PDA

View Full Version : พระไตรปิฎกคืออะไร



akenan2007_old
28-03-2008, 03:16 AM
พระไตรปิฎกคืออะไร

พระไตรปิฎก คือ ตำราหรือหนังสือซึ่งบันทึกคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐาน
คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาในชั้นแรกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คำสั่งที่เรียกว่าพระวินัย กับคำสอนที่เรียกว่าพระธรรม แต่ในภาษาพูดใช้คำว่า พระธรรมวินัย โดยนำพระธรรมมาเรียงไว้หน้าที่พระวินัย
พระวินัยเป็นเรื่องของคำสั่งหรือศีลหรือระเบียบข้อบังคับที่ห้ามทำความชั่วหรือสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควรต่าง ๆ
พระธรรมเป็นเรื่องของคำสอนหรือธรรมที่ให้ทำความดีและให้ชำระจิตใจให้สะอาด
การสอนให้ละเว้นความชั่วและให้ทำความดี มีสอนกันอยู่ทั่วไปไม่เฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา แต่การสอนให้ชำระจิตให้สะอาดทางพระพุทธศาสนากำหนดไว้เป็นอีกส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน และถือเป็นเรื่องที่เน้นมากถัดมาจากข้อละเว้นความชั่วและ ทำความดี
ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ 234 หรือ 235 ปี ในการสังคายนาครั้งที่ 3 ได้มีการคิดกันในหมู่พระสงฆ์ผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาว่าคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาน่าจะแยกเป็น 3 ส่วน คือ 1. พระวินัย ได้แก่ ระเบียบ ข้อบังคับหรือศีล 2. พระสูตร ได้แก่ คำสอนทั่ว ๆ ไปทั้งของพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก และ 3. พระอภิธรรม ได้แก่คำสอนที่เน้ นส่วนที่เป็นแก่นแห่งความจริงหรือสาระสำคัญ
เมื่อมีการแบ่งคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาออกเป็น 3 ส่วนเช่นนี้ จึงได้มีการใช้คำว่า "พระไตรปิฎก" คือ ตำราหรือคัมภีร์พระพุทธศาสนา 3 ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก โดยกำหนดให้ระเบียบข้อบังคับหรือศีลเป็นพระวินัยปิฎก คำสอนทั่ว ๆ ไปเป็น พระสุตตันตปิฎกและคำสอนที่ว่าด้วยสาระสำคัญหรือแก่นความจริงเป็นพระอภิธรรมปิฎก

วิธีจดจารึกข้อความลงใบลานเรียกว่าอะไร
ในสมัยที่ยังไม่มีการจดจารึกเป็นตัวหนังสือ เมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้วท่านใช้วิธีท่องจำคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาแล้วกล่าวทบทวนหรือสวดพร้อมๆกันนำสืบต่อกันมาโดยเหตุที่คำสั่งสอนมีอยู่มากถึงขนาดเมื่อพิมพ์รวมเป็นเล่มหนังสือพระไตรปิฎกแล้วมีจำนวนถึง 45 เล่ม ยากที่ผู้หนึ่งผู้ใดจะท่องจำเพียงผู้เดียวให้จบบริบูรณ์ได้ จึงมีการแบ่งหน้าที่กันให้ กลุ่มนี้ท่องจำส่วนนี้ กลุ่มนั้นท่องจำส่วนนั้นกลุ่มอื่นท้องจำส่วนนี้ กลุ่มนั้นท่องจำส่วนนั้นกลุ่มอื่นท่องจำส่วนอื่น รวมกันหลาย ๆ กลุ่มช่วยกันท่องจำพระไตรปิฎกเรียงลำดับตั้งแต่ต้นจนจบ สามารถกล่าวทบทวนปากเปล่าได้
เมื่อมีการใช้ตัวหนังสือและมีการเขียนหนังสือแพร่หลายขึ้น จึงได้มีการจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบลาน ใ บลานคือ ใบของต้นลาน ซึ่งนอกจากใช้สานทำหมวกทำเครื่องใช้อื่น ๆ แล้ว ยังใช้แทนกระดาษในสมัยที่ยังมิได้คิดทำกระดาษขึ้น
วิธีจดจารึกข้อความลงในใบลานที่เรียกว่า "จาร" นั้น คือใช้เหล็กแหลมที่เรียกว่า "เหล็กจาร" เขียนหรือขีดข้อความเป็น ตัวหนังสือลงไปในแผ่นใบลาน แล้วเอาเขม่าหรือดินหม้อซึ่งมีสีดำผสมกับน้ำมะพร้าว คนให้เข้ากันดีแล้วทาถูลงไปบน รอยที่ขีดเขียนนั้น แล้วเอาผ้าเช็ดให้แห้ง สีดำที่ซึมลงไปในรอยขีดเขียน จะปรากฏเป็นตัวหนังสือให้อ่านข้อความได้ตาม ความประสงค์ เมื่อรวมใบลานได้หลายแผ่นแล้วถ้าจะทำให้เป็นชุดเดียวกันคล้ายเล่มหนังสือก็เอาเหล็กแหลมเผาไฟเจาะให้เ ป็นช่อง เอาด้ายร้อยรวมเป็นผูก แล้วใช้ผ้าห่อเก็บไว้ให้เป็นชุดติดต่อกัน การจดจารึกข้อความแห่งพระไตรปิฎกลงในใบ ลานนี้กระทำเป็นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา เมื่อ 433 สมัยของพระเจ้าวัฏคามณีอภัย บางหลักฐานก็ว่าเมื่อ พ.ศ. 450


พระไตรปิฎกมีการจัดทำในรัชสมัยใดบ้าง
ในประเทศไทยมีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหลายครั้ง ดังต่อไปนี้
การพิมพ์ระไตรปิฎกครั้งแรก กระทำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการตรวจชำระแล ะจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2431 - พ.ศ. 2435 จำนวนครบชุดในครั้งนั้นมี 39 เล่ม
การพิมพ์ครั้งที่ 2 จัดทำให้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 มีการตรวจชำระสอบทานกับพระไตรปิฎกที่พิมพ์ในประเทศอื่น ๆ และบันทึกไว้เป็นหลักฐานด้วย การพิมพ์ครั้งนี้มีจำนวนพระไตรปิฎกเพิ่มขึ้นเป็น 45 เล่ม เพิ่มเติมส่วนที่ยังขาดอยู่ในการพิมพ์ครั้งแรก ระยะเวลาตรวจชำระและจัดพิมพ์ระหว่าง พ.ศ. 2468 - 2473 เมื่อมีผู้ต้องการมากขึ้นจึงได้มีก ารพิมพ์ซ้ำอีก 2 ครั้งใน พ.ศ. 2502 และ พ.ศ. 2523 ในการนี้มหากุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งได้รับมอบหมาย จากทางราชการเป็นฝ ่ายดำเนินการเมื่อจัดพิมพ์ครั้งที่ 2
การพิมพ์ครั้งที่ 3 จัดทำตามพระบรมราชโองการพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ประกาศสังคายนาพระธรรมวินัยต รวจชำระพระไตรปิฎกลงวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2528 เพื่อให้มีการตรวจชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เนื่องในมงคลดิถีที่ทรงเจริญพระชนมพรร ษา 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 การดำเนินงานในครั้งนี้มีเวลา 2 ปี และได้พิมพ์แล้วเสร็จทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย
การพิมพ์ครั้งที่ 4 มิใช่เป็นของทางราชการแต่เป็นผลงานของมหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูป ถัมภ์
รวมความว่าในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 นี้ เป็นระยะเวลาที่ตำราทางพระพุทธศาสนา คือ พระไตรปิฎกภาษาบาลีและที่แปลเป็นไทยรวมทั้งภาษาบาลีและภาษาไทยได้มีการจัดพิมพ์สมบูรณ์


ประเทศใดบ้างที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีสมบูรณ์แล้ว
การแปลพระไตรปิฎกและคำอธิบายภาษาบาลีเป็นภาษาไทยรวมกัน 91 เล่ม อันเป็นผลงานของมหากุฎราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ ์ เมื่อปี พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนั้นจะกล่าวถึงในส่วนที่ว่าด้วยพระไตรปิฎกฉบับแปลเป็นภาษาไทยในลำดับต่อไปจากเรื่องภาษาที่รองรับพระไตรปิฎก
มีข้อที่ควรกล่าวในที่นี้อีกเล็กน้อย คือ ในปัจจุบันประเทศที่จัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาบาลีสมบูรณ์ คือ ประเทศไทย ประเทศอินเดีย (พ ิมพ์เป็นตัวอักษรเทวนาครี) ประเทศพม่า (พิมพ์เป็นตัวอักษรพม่า) ประเทศอังกฤษ (พิมพ์เป็นตัวอักษรโรมัน)
พระไตรปิฎกภาษาบาลีที่พิมพ์ในประเทศศรีลังกา (พิมพ์เป็นตัวอักษรลังกาหรือสีหล) เคยใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการพิ มพ์พระไตรปิฎกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 ในสมัยปัจจุบันคงหายาก เพราะเท่าที่สอบถามพระภิกษุในประเทศศรีลังกา กลับปรากฎว ่าท่านใช้พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทย เป็นหลักในการศึกษาค้นคว้าของท่าน พระไตรปิฎกฉบับตัวอักษรรามัญหรือมอญ ฉบับตัวอักษรพม่า ฉบับตัวอักษรขอมพิมพ์ในประเทศเขมร และฉบับตัวอักษรลังกา ยังพอหาได้ในห้องสมุดบางแห่งในประเทศไทย เช่น ของสภาการศึกษามห ามกุฎราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงฆ์