตามเมื่อไร ก็ได้เป็นเศรษฐีกันเมื่อนั้น แต่หากเอาแต่ท่องจำเมื่อไร ก็ได้เป็นแค่นกแก้วนกขุนทอง
เราจะเลือกเป็นอะไร จะเป็นคนรวยหรือจะเป็นแค่นกแก้วนกขุนทอง
ธรรมะสบายใจ ว.วชิรเมธี
แหล่งที่มา http://www.tamdee.net/